พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย: การซื้อสินค้าสำเร็จรูปและค่าจ้างทำของ ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ซื้ออุปกรณ์เครนยกสินค้าจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งมีทะเบียนการค้าและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรแตกต่างจากโรงงาน ส. ซึ่งโจทก์จ่ายค่าแรงติดตั้งเครนยกสินค้าให้ ดังนั้น โรงงาน ส. จึงเป็นบุคคลอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้จะมีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกัน แต่ก็มีเงินได้พึงประเมินเป็นของตนเองและมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีแยกจากกัน จึงไม่อาจถือว่าเงินที่โจทก์จ่ายชำระราคาอุปกรณ์เครนยกสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของที่โจทก์จ้างโรงงาน ส. ติดตั้งเครนยกสินค้า โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 3 เตรส
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน แต่เมื่อการไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนนั้นไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการควรได้รับจากการประกอบกิจการเพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะได้ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 (5) และมาตรา 91/16 (6) ดังนั้น เมื่อโจทก์ให้บริษัท พ. กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะโดยคำนวณจากดอกเบี้ยรับที่โจทก์ควรจะได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี จึงชอบแล้ว
การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน แต่เมื่อการไม่คิดดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนนั้นไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยที่ผู้ประกอบการควรได้รับจากการประกอบกิจการเพื่อใช้เป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีการค้าหรือภาษีธุรกิจเฉพาะได้ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 (5) และมาตรา 91/16 (6) ดังนั้น เมื่อโจทก์ให้บริษัท พ. กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าและภาษีธุรกิจเฉพาะโดยคำนวณจากดอกเบี้ยรับที่โจทก์ควรจะได้รับในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ใบกำกับภาษีปลอมของผู้รับเหมา แม้จะไม่ได้ซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ขาย ก็ถือว่ามีความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษีได้ต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเป็นผู้ขายสินค้า จำเลยรับจ้างบริษัทโรเยลเมทัลอินดัสทรีส์ จำกัด ก่อสร้างโรงงาน จำเลยประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อวัสดุก่อสร้างมาใช้ในกิจการ จำเลยทราบดีว่าบริษัท ส. ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้ได้ เมื่อนางอัญชลี พนักงานบัญชีของบริษัทโรเยลเมทัลอินดัสทรีส์ จำกัด ตรวจพบว่ามีบิลเงินสด / ใบกำกับภาษีฉบับหนึ่ง รวมตัวเลขผิดไป 9 บาท จำเลยได้แจ้งให้นางอัญชลี ติดต่อไปยังบริษัทไม้แสงวิวัฒน์ (1988) จำกัด ผู้ออกบิลเงินสด / ใบกำกับภาษี โดยตรง อันเป็นการนำสืบในทำนองว่า จำเลยไม่ทราบว่า บิลเงินสด / ใบกำกับภาษี ดังกล่าวเป็นเอกสารสิทธิปลอมนั้น เห็นว่าตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาลงวันที่ 30 มิถุนายน 2537 ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ซึ่งต่อมาจำเลยได้ไปพบพนักงานสอบสวนและได้ให้การเพิ่มเติมตามที่จำเลยอ้างนี้ อันเป็นเวลาภายหลังเกือบสองปีแล้วตามใบต่อคำให้การ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2539 และตามคำเบิกความของนางอัญชลี พยานโจทก์ ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้แจ้งให้ นางอัญชลีติดต่อไปยังบริษัทไม้แสงวิวัฒน์ (1988) จำกัด โดยตรงแต่อย่างใด นอกจากนี้ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่า บิลเงินสด / ใบกำกับภาษีดังกล่าวได้มีการส่งมอบจากนายกัง (นายวิรัตน์) ให้แก่นายกี่เฮียก และนายกี่เฮียกส่งมอบให้แก่นายประวิทย์จนมาถึงจำเลยเป็นทอด ๆ พยานหลักฐานของจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐาน การที่จำเลยรู้ว่าบิลเงินสดใบกำกับภาษีของกลางเป็นเอกสารสิทธิปลอม แล้วจำเลยนำไปใช้ จำเลยจึงมีความผิดข้อหาใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนซื้อสินค้า: ความผูกพันชำระหนี้แม้มีการจ้างเหมาช่วง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงรับจ้างก่อสร้างโรงเรือนสุกรพันธุ์ แม้จำเลยที่ 1 จะนำสืบแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้จ้างจำเลยที่ 3 ทำงานแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 พาจำเลยที่ 4 ไปพบโจทก์ ให้โจทก์คำนวณราคาแบบติดตั้งและอุปกรณ์โดยแนะนำว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดูแลงานก่อสร้างดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหนังสือสั่งซื้อและติดตั้งอุปกรณ์การก่อสร้างไปถึงโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 โอนเงินให้โจทก์บางส่วน นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังเคยติดต่อให้โจทก์ออกใบกำกับภาษีให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย กรณีจึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1เชิดจำเลยที่ 4 ว่าเป็นตัวแทนของตนติดต่อซื้ออุปกรณ์ติดตั้งคอกสุกรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องผูกพันชำระราคาส่วนที่ค้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - การผิดสัญญา - การซื้อสินค้าจากผู้อื่น - ค่าปรับ - อายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยตกลงทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์อันเป็นอุปกรณ์ของโรงแยกก๊าซจำนวน 3 กลุ่ม รวม 499 รายการตามรายการละเอียดแนบท้ายสัญญา รวมราคาทั้งสิ้น 3,788,109 บาทตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารท้ายฟ้อง จำเลยส่งมอบผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วนขาดส่งจำนวน 160 รายการ คิดเป็นเงิน 1,122,478 บาทตามสำเนาบันทึกข้อความการตรวจรับพัสดุเอกสารท้ายฟ้อง โจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคาซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน 160 รายการอันเป็นผลิตภัณฑ์ ชนิด คุณสมบัติลักษณะเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเลยมิได้ส่งมอบ และโจทก์ได้ตกลงจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ชนะการประกวดราคา ตามสำเนาสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้าเอกสารท้ายฟ้องรวม 119 รายการ เป็นเงิน 8,824,320 บาท และมีคำขอบังคับ เอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งปรากฏรายละเอียดแห่งสินค้ามาด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมไม่จำต้องบรรยายว่าสินค้าที่โจทก์ซื้อมาใหม่เป็นสินค้าอะไรบ้าง และเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับที่ระบุไว้ในสัญญาหรือไม่ เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หมายถึง เหตุใด ๆอันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่การ ทำสัญญาขายสินค้าที่มีการแจ้งความประกวดราคา เป็นหน้าที่ ของผู้เสนอราคาโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตน โดยจะต้องพิจารณาด้วยตนเองว่าสินค้าตามใบแจ้งความประกวดราคา นั้นตนเองสามารถจะจัดหามาและสู้ราคาได้หรือไม่ เมื่อจำเลย ผู้เสนอราคาได้พิจารณารายละเอียดของสินค้าตามที่โจทก์แจ้งความประกวดราคามานั้นว่าสามารถที่จะจัดหามาได้ และเมื่อโจทก์สนองรับซื้อแล้วซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์และจำเลยจะทำ สัญญากัน จำเลยก็ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ครั้งแรกจำนวน 322 รายการ แล้วต่อมาจำเลยยังลงลายมือชื่อในสัญญาตาม สัญญาซื้อขาย ซึ่งมีรายละเอียดของสินค้าระบุไว้ชัดเจนและ เป็นเวลาภายหลังจำเลยส่งสินค้าครั้งแรกถึง 4 เดือนเศษจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะอ้างว่าไม่สามารถส่งสินค้าด้วยเหตุสุดวิสัยหรือสำคัญผิดในคุณสมบัติของสินค้า แม้โจทก์จะทำสัญญากับจำเลยล่าช้า แต่เมื่อจำเลยยอมลงลายมือชื่อในสัญญาอันเป็นการรับรองว่าสัญญาถูกต้อง จำเลยย่อมไม่อาจยกข้อบกพร่องของสัญญาขึ้นมาอ้างต่อไปอีกได้ และแม้โจทก์จะยอม รับสินค้าที่จำเลยส่งมา 2 ครั้งบางรายการ โดยส่งมาก่อน และหลังทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาว่าสินค้าที่ จำเลยยังไม่ส่งมาเกิดจากข้อบกพร่องของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่า โจทก์ยอมรับว่าสินค้าที่จำเลยยังมิได้ส่งมาเกิดจากเหตุ สุดวิสัย ดังนี้ สัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย ตามหนังสือขอให้ยกเลิกสัญญาบางส่วนและขอให้ชำระหนี้ที่จำเลยมีถึงโจทก์ มีใจความว่า ขอให้โจทก์ยกเลิกสัญญาบางรายการที่ไม่อาจจัดส่งให้ได้อันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยแต่เมื่อตามสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏข้อความให้จำเลยมีสิทธิยกเลิกสัญญาด้วยเหตุเช่นนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุที่จำเลยยกขึ้นมาเองโดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจึงจะนับเวลาที่โจทก์ต้องจัดซื้อสินค้าที่จำเลยขาดส่งภายใน 6 เดือนตามสัญญา นับแต่จำเลยบอกเลิกสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้โจทก์และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อสินค้าที่จำเลยผิดนัดไม่ได้ส่งซึ่งไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาข้อดังกล่าว ที่ตกลงกันว่าหากจำเลยส่งสินค้าไม่ครบทั้งหมดหรือบางส่วน โจทก์มีสิทธิริบหลักประกันกับเรียกค่าเสียหายในส่วนที่จัดซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นเป็นราคาเพิ่มขึ้น โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีจำเลยผิดสัญญาซื้อขายไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา มิได้ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยรับผิดกรณีส่งมอบสินค้าให้โจทก์ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ จะนำอายุความ 1 ปี กรณีข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474มาใช้บังคับหาได้ไม่ และกรณีเรียกร้องให้จำเลยรับผิดไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (193/30 ใหม่) ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญานานถึง 5 เดือน เป็นการประมาทเลินเล่อไม่ใช้สิทธิภายในเวลาอันสมควรย่อมหมดสิทธิที่จะร้องเรียกเอาแก่จำเลยนั้นเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่มีประเด็นนำสืบ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์เลือกใช้สิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 8 แล้ว ย่อมไม่มีสิทธิที่จะปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ตามสัญญาข้อ 9 อีกนั้น เมื่อปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้กล่าวอ้างไว้ในคำให้การและมิได้ประเด็นพิพาทจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการซื้อสินค้า โดยพิจารณาจากใบส่งของชั่วคราวและอุตสาหกรรมที่ซื้อไป
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าตามใบส่งของชั่วคราวระหว่างวันที่5มกราคม2533ถึงวันที่3มีนาคม2533เมื่อนับถึงวันฟ้อง(วันที่13มีนาคม2535)เกินกว่า2ปีสิทธิเรียกร้องค่าสินค้าของโจทก์จึงขาดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)ซึ่งเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยมิได้ซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของจำเลยจึงมีอายุความ5ปีคดีไม่ขาดอายุความนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยซื้อสินค้าไปเพื่ออุตสาหกรรมของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทคดีย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะรับเป็นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีตัดพยาน-หน้าที่นำสืบ: จำเลยอ้างพยานแต่ไม่ขอหมายเรียก-การซื้อสินค้าตัวการตัวแทน
จำเลยระบุอ้างพยานหมายไว้ในบัญชีระบุพยานของตน แต่มิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานปากดังกล่าวมาเบิกความ ครั้นถึงวันนัดจำเลยขอเลื่อนคดีโดยรับรองต่อศาลว่าจะไม่เลื่อนคดีอีก และจะนำพยานทุกปากมาสืบพร้อมกัน ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำชับไว้แล้วว่าจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีอีก ถึงวันนัดจำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลว่าไม่สามารถนำพยานมาศาลได้โดยจำเลยมิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานปากดังกล่าวมาศาล เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ศาลตัดพยานปากนี้เสียได้
คดีมีประเด็นว่า จำเลยซื้อสินค้าไปจากโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประเด็นดังกล่าว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยติดต่อซื้อท่อระบายน้ำจากโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยติดต่อซื้อท่อระบายน้ำจากโจทก์แทนบริษัท น.ซึ่งเป็นตัวการ อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องได้
คดีมีประเด็นว่า จำเลยซื้อสินค้าไปจากโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามประเด็นดังกล่าว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยติดต่อซื้อท่อระบายน้ำจากโจทก์ ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยติดต่อซื้อท่อระบายน้ำจากโจทก์แทนบริษัท น.ซึ่งเป็นตัวการ อันเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามหน้าที่นำสืบที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2334/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด: การรับจำนองค้ำประกันหนี้ค่าซื้อสินค้าเข้าข่ายหรือไม่
บริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ตามหลักฐานใบทะเบียนพาณิชย์ว่าเป็นนายหน้าตัวแทนค้าต่าง ซื้อขายสินค้า ดังนี้ การรับจำนองค้ำประกันหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการซื้อสินค้าจากตนเอง: ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ
กรรมการร้านค้าซึ่งเป็นริติบุคคล ได้มีมติแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการร้านค้านั้น ย่อมเป็นเรื่องแต่งตั้งผู้จัดการตาม ธรรมดา ฉะนั้นผู้จัดการย่อมไม่มีอำนาจที่จะซื้อสินค้าจากร้านของผู้จัดการเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคณะ กรรมการของร้านค้านั้นก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการซื้อสินค้าจากตนเอง: ต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการ
กรรมการร้านค้าซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้มีมติแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการร้านค้านั้น ย่อมเป็นเรื่องแต่งตั้งผู้จัดการตามธรรมดา ฉะนั้นผู้จัดการย่อมไม่มีอำนาจที่จะซื้อสินค้าจากร้านของผู้จัดการเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการของร้านค้านั้นก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211-217/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสินค้าหนีภาษีโดยสุจริต: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหากไม่รู้ว่าเป็นของหนีภาษี หน้าที่การพิสูจน์อยู่ที่โจทก์
จำเลยซื้อสินค้าที่ทำจากต่างประเทศภายในพระราชอาณาจักรสยามโดยสุจริต ไม่รู้ว่าสินค้านั้นยังมิได้เสียภาษีดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดและกรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบจะยก ม.100 มาปรับแก่คดีมิได้