พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: พาคนต่างด้าวเข้าเมือง และ ซ่อนเร้นคนต่างด้าว
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันช่วยซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อให้พ้นจากการจับกุมย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการทำไม้, ครอบครองไม้หวงห้าม และช่วยซ่อนเร้นของหลีกเลี่ยงอากร
การทำไม้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (2) และการมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ส่วนการช่วยซ่อนเร้นหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของอันตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อจำกัด เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยที่ 1 ร่วมกันทำไม้และมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตามการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กำหนดโทษปรับไว้เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรแล้ว ไม่ใช่สี่เท่าของค่าอากร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำราคาเลื่อยยนต์ของกลางมารวมคำนวณกับค่าอากร จึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กำหนดโทษปรับไว้เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรแล้ว ไม่ใช่สี่เท่าของค่าอากร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำราคาเลื่อยยนต์ของกลางมารวมคำนวณกับค่าอากร จึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกความผิดฐานรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน และช่วยเหลือซ่อนเร้น เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ 2 ข้อ ข้อ ก. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งลักลอบเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และข้อ ข. ว่า ภายหลังการกระทำความผิดข้อ ก. จำเลยให้ที่พำนัก ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่คนต่างด้าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ตามฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็นสองกรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยฐานรากอาคารซ่อนเร้น และสิทธิภารจำยอมโดยอายุความ
จำเลยสร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำของโจทก์โดยเปิดเผยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ประกอบมาตรา 1401 แม้จะมีการครอบครองมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ซ่อนเร้นคนต่างด้าว vs. ให้สินบนเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และความผิดฐานร่วมกันให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 144 เป็นความผิดที่ผู้กระทำการจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลต่างกัน กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นความผิดและมีบทลงโทษสำหรับความผิดแต่ละอย่างแตกต่างกัน และลักษณะแห่งการกระทำความผิดสามารถแยกส่วนจากกันได้ แสดงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดในแต่ละการกระทำเป็นกรณีไป แม้เหตุการณ์ที่จำเลยทั้งสองถูกจับกุมจะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกับการกระทำผิดอีกฐานหนึ่งก็ตาม จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: พฤติการณ์ซื้อขายราคาต่ำผิดปกติ ซ่อนเร้นทรัพย์ และถอดชิ้นส่วน ยืนยันเจตนา
การที่จำเลยซื้อรถจักรยานยนต์ที่ซื้อมาเมื่อ 3 ปีในราคา30,000 บาท ซึ่งยังใช้งานได้จาก ว. ในราคาเพียง 1,000 บาทจึงต่ำกว่าราคาปกติมากทั้งเป็นการซื้อขายกันในลักษณะเร่งรีบและรวบรัด ไม่มีการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนเพื่อทราบถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงก่อน เป็นการผิดปกติวิสัยการซื้อขายโดยสุจริตทั่วไป ทั้งเมื่อซื้อแล้วจำเลยได้นำไปไว้ยังบ้านญาติซึ่งอยู่ในสวนเพียงหลังเดียวจึงส่อไปในทำนองว่าจำเลยนำไปซ่อนเร้นไว้มิให้ผู้ใดทราบว่า รถจักรยานยนต์ของกลางอยู่ในความครอบครองของจำเลย ทั้งยังปรากฏว่าได้มีการถอดชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ของกลางบางอย่างและแผ่นป้ายหมายเลขทะเบียนออกเป็นพิรุธว่าเตรียมดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ของกลางมิให้เจ้าของติดตามเอาคืน พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่มีส่วนสนับสนุนก่อให้เกิดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และอาชญากรรมอื่น ๆ ติดตามมาอีกมากมาย เป็นภัยต่อประชาชนผู้สุจริต จึงเป็นความผิดร้ายแรงอีกทั้งทรัพย์ที่จำเลยรับของโจรเป็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีราคาสูงจึงไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่มีส่วนสนับสนุนก่อให้เกิดความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และอาชญากรรมอื่น ๆ ติดตามมาอีกมากมาย เป็นภัยต่อประชาชนผู้สุจริต จึงเป็นความผิดร้ายแรงอีกทั้งทรัพย์ที่จำเลยรับของโจรเป็นรถจักรยานยนต์ซึ่งมีราคาสูงจึงไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: การนำเข้าของต้องห้ามและการช่วยเหลือซ่อนเร้น ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาโดยยกข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้องเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามและช่วยซ่อนเร้น โดยศาลฎีกาเห็นว่าความผิดทั้งสองเป็นกรรมเดียวกัน
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา27ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้องเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสียซื้อรับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา27ทวิซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา27ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เข้าข่ายรับของโจร ต้องมีเจตนาซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย หรือพาเอาไปเสีย ซึ่งฎีกานี้เห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟัง
การที่มีผู้เห็นจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่หายไปโดยมีนาย อ. เป็นคนขับในวันรุ่งขึ้นจากที่รถหาย และในตอนเย็นหลังจากวันที่รถหายได้ 1 วัน บุตรชายของนาย ย. ได้พาเพื่อน4 คนไปที่บ้านของนาย ย. พร้อมกับรถคันที่หายโดยมีจำเลยไปด้วยจำเลยค้างที่บ้านของนาย ย.2 คืน แล้วกลับไปก่อน ส่วนคนอื่นค้าง 3 คืน เมื่อจำเลยกลับไปแล้ว รถคันที่หายก็ยังอยู่ที่บ้านของนาย ย. และในวันที่เจ้าพนักงานตำรวจไปยึดชิ้นส่วนรถที่บ้านของนาย ย. ไม่เห็นจำเลย ดังนี้ ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยไปกับคนร้ายเท่านั้น การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสียซึ่งรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้นของหนีภาษี, การคำนวณค่าปรับ, และอำนาจศาลในการแก้ไขโทษ
ขณะถูกจับกุมพร้อมของหนีภาษี จำเลยที่ 3 นั่งรถยนต์ไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนขับรถ ของหนีภาษีที่บรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของหนีภาษีบรรทุกรถยนต์มามีเป็นจำนวนมากและเป็นสินค้าที่นำมาจากต่างประเทศ ของบางส่วนเอาไว้ที่เบาะที่นั่งตอนหลังเห็นได้ชัดเจน เช่นนี้นับได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยซ่อนเร้น ช่วยพาเอาไปเสีย หรือรับเอาไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตาม พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา27 ทวิ แล้ว
พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
พระราชบัญญัติ ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 27 ทวิ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ค่าปรับตามบทมาตราดังกล่าวหาได้หมายความรวมถึงภาษีการค้า ภาษีเทศบาลอันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากรด้วยไม่ การคิดคำนวนค่าปรับโดยนำภาษีการค้า ภาษีเทศบาล มารวมคำนวณด้วยจึงไม่ชอบ และศาลต้องปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดด้วยกันทุกคนไม่เกินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยทุกคนเรียงตามรายตัวบุคคลจึงเป็นการไม่ถูกต้อง แต่โจทก์พอใจมิได้อุทธรณ์โต้แย้งปัญหานี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมกันย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันได้รับโทษหนักขึ้น เป็นการต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา212 เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุที่อยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยใหม่ให้จำเลยทุกคนได้รับโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลรวมกันแล้วไม่เกินโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)