คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,032 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ พิจารณาจากลักษณะธุรกิจและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 หากำไรอีกทอดหนึ่งอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 นั้นเอง ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาคอนกรีตผสมเสร็จที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 จึงต้องใช้อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครองโดยใช้สิทธิ, พยานรู้เห็นสัญญา, การอ้างสิทธิซื้อขายซ้ำซ้อน
โจทก์รู้เห็นและลงชื่อเป็นพยานในสัญญาซื้อขายพิพาทระหว่างจำเลยกับ ร. และยอมรับว่า บ. เป็นคนเฝ้าดูแลที่ดินให้จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบดีว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยการซื้อมาอย่างถูกต้อง การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาแล้วให้ บ. ครอบครองแทน ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยย่อมมีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ การที่จำเลยเข้าไปปักป้ายแสดงความเป็นเจ้าของและสร้างรั้วในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่นในภายหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรับผิดชอบหนี้ซื้อขาย แม้รับเงินจากผู้ซื้อโดยตรง การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรเป็นตัวแทนขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในต่างประเทศผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขาย ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการในราชอาณาจักรโดยจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำได้โดยส่ง ณ สถานที่ที่จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ตัวแทนใช้ประกอบกิจการหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ วรรคหนึ่ง โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายสินค้าแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่ได้รับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทั้งที่ชำระเงินไปแล้วและได้มีการบอกเลิกสัญญาซื้อขายแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 824
เงินจำนวน 2,239,140 บาท รวมต้นเงินจำนวน 1,859,853 บาท กับดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องเข้าด้วยกัน การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 2,239,140 บาท จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขาย vs. การแย่งการครอบครอง และประเด็นอายุความ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดินและการขาดอายุความฟ้องคดี
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายและการอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดี การสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ดินเพื่อซ่อนการให้เป็นของขวัญ หากพิสูจน์ได้ว่ามีเจตนาหลอกลวง นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะ แต่การให้ยังใช้ได้
ผ. กับจำเลยทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมที่ดินพิพาทและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมให้แก่จำเลยจำนวน 2,000 ส่วน โดยจำเลยเสียค่าตอบแทน แต่ความจริง ผ. ได้โอนกรรมสิทธิ์ยกที่ดินให้แก่จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทน เพื่อลวงไม่ให้บิดาโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ผ. ทราบ ถือได้ว่า ผ. ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมซึ่งก็คือนิติกรรมซื้อขายที่ดินไว้กับจำเลยเป็นการอำพรางการยกให้นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาให้ที่ถูกอำพรางไว้นั้นต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมอันที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 155 วรรคสอง เมื่อ ผ. มีเจตนาทำสัญญาให้ที่ดินจำเลยแล้ว การที่ ผ. จดทะเบียนบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกัน ต่างกันเพียงแต่ว่ามีค่าตอบแทนหรือไม่ไว้แล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วยโดยอนุโลม นิติกรรมให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ดินเพื่อปกปิดการยกให้เป็นโมฆะ แต่การยกให้ย่อมไม่เป็นโมฆะตามไปด้วย
ผ. กับจำเลยทำนิติกรรม ตามบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) มีข้อความว่าจำเลยเสียค่าตอบแทนให้ ผ. เป็นเงิน 1,600,000 บาท และ ผ. จดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวมให้จำเลยจำนวน 2,000 ส่วน แต่จำเลยไม่ได้ให้ค่าตอบแทนจำนวนดังกล่าวแก่ ผ. เพราะ ผ. จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รวมให้แก่จำเลยโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเพื่อลวงไม่ให้บุตรซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทราบ ถือได้ว่า ผ. ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งเป็นนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยเพื่ออำพรางนิติกรรมยกให้
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง นิติกรรมอันแรกคือบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี นิติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมที่ถูกอำพรางคือสัญญาให้ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกอำพราง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง การที่ ผ. จดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวม (มีค่าตอบแทน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่นเดียวกับนิติกรรมให้ ย่อมถือได้ว่าการจดทะเบียนข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวเป็นการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนสำหรับนิติกรรมการให้ที่ถูกอำพรางด้วย นิติกรรมการยกที่ดินให้ระหว่าง ผ. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมิติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขคดีแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลางเป็นการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการซื้อขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้ทำตามสัญญา
หลังจากโจทก์ชำระเงินงวดที่ 11 ให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ไม่ได้ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จจนปัจจุบันนี้เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโดยพฤติการณ์แห่งคดีหรือโดยสภาพหรือโดยเจตนาของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอันเป็นการไม่ชำระหนี้อยู่ดีและหากยังคงให้โจทก์ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการยังความเสียหายแก่โจทก์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จอีก การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้วและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์
of 104