คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขายฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก แม้ผู้ขายจะได้มาโดยกลฉ้อฉล สิทธิของผู้รับซื้อฝากไม่เสียไป
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินกันโดย ผ. ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตกลงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกันระหว่างโจทก์ ผ. และจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้หลอกลวงเป็นกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อตกลงขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ไม่ยอมให้ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก และความประมาทเลินเล่อของผู้ขาย ทำให้เพิกถอนนิติกรรมไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องในทำนองว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยไม่สุจริตซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาโดยมิชอบและไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้เช่นนั้นเพราะจำเลยที่ 2 ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอรับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสุจริต
โจทก์ที่ 2 นำโฉนดที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจตามแบบของกรมที่ดินที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งโจทก์ที่ 2ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องใส่ในถุงกระดาษหูหิ้วติดตัวไปมาเป็นเวลานานนับปีในลักษณะที่อาจทำให้เอกสารสำคัญสูญหายได้ และเมื่อโจทก์ที่ 2 ทราบว่าโฉนดที่ดินพิพาทพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการทำนิติกรรมได้หายไป หากโจทก์ทั้งสองรีบแจ้งความและขออายัดที่ดินพิพาทเสียในโอกาสแรก การที่จำเลยที่ 1 จะไปทำนิติกรรมโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้ตนเองย่อมกระทำไม่ได้ การที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการดังกล่าวล่าช้า ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองประมาทเลินเล่ออย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีการนำโฉนดที่ดินพิพาทและเอกสารต่าง ๆ ไปดำเนินการทำนิติกรรมเป็นว่าโจทก์ที่ 2 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจยกเอาความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นอ้างอันจะทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ได้ ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่าต่างฝ่ายต่างสุจริตด้วยกัน ฝ่ายที่ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองและนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยสุจริตของบุคคลภายนอก และผลกระทบต่อการเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นเจตนาลวง
ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างโจทก์เจ้าของที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง อีกทั้งจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมินมาก ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์ไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 ดังนี้ นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504-505/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงซื้อขายฝากที่ดิน: โมฆะเพราะสำคัญผิดในทรัพย์สิน, การคืนเงินต้องควบคู่กับการคืนที่ดิน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชี้ให้โจทก์ร่วมดูบ้านและที่ดิน จำเลยที่ 2 มีอาชีพเป็นนายหน้าชักชวนโจทก์ร่วมมาดูที่ดินและรับซื้อฝาก เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นด้วย ในลักษณะเป็นตัวการร่วมกันแต่แบ่งงานกันทำ เมื่อที่ดินที่โจทก์ร่วมรับซื้อฝากตามสัญญาขายฝากที่ดินเป็นคนละแปลงกับที่จำเลยทั้งสามร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ ทั้งไม่มีทาวน์เฮาส์ปลูกอยู่ จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง
โจทก์ร่วมรับซื้อฝากที่ดินไว้โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม นิติกรรมย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม จำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันคืนเงินที่รับซื้อฝากไว้ให้แก่โจทก์ร่วมก็ต่อเมื่อโจทก์ร่วมต้องคืนที่ดินที่รับซื้อฝากไว้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้เสนอที่จะคืนที่ดินดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้ชำระเงินค่าที่ดินที่ซื้อฝากไปเท่าใด ศาลจึงไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสามร่วมกันคืนเงิน 400,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้ ชอบที่โจทก์ร่วมจะต้องไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยตัวแทนที่ซ่อนเร้นและความสุจริตของผู้ซื้อ ผู้รับซื้อฝากย่อมมีสิทธิแม้ตัวแทนมีเจตนาทุจริต
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก.ต่อมาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7954/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากโดยสุจริตของผู้ซื้อฝาก แม้เจ้าของที่ดินมีข้อตกลงกับผู้ขายฝากก่อนหน้า ผู้ซื้อฝากไม่ต้องรับภาระ
โจทก์และภรรยาโจทก์ได้จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเจตนาลวงเพื่อให้จำเลยที่ 1นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทไปจำนองธนาคาร และในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้แก่ธนาคาร ก. ต่อมาจำเลยที่ 2เป็นผู้รับซื้อมาฝากที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์และภรรยาที่มีต่อจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก่อน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาก็ตาม แต่การที่โจทก์และภรรยาซึ่งเป็นตัวการมิได้เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1ในฐานะตัวแทนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างและนำไปจำนองเป็นประกันเงินกู้ต่อธนาคารดังกล่าว แล้วต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตไม่เคยล่วงรู้ข้อความจริงดังกล่าวมาก่อน โจทก์จึงหาอาจทำให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องเสื่อมเสียสิทธิที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์และภรรยาได้ไม่โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมขายฝากดังกล่าวได้ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันฉ้อฉลในการซื้อขายฝากที่ดินมรดก และการกำจัดทายาทออกจากกองมรดก
จำเลยที่2รับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของบ. โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกที่ยังมิได้แบ่งแก่โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทของบ. อันเป็นการรับซื้อฝากไว้โดยไม่สุจริตเป็นการทำให้โจทก์ทั้งหกผู้เป็นทายาทซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการสมคบกันทำการฉ้อฉลโจทก์ทั้งหกโจทก์ทั้งหกชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนการขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237 จำเลยที่1ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของบ.อ้างว่าบ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเพียงคนเดียวคือย.ซึ่งไม่เป็นความจริงความจริงบ. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก3คนคือด.จ.และย. และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจำเลยที่1ก็ได้โอนที่ดินพิพาทเป็นของตนเองแต่ผู้เดียวไม่จัดการแบ่งปันแก่ทายาทโดยปกปิดเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมว่าไม่มีทายาทอื่นการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการปิดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1จึงเป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของบ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605 จำเลยที่1เป็นผู้ปิดบังและและยักย้ายทรัพย์มรดกจำเลยที่1เป็นผู้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะยกอายุความมาตัดสิทธิโจทก์ทั้งหกสำหรับจำเลยที่2นั้นไม่ใช่บุคคลซึ่งเป็นทายาทจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งหกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390-3391/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายฝากและสัญญาซื้อขาย สิทธิไถ่ถอน การผิดสัญญา และผลของการไม่ชำระหนี้
สัญญา ซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจาก สัญญาจะซื้อขายซึ่งมีการ วางมัดจำหรือชำระราคาบางส่วนแล้วต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดงเมื่อมีปัญหาว่าจำเลยที่1และที่2ชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อหักล้างเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94อีกทั้งสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่1และที่2กับบริษัท บ.ซึ่งเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาเดิมในการจองซื้อขอให้โอนให้แก่จำเลยที่1และที่2ฉะนั้นผู้ที่จำเลยที่1และที่2จะยกข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ก็เฉพาะกรณีที่ต่อสู้กับบริษัท บ.เท่านั้น โจทก์ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่1และที่2อีกฝ่ายหนึ่งทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินซึ่งกันและกันแต่ที่ดินและบ้านของจำเลยที่1และที่2นั้นจำเลยที่1และที่2ได้นำไปขายฝากไว้กับจำเลยที่3เมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิไถ่ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา497(2)จำเลยที่3ต้องรับการไถ่เมื่อโจทก์มีเงินจำนวนที่เป็นสินไถ่แต่จำเลยที่3ไม่ยอมรับโจทก์ได้นำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ก่อนพ้นกำหนดไถ่จำเลยที่3จึงปฏิเสธไม่ยอมรับการไถ่ถอนการขายฝากไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่, การขาดนัดพิจารณา, และข้อพิพาทเรื่องการซื้อขายฝากไม้ชิงชัน
ปัญหาว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) เป็นกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งหนึ่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลย ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา เดิมจำเลยมี ส. เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เวลา 9.00 น. แต่ตามวันเวลาดังกล่าวส.มีกิจธุระซึ่งส. เพิ่งทราบในคืนวันที่ 1 กรกฎาคม 2530ส. จึงแจ้งให้ ก. ทนายความสำนักงานเดียวกันทราบเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 2530 เวลา 7.30 น. ขอให้ ก. ว่าความแทนและได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความ แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก. ต้องว่าความในคดีอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ก.จึงให้จำเลยไปรอที่บริเวณประชาสัมพันธ์ของศาลชั้นต้น ส่วน ก.ไปว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ของศาลได้ประกาศเรียกคู่ความแล้ว จึงไม่ได้แถลงให้ศาลทราบ เมื่อ ก.ว่าความคดีอื่นเสร็จแล้วได้ไปที่ห้องพิจารณา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ จำเลยและทนายได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณา แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การซื้อขายฝากและโมฆะสัญญาที่ดิน - จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อน
ในคดีก่อนจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ในคดีนี้ออกจากที่พิพาท จำเลย (โจทก์ในคดีนี้) ให้การต่อสู้คดีโดยยกเหตุผลอย่างเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ ในที่สุดคู่ความได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์คดีนี้ยอมซื้อที่พิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
of 4