คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศซื้อที่ดิน: เป็นต้นทุนที่ดิน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการหากำไร
การที่โจทก์กู้ยืมเงินในประเทศจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มาเพื่อซื้อที่ดินนั้น เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินย่อมถือเป็นต้นทุนของที่ดินดังกล่าว และเป็นค่าใช้จ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรเนื่องจากเป็นรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของโจทก์อันเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการอันมีผลก่อให้เกิดรายได้ต่อธุรกิจโจทก์ต่อไป และแม้โจทก์จะกู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาเพื่อใช้หนี้เงินกู้ในประเทศที่โจทก์กู้จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มิใช่เพื่อซื้อที่ดินโดยตรง แต่เมื่อโจทก์นำเงินกู้ในประเทศไปใช้ซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาและแบ่งขายในลักษณะโครงการปลูกสวนป่า หนี้เงินกู้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจึงเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับหนี้เงินกู้ในประเทศดังกล่าวเสมือนเป็นเพียงการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน และการที่โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเงินตามต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินที่อาจเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดต้องชำระคืนเงินกู้ให้แก่ธนาคารต่างประเทศที่โจทก์กู้ยืมมา ดังนั้น ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในส่วนที่เกี่ยวกับการซื้อที่ดินที่โจทก์ต้องจ่ายไป จึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลโดยตรงที่โจทก์กู้ยืมเงินตราต่างประเทศมาชำระหนี้เงินกู้ในประเทศเพื่อซื้อที่ดิน หาใช้เป็นค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์คำนวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิ แต่โจทก์ยังไม่สามารถพัฒนาที่ดินเพื่อขายได้ โจทก์จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าใช้จ่ายในการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศดังกล่าวมาถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เนื่องจากถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนของโจทก์ถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนของต้นทุนที่ดิน อันต้องห้ามมิให้นำมาหักเป็นรายจ่ายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการฟ้องแย้งให้ซื้อที่ดินส่วนที่รุกล้ำ ศาลไม่รับฟ้องแย้งเนื่องจากไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและขัดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร ตลอดแนวที่ดิน จำเลยให้การในตอนแรกปฏิเสธว่า จำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์ แต่ต่อมาให้การว่า หากฟังว่าจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์จริงก็เป็นการกระทำโดยสุจริตและขอฟ้องแย้งให้โจทก์ขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำแก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยนอกจากจะมีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวกับกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปด้วยกันได้ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย แล้ว คำขอท้ายฟ้องแย้งยังคงเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1312 ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3710/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเพิ่มเติมและการซื้อที่ดินส่วนที่เหลือต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินจากตารางวาละ 8,000 บาท เป็นตารางวาละ 16,000 บาท โจทก์พอใจไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 12,000 บาท โจทก์ก็ชอบที่จะฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 16,000 บาท เท่านั้น จะขอแก้ทุนทรัพย์ชั้นฎีกาให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์พอใจแล้วไม่ได้ ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้แก้ โจทก์จึงฎีกาขอให้ศาลฎีกาเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท ไม่ได้ด้วย
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้วินิจฉัยให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นตารางวาละ 24,000 บาท โจทก์จึงมีสิทธิที่จะไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้จากฝ่ายจำเลยซึ่งมากกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้แก่โจทก์และโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์พอใจคำวินิจฉัยส่วนนี้ของรัฐมนตรีแล้ว ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนที่ดินตามฟ้องของโจทก์จึงหมดสิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาส่วนนี้ของจำเลย
โจทก์ไม่ได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนนั้น เป็นการอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนตามมาตรา 20 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน แต่การยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้เป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วนำคดีในส่วนนี้มาฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7301/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้ไม่อาจอ้างสิทธิในที่ดินได้ แม้มีชื่อในโฉนด
โจทก์รู้อยู่แล้วในขณะที่ซื้อที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 2 ได้ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยมิชอบ ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอาการมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อเช่า เป็นรายจ่ายลงทุนที่ต้องห้ามทางภาษี ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับตามเหตุผลสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอม ให้นำรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดิน นั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ซึ่ง เป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ ของโจทก์ต่อไปเงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็น รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ ที่ดินมาโดยตรง ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ย นั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงินมาจนกว่าจะ ชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรง ที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจาก การกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับ เงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรวางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้น หาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ดังนั้นหากศาลเห็นว่าผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลงศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตามหลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัดที่ศาลภาษีอากรพิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมายย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้นจากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนลงทุนซื้อที่ดินผิดสัญญา ศาลอนุญาตฟ้องเรียกเงินลงทุนคืนได้ แม้มีข้อตกลงห้ามเรียกคืน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อที่ดินมาค้าหากำไรโดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อซื้อที่ดินมาแล้วหุ้นส่วนทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นร่วมกัน และหุ้นส่วนทุกฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่มีการเรียก เงินลงทุนคืนระหว่างดำเนินการ ต่อมาเมื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว แต่กลับใส่ชื่อจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 แทนที่โจทก์ แล้วนำที่ดินแปลงดังกล่าวจำนอง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระเงินลงหุ้นให้ครบและไม่ยอมจำนองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินลงหุ้นหรือเงินลงทุนคืนได้
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการซื้อที่ดินโดยสุจริต
โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้หมายเรียก จำเลยร่วมที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลย เพราะบุคคลทั้งสี่อ้างว่าเป็นญาติและบริวารของจำเลยได้บุกรุกเข้าไปปลูกบ้านเรือนในที่ดินพิพาทคนละหลัง ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้หมายเรียกบุคคลทั้งสี่เข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยกำหนดให้ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนด 15 วัน ในการส่งหมายเรียกดังกล่าวเจ้าพนักงานศาลได้นำหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไปส่งให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 โดยจำเลยร่วมที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำร้องสอดไว้แทนจำเลยร่วมที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แต่จำเลยร่วมที่ 4 มีบ้านอยู่ต่างหากจากบ้านของจำเลยร่วมที่ 1 ดังนี้เมื่อจำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ดังนั้น จำเลยร่วมที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมีสิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส.ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส.ได้แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4 เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยานจึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ และเมื่อการกระทำของ ส.ดังกล่าวเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส.มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีก กรณีจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์และจำเลยร่วมที่ 4 โดยให้จำเลยร่วมที่ 4 ยื่นคำให้การใหม่แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามมาตรา 243 (2)ประกอบมาตรา 247
แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น.กับพวกขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น.ไปแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น.ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินแปลงพิพาทของ น.อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทของ น.ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในกรณีเช่นว่านี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การแต่งตั้งทนายความ และการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
จำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วม ที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมี สิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่งแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส. ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส. แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ การกระทำของ ส. เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีกจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามมาตรา 243(2) ประกอบ มาตรา 247 แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น. ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกแสดงว่า จำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ: สิทธิใครเหนือกว่าเมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
of 8