พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ไม่เป็นลาภมิควรได้ แม้มีการผิดนัดชำระค่างวด
สิทธิเช่าซื้อเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังไม่เพราะโจทก์ผู้ซื้อกับจำเลยผู้ขายได้ตกลงชื้อและตกลงขายในสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นที่ยุติเสร็จสิ้นแล้ว โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อได้ส่งมอบสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและโจทก์ผู้ซื้อก็ได้ชำระค่าสิทธิตามสัญญาให้แก่จำเลยผู้ขายแล้ว และภายหลังจากทำสัญญาซื้อขาย จำเลยผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ผู้ซื้อสิทธิได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ตามสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อแล้ว
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือโดยตรง สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เรือ ด.และเรือ ก.มีชื่อ ส.และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามลำดับ แต่เรือทั้งสองลำดังกล่าวได้ทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า จึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดเรือไว้ โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเรือทั้งสองลำดังกล่าวและไม่สามารถที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำให้แก่จำเลยได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญากันนั้นทั้งสองฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศสหภาพพม่าหรือรัฐบาลสหภาพพม่าก็ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำนั้นแต่รัฐบาลสหภาพพม่ามีสิทธิยึดเรือไว้เพราะทำผิดกฎหมายของประเทศสหภาพพม่าดังนั้นที่โจทก์ซื้อเรือทั้งสองลำจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่ามิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคแรก ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าซื้อสิทธินำเรือกลับประเทศไทยจากโจทก์และโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับไทย ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ซื้อเรือจาก รัฐบาลสหภาพพม่าซึ่งยึดเรือไว้เพราะเรือดังกล่าวทำผิดกฎหมายโดยทำ การประมงเข้าไปใน เขตน่านน้ำของ ประเทศสหภาพพม่า เป็นเพียงการ ซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับคืนประเทศไทยได้เมื่อโจทก์ ขายสิทธิให้แก่จำเลยจึงมิใช่การ ซื้อขายเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกไม่จำต้องทำ เป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าอ้างเอกสารเป็น ค่าธรรมเนียมอื่นๆเมื่อโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวและศาลเห็นว่าเป็น พยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)ก็ให้ อำนาจศาล รับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการรับเรือคืนจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
มีผู้นำเรือทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่าจึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดไว้โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลยดังนั้นการที่โจทก์ซื้อเรือจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้นการที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่า มิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อขายสิทธิสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ สัญญากู้เงิน การชำระหนี้
จำเลยที่1ทำสัญญาซื้อขายสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ให้บริษัทช. ในราคา15ล้านบาทแต่ระบุไว้ในสัญญาเพียง1ล้านบาทส่วนอีก14ล้านบาทได้ทำเอกสารขึ้นสองฉบับคือสัญญากู้จ.1ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1และบันทึกข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้ที่ฝากไว้กับธนาคารเงิน14ล้านบาทนั้นโจทก์ได้มาจากบ. ออกเช็คเข้าบัญชีของโจทก์แล้วโจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงิน14ล้านบาทให้จำเลยที่1ข้อตกลงในการฝากและคืนเอกสารสัญญากู้มีว่าถ้าบริษัทช. เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วให้จำเลยที่1เป็นผู้มีสิทธิรับเอกสารคืนซึ่งมีผลเท่ากับไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรื่องข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิกนั้นคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้พิจารณาใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกซึ่งมีจำนวนไม่เกิน30รายสมาชิกอาจโอนการเป็นสมาชิกให้บริษัทหลักทรัพย์อื่นได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จึงหาได้กระทำตามความสมัครใจของผู้โอนและผู้รับโอนเท่านั้นไม่ความสำคัญอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตให้โอนกันด้วยขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่1และบริษัทช. จึงไม่มีทางรู้ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการจะออกมาในรูปใด ไม่มีเหตุที่บริษัทช. ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าซื้อสิทธิให้แก่จำเลยที่1ถึง14ล้านบาทเมื่อการโอนสิทธิแก่กันยังไม่เป็นที่แน่นอนพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็เพื่อจะให้จำเลยที่1ได้เงินไปใช้ก่อนสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาลวงหรืออำพรางนิติกรรมอื่นไม่ส่วนการตกลงเรื่องโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์นั้นชั้นแรกคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์มีมติให้บริษัทช. เข้าเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์โดยการรับโอนสิทธิจากจำเลยที่1แต่บริษัทช.จะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก5ล้านบาทเป็นอย่างน้อย20ล้านบาทภายใน6เดือนบริษัทช. ไม่อาจเพิ่มทุนได้เพราะที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนการโอนสิทธิการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทช. กับจำเลยที่1จึงยังไม่สมบูรณ์เรียบร้อยตามสัญญาจำเลยที่1ยังคงเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์อยู่เงื่อนไขที่ให้บริษัทช. เพิ่มทุนนั้นเป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจของบริษัทช. เพราะการเพิ่มทุนต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นจึงถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของบริษัทช. หรือบริษัทช. ขัดขวางมิให้สัญญาซื้อขายเป็นผลสำเร็จโจทก์ย่อมมีสิทธิเป็นผู้รับสัญญากู้คืนและฟ้องจำเลยตามสัญญากู้และค้ำประกันได้ซึ่งโจทก์จะได้เงินมาจากใครนั้นไม่ใช่ข้อสำคัญเมื่อจำเลยที่1รับเงินไปจากโจทก์ก็ต้องคืนให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมในอสังหาริมทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนสามัญ การซื้อขายสิทธิ และการร้องสอด
การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้