คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ช.ค.บ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานรถไฟ ไม่ใช่บำนาญ การจ่ายเงิน ช.ค.บ. เป็นดุลพินิจของ กก.กองทุนสงเคราะห์ฯ
เงินสงเคราะห์รายเดือนที่โจทก์ได้รับมิใช่บำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ออกข้อบังคับ ไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 และการจ่ายเงินสงเคราะห์นี้ ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วย กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 20 กำหนดให้ ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเก็บเงินตามข้อ 5 แห่งข้อบังคับนี้ให้ ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือน โดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญทั้งสิ้น และเมื่อพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2532 มาตรา 3(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2533 มาตรา 3 และ(ฉบับที 7) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 มิใช่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำเหน็จข้าราชการ ทั้งมิใช่ระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายบำนาญด้วย กรณีจึงไม่จำต้องนำพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาอนุโลมใช้ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย การที่จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนแก่อดีตผู้ปฏิบัติ งานรถไฟเช่นโจทก์โดยอนุโลมตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วย ค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523แล้วต่อมาจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยมิได้อนุโลมตามพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญฉบับต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการจัดการกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้มีอำนาจตามข้อบังคับจะพิจารณาเห็นควรนำพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญมาอนุโลมใช้หรือไม่เพียงใด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนเช่นโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มขึ้นเมื่อทางราชการเพิ่มเงินบำนาญให้แก่ ผู้ รับเบี้ยหวัดบำนาญทุกครั้ง ฉะนั้นเมื่อจำเลยจะจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนมากน้อยเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19217/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิ ช.ค.บ. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญหลายประเภท ต้องรวมรายได้ทั้งหมดพิจารณา หากเกิน 5,100 บาท ไม่มีสิทธิได้รับ
พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 4 นว, 4 ทศ มีเจตนารมณ์กำหนดให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญต่ำกว่าเดือนละ 5,100 บาท เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นสามารถดำรงชีพอยู่ได้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป กรณีผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดบำนาญเกินกว่า 5,100 บาท หรือได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญหลายประเภทซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเกินกว่า 5,100 บาท เห็นได้ว่ามีรายได้ต่อเดือนสูงพอสมควรเพียงพอต่อการดำรงชีพแล้ว จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) ช่วยเหลืออีก การพิจารณาเพื่อกำหนด ช.ค.บ. สำหรับผู้มีสิทธิได้รับบำนาญหลายประเภทจึงต้องรวมบำนาญหลายประเภทนั้นเข้าด้วยกัน จำเลยเป็นข้าราชการบำนาญได้รับบำนาญปกติและ ช.ค.บ. รวมกันเกิน 5,100 บาทอยู่แล้ว เมื่อรวมกับบำนาญพิเศษหรือบำนาญตกทอดของผู้ตายก็ยิ่งเกิน 5,100 บาท มากขึ้นไปอีก จำเลยจึงไม่มีสิทธิได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มตามบทบัญญัติดังกล่าวอีก