พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การซื้อขายโดยไม่สุจริต - คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
การพิจารณาคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาว่าคำขอใดเป็นหลัก คำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่อง โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โดยให้ถอนชื่อจำเลยที่ 2 ออกแล้วจึงให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ถือว่า คำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลัก คำขอให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทเป็นคำขอต่อเนื่องคดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า จำเลยที่ 2 ได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่เคยขอดูหลักฐานทางทะเบียนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทหรือไม่นั้นเป็นการผิดวิสัยของการซื้อที่ดินโดยทั่วไป ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินที่จะซื้อเป็นของผู้ขายหรือไม่เพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลัง จำเลยที่ 2ซื้อที่ดินพิพาทในราคาถึง 400,000 บาท แต่หลังจากซื้อแล้วก็ไม่ได้ เข้าทำประโยชน์ ข้อเท็จจริงก็ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ดำเนินการใด ๆ ให้จำเลยที่ 1ออกจากที่ดินพิพาท กลับได้ความว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทเพราะต้องการช่วยจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า ก่อนจะซื้อที่ดินพิพาทมาจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ขอให้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่งอกริมตลิ่ง แม้มีการซื้อขายจากเจ้าของเดิม การซื้อขายไม่สุจริต
ที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินมีโฉนดของ ล. โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ต่อมาล. ได้ขายที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้จำเลย ก่อนจำเลยจะซื้อที่ดินจำเลยได้ทำการตรวจสอบแนวเขตที่ดินและได้สอบถามโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นของใครด้วย แสดงว่าจำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินโฉนดดังกล่าวได้เกิดที่งอกริมตลิ่งและโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท การที่จำเลยรู้แล้วว่าโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทยังขืนซื้อจึงเป็นการไม่สุจริต โจทก์จึงยังมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382 ตลอดมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเนื่องจากมีการปลอมเอกมอบอำนาจ และการซื้อขายไม่สุจริต
จำเลยที่ 1 ใช้ใบมอบอำนาจของ อ. ซึ่งเป็นใบมอบอำนาจปลอมโอนขายที่ดินของ อ. ให้จำเลยที่ 2 โดย อ. มิได้รู้เห็นยินยอม แล้วจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและย่อมไม่มีอำนาจที่จะนำไปขายฝากแก่จำเลยที่ 3 ได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ อ. จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกลับคืนมาเป็นของ อ. ตามเดิมได้
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตศาลจังหวัดนครปฐม การที่ศาลแพ่งรับฟ้องรับคำให้การ ตลอดจนสืบพยานจนเสร็จการพิจารณาย่อมแสดงว่าศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนี้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต, และค่าเสียหายจากการละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เฉพาะภายในเส้นสีแดงประตามรูปแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง ปรากฏว่าตามรูปแผนที่ได้แสดงเขตที่กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกไว้ 3 ด้าน ด้านเหนือจดถนนสาธารณะ ด้านใต้จดลำน้ำแม่ประจันต์ ด้านตะวันตกจดลำห้วย แผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทำให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ในระหว่างการพิจารณาได้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรองความถูกต้อง แต่เป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 2 แถลงว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผนที่ใหม่ หากโจทก์จะทำแผนที่ใหม่ก็ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมไปเอง ซึ่งเท่ากับจำเลยยินยอมให้โจทก์กระทำไปฝ่ายเดียวได้ แม้แผนที่พิพาทที่ทำมาใหม่ตามที่โจทก์นำชี้จะเหมือนกับแผนที่สังเขปท้ายฟ้องของโจทก์ ก็เป็นแผนที่พิพาทที่ชอบ และแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินภายในวงสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาว่า ที่พิพาทในเส้นประสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ หาได้พิพากษาผิดไปจากคำขอท้ายฟ้องแต่ประการใดไม่
เมื่อที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ครอบครอง การที่จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของ ไม่มีอำนาจโอนขาย จำเลยร่วมหาได้สิทธิ์ในที่พิพาทไม่ ถึงหากจะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตก็จะนำมาตรา 1299, 1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับมิได้
จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โดยคำแนะนำของทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รู้ดีว่าโจทก์ จำเลยที่ 2 กำลังมีเรื่องพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ แต่ก็ยังแนะนำให้จำเลยร่วมซื้อจากจำเลยที่ 2 เมื่อเป็นเช่นนี้จะฟังว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทของจำเลยร่วมเป็นไปโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิ์ห้ามจำเลยร่วมเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้
เมื่อมีการละเมิดย่อมมีความเสียหาย การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 บุกรุกเข้าไปในที่พิพาทของโจทก์ โจทก์จึงได้รับความเสียหายที่ขาดประโยชน์อันควรจะได้รับในที่พิพาท แม้โจทก์จะยังไม่เข้าทำประโยชน์อย่างใดในที่พิพาท ศาลก็ยังกำหนดว่าค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
ในระหว่างการพิจารณาได้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรองความถูกต้อง แต่เป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 2 แถลงว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผนที่ใหม่ หากโจทก์จะทำแผนที่ใหม่ก็ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมไปเอง ซึ่งเท่ากับจำเลยยินยอมให้โจทก์กระทำไปฝ่ายเดียวได้ แม้แผนที่พิพาทที่ทำมาใหม่ตามที่โจทก์นำชี้จะเหมือนกับแผนที่สังเขปท้ายฟ้องของโจทก์ ก็เป็นแผนที่พิพาทที่ชอบ และแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินภายในวงสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาว่า ที่พิพาทในเส้นประสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ หาได้พิพากษาผิดไปจากคำขอท้ายฟ้องแต่ประการใดไม่
เมื่อที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ครอบครอง การที่จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของ ไม่มีอำนาจโอนขาย จำเลยร่วมหาได้สิทธิ์ในที่พิพาทไม่ ถึงหากจะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตก็จะนำมาตรา 1299, 1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับมิได้
จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โดยคำแนะนำของทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รู้ดีว่าโจทก์ จำเลยที่ 2 กำลังมีเรื่องพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ แต่ก็ยังแนะนำให้จำเลยร่วมซื้อจากจำเลยที่ 2 เมื่อเป็นเช่นนี้จะฟังว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทของจำเลยร่วมเป็นไปโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิ์ห้ามจำเลยร่วมเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้
เมื่อมีการละเมิดย่อมมีความเสียหาย การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 บุกรุกเข้าไปในที่พิพาทของโจทก์ โจทก์จึงได้รับความเสียหายที่ขาดประโยชน์อันควรจะได้รับในที่พิพาท แม้โจทก์จะยังไม่เข้าทำประโยชน์อย่างใดในที่พิพาท ศาลก็ยังกำหนดว่าค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, แผนที่พิพาท, การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต และค่าเสียหายจากการละเมิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์เฉพาะภายในเส้นสีแดงประตามรูปแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง ปรากฏว่าตามรูปแผนที่ได้แสดงเขตที่กล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกไว้ 3 ด้าน ด้านเหนือจดถนนสาธารณะ ด้านใต้จดลำน้ำแม่ประจันต์ ด้านตะวันตกจดลำห้วย แผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาทำให้จำเลยเข้าใจได้แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ในระหว่างการพิจารณาได้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรองความถูกต้อง แต่เป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 2 แถลงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผนที่ใหม่ หากโจทก์จะทำแผนที่ใหม่ก็ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมไปเอง ซึ่งเท่ากับจำเลยยินยอมให้โจทก์กระทำไปฝ่ายเดียวได้ แม้แผนที่พิพาทที่ทำมาใหม่ตามที่โจทก์นำชี้จะเหมือนกับแผนที่สังเขปท้ายฟ้องของโจทก์ ก็เป็นแผนที่พิพาทที่ชอบ และแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินภายในวงสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาว่า ที่พิพาทในเส้นประสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ หาได้พิพากษาผิดไปจากคำขอท้ายฟ้องแต่ประการใดไม่
เมื่อที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ครอบครอง การที่จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของ ไม่มีอำนาจโอนขาย จำเลยร่วมหาได้สิทธิในที่พิพาทไม่ ถึงหากจะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตก็จะนำมาตรา 1299,1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับมิได้
จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โดยคำแนะนำของทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รู้ดีว่าโจทก์ จำเลยที่ 2 กำลังมีเรื่องพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ แต่ก็ยังแนะนำให้จำเลยร่วมซื้อจากจำเลยที่ 2 เมื่อเป็นเช่นนี้จะฟังว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทของจำเลยร่วมเป็นไปโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยร่วมเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้
เมื่อมีการละเมิดย่อมมีความเสียหาย การที่จำเลยที่1 ที่ 2 บุกรุกเข้าไปในที่พิพาทของโจทก์ โจทก์จึงได้รับความเสียหายที่ขาดประโยชน์อันควรจะได้รับในที่พิพาท แม้โจทก์จะยังไม่เข้าทำประโยชน์อย่างใดในที่พิพาท ศาลก็ยังกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
ในระหว่างการพิจารณาได้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรองความถูกต้อง แต่เป็นผลมาจากการที่จำเลยที่ 2 แถลงว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำแผนที่ใหม่ หากโจทก์จะทำแผนที่ใหม่ก็ให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมไปเอง ซึ่งเท่ากับจำเลยยินยอมให้โจทก์กระทำไปฝ่ายเดียวได้ แม้แผนที่พิพาทที่ทำมาใหม่ตามที่โจทก์นำชี้จะเหมือนกับแผนที่สังเขปท้ายฟ้องของโจทก์ ก็เป็นแผนที่พิพาทที่ชอบ และแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินภายในวงสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นของโจทก์ ศาลก็มีอำนาจพิพากษาว่า ที่พิพาทในเส้นประสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้ หาได้พิพากษาผิดไปจากคำขอท้ายฟ้องแต่ประการใดไม่
เมื่อที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ครอบครอง การที่จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เจ้าของ ไม่มีอำนาจโอนขาย จำเลยร่วมหาได้สิทธิในที่พิพาทไม่ ถึงหากจะซื้อที่พิพาทไว้โดยสุจริตก็จะนำมาตรา 1299,1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับมิได้
จำเลยร่วมซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว โดยคำแนะนำของทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รู้ดีว่าโจทก์ จำเลยที่ 2 กำลังมีเรื่องพิพาทกันอยู่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้ แต่ก็ยังแนะนำให้จำเลยร่วมซื้อจากจำเลยที่ 2 เมื่อเป็นเช่นนี้จะฟังว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทของจำเลยร่วมเป็นไปโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยร่วมเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทได้
เมื่อมีการละเมิดย่อมมีความเสียหาย การที่จำเลยที่1 ที่ 2 บุกรุกเข้าไปในที่พิพาทของโจทก์ โจทก์จึงได้รับความเสียหายที่ขาดประโยชน์อันควรจะได้รับในที่พิพาท แม้โจทก์จะยังไม่เข้าทำประโยชน์อย่างใดในที่พิพาท ศาลก็ยังกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของรัฐ - ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - การซื้อขายไม่สุจริต - สิทธิในที่ดิน
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวัง โดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเอง และมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดทับที่ดินเดิม และผลของการซื้อขายโดยไม่สุจริต รวมถึงการเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่ 1 - 2 ออกโฉนดทับที่ซึ่งโจทก์ครอบครองอยู่ก่อน การออกโฉนดทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 - 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 3 - 4 รับจำนองที่พิพาทโดยไม่สุจริตต่อมาจำเลยที่ 3 - 4 ฟ้องบังคับจำนองและซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดของศาล ย่อมเป็นการซื้อโดยไม่สุจริต ต่อมาจำเลยที่ 3 โอนทะเบียนยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 5 - 6 โดยเสน่หา โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
การที่จำเลยขอให้ออกและรับโฉนดที่พิพาทโดยโจทก์ไม่รู้ และการที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์จากที่พิพาท ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่พิพาท
การที่จำเลยขอให้ออกและรับโฉนดที่พิพาทโดยโจทก์ไม่รู้ และการที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์จากที่พิพาท ไม่ใช่การแย่งการครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายไม่สุจริตและสิทธิครอบครองปรปักษ์: โจทก์มีสิทธิเหนือที่ดินเพราะซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียน แม้จำเลยครอบครองก่อน
ตามคำให้การของจำเลยอ่านรวมกันพออนุมานได้ว่าจำเลยโต้เถียงเรื่องการซื้อขายที่พิพาทว่า เป็นการไม่สุจริต ก็ถือว่าจำเลยโต้เถียงว่า โจทก์ทำการโดยไม่สุจริตแล้ว
ในข้อโต้เถียงเรื่องสุจริตหรือไม่นั้นมี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 บัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ฉะนั้นเมื่อจำเลยโต้เถียงว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมมีหน้าที่พิสูจน์แสดงหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ที่ดินซึ่งเป็นที่มีโฉนดเป็นหลักฐาน แม้หากจำเลยจะได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งอยู่ภายในโฉนดมาโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วก็ตามจำเลยมิได้จดทะเบียนสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จะยกสิทธิครอบครองอันยังมิได้จดทะเบียนนั้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ได้ที่มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโอนซื้อขายกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ได้
ในข้อโต้เถียงเรื่องสุจริตหรือไม่นั้นมี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 บัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ฉะนั้นเมื่อจำเลยโต้เถียงว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมมีหน้าที่พิสูจน์แสดงหักล้างข้อสันนิษฐานนี้
ที่ดินซึ่งเป็นที่มีโฉนดเป็นหลักฐาน แม้หากจำเลยจะได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งอยู่ภายในโฉนดมาโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วก็ตามจำเลยมิได้จดทะเบียนสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จะยกสิทธิครอบครองอันยังมิได้จดทะเบียนนั้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ได้ที่มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโอนซื้อขายกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ได้