พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เยาว์มีมารดา ผู้ปกครองซ้อนไม่ได้
ผู้เยาว์ มีมารดายังมีชีวิตและยังไม่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองจะตั้งใครเป็นผู้ปกครองซ้อนขึ้นอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1042/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงซ้อน: หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้อื่นแล้วนำไปหลอกขายต่อ เป็นความผิดสองกระทง
หลอกลวงเอาหินจากคนหนึ่งแล้วเอามาหลอกขายให้แก่อีกคนหนึ่งว่าเป็นหินของตัวเป็นผิดสองกะทงตามมาตรา 304 กะทงหนึ่งตามมาตรา 306(4 ) อีก กะทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166-4170/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการร้องขอฟื้นฟูกิจการซ้ำและซ้อน โดยศาลพิจารณาว่าการร้องขอซ้ำในมูลเหตุเดิมเป็นเหตุต้องห้าม
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือการร้องขอซ้ำนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรมซึ่งจะได้รับชำระหนี้จำนวนไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้น เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการ โดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนว่าเป็นการกระทำแทนบุคคลอื่นๆ ด้วย หากมีการร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างมูลเหตุเดิมหรือช่องทางในการฟื้นฟูกิจการเดียวกันก็ย่อมเป็นการร้องขอซ้ำได้เช่นกัน
ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้ผู้ร้องได้อ้างเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการว่า ลูกหนี้ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวและการเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2540 ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น มูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้เป็นเหตุที่มีการร้องขอฟื้นฟูกิจการมาแล้วในคดีแรก แม้ว่าผู้ร้องขอคดีนี้จะไม่ได้เป็นผู้ร้องขอเองก็ตาม แต่เมื่อคดีแรกศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ อันมีผลทำให้เจ้าหนี้ต้องถูกปรับยอดหนี้ลงมาและมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะหนี้ที่ค้างอยู่ตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งหลังจากศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็ไม่ปรากฏเหตุใหม่ในสาระสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้หรือผู้ร้องขอมีสิทธิร้องขอฟื้นฟูกิจการได้อีก ทั้งศาลวินิจฉัยในคดีแรกมาแล้วว่าลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้และในคดีแรกมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเช่นนี้ การที่เจ้าหนี้มายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีนี้อีก จึงเป็นการร้องขอซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในการร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีที่สามนั้น ธนาคาร ส. ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการซึ่งเป็นผู้รับโอนจากห้าธนาคารในประเทศในขณะที่คดีแรกอยู่ระหว่างพิจารณาชั้นอุทธรณ์ การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีที่สามจึงเป็นการร้องขอซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 และมาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และการที่ผู้ร้องขอมายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีนี้โดยเหตุทำนองเดียวกับการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีที่สามอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
ในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้ผู้ร้องได้อ้างเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการว่า ลูกหนี้ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวและการเปลี่ยนค่าเงินบาทในปี 2540 ทำให้ลูกหนี้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น มูลเหตุในการร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีนี้เป็นเหตุที่มีการร้องขอฟื้นฟูกิจการมาแล้วในคดีแรก แม้ว่าผู้ร้องขอคดีนี้จะไม่ได้เป็นผู้ร้องขอเองก็ตาม แต่เมื่อคดีแรกศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการและยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ อันมีผลทำให้เจ้าหนี้ต้องถูกปรับยอดหนี้ลงมาและมีสิทธิเรียกร้องเฉพาะหนี้ที่ค้างอยู่ตามแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งหลังจากศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว ก็ไม่ปรากฏเหตุใหม่ในสาระสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้หรือผู้ร้องขอมีสิทธิร้องขอฟื้นฟูกิจการได้อีก ทั้งศาลวินิจฉัยในคดีแรกมาแล้วว่าลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้และในคดีแรกมีการดำเนินกระบวนพิจารณาจนกระทั่งศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเช่นนี้ การที่เจ้าหนี้มายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีนี้อีก จึงเป็นการร้องขอซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในการร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีที่สามนั้น ธนาคาร ส. ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการซึ่งเป็นผู้รับโอนจากห้าธนาคารในประเทศในขณะที่คดีแรกอยู่ระหว่างพิจารณาชั้นอุทธรณ์ การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีที่สามจึงเป็นการร้องขอซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีแรกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 และมาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และการที่ผู้ร้องขอมายื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในคดีนี้โดยเหตุทำนองเดียวกับการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการคดีที่สามอีก จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีที่สาม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14