พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษซ้ำซ้อน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กำหนดว่า โทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น จะต้องไม่เคยนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีอื่นมาก่อน ปรากฏว่าศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 775/2546 พิพากษาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 ให้นำโทษจำคุก 6 เดือนที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1162/2545 ของศาลชั้นต้นบวกเข้ากับโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7755/2546 ของศาลชั้นต้นก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2 ที่รอการลงโทษไว้บวกเข้ากับโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7755/2546 แล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลที่พิพากษาในคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามมาตรา 58 วรรคแรก แล้ว โทษจำคุกของจำเลยที่ 2 ที่รอการลงโทษไว้ได้ถูกบังคับโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7755/2546 ของศาลชั้นต้น จึงไม่อาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษมาบวกโทษซ้ำในคดีนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษซ้ำซ้อน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลย 2 คดี เมื่อคดีหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้นำโทษจำคุก 6 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาเรื่องก่อนบวกเข้ากับโทษคดีดังกล่าวแล้วก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีนี้ การที่ศาลอุทธรณ์นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาเรื่องก่อนบวกเข้ากับโทษคดีนี้อีก จึงไม่ชอบด้วย ป.อ. 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษซ้ำซ้อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากศาลอื่นได้บวกโทษนั้นแล้ว
ศาลชั้นต้นได้นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2 ที่รอการลงโทษไว้บวกเข้ากับโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7755/2546 ของศาลชั้นต้นแล้ว จึงเป็นกรณีที่ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังแล้ว ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จึงไม่อาจนำโทษที่รอการลงโทษมาบวกโทษซ้ำในคดีนี้ได้อีก เพราะทำให้จำเลยที่ 2 ได้รับโทษเพิ่มขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์นำโทษจำคุกของจำเลยที่ 2 ที่รอการลงโทษไว้ บวกเข้ากับโทษคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางซ้ำซ้อนและการขอคืนของกลางหลังพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 36
คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ตาม ป.อ. มาตรา 36 ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์ ข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ของศาลชั้นต้นกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกันแต่ฟ้องคดีคนละคราว ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน รวมทั้งธนบัตรของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบไปแล้วในคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ก่อนคดีนี้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบ ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจึงพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีหมายเลขแดงที่ 2436/2542 ถึงที่สุด และผู้ร้องมายื่นคำร้องในคดีนี้ขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี คำร้องของผู้ร้องจึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อนและการแจ้งข้อหาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายืนคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินปลอมแต่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยข้อหาปลอมและใช้ตั๋วแลกเงินอันเป็นเอกสารสิทธิปลอมโดยให้เหตุผลว่า ตั๋วแลกเงินดังกล่าวไม่ใช่เอกสารสิทธิ ศาลอาญากรุงเทพใต้จึงมีคำสั่งปล่อยตัวจำเลย และในวันเดียวกันจำเลยถูกจับและควบคุมตัวในคดีอื่นข้อหาปลอม ใช้หนังสือใบรับฝากตั๋วแลกเงินปลอมรวม16 กรรมแต่ต่อมาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จนกระทั่งโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268 ดังนี้ แม้ว่าตั๋วแลกเงินที่ถูกฟ้องในคดีนี้เป็นฉบับเดียวกับที่จำเลยถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก เมื่อปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนคดีนี้แล้วโดยจำเลยมิได้โต้แย้งว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงย่อมจะผ่านขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างว่าคดีนี้ไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยแล้ว ฎีกาจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยถูกฟ้องในคดีอื่นต่อศาลอาญากรุงเทพใต้แม้จำเลยจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วโจทก์จึงไม่ต้องนำตัวจำเลยมาศาล เมื่อจำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัวในคดีนี้จึงไม่ต้องขอผลัดฟ้องหรือขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ (อัยการสูงสุด)ฟ้องคดีนี้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 7 และ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีจากรายรับที่ไม่ถูกต้อง และการซ้ำซ้อนของการประเมินเบี้ยปรับ
ชื่อผู้ประกอบการค้าที่เป็นเจ้าของบัตรชดเชยภาษี เลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ปรากฏอยู่ตอนบนของรายการเป็นของจำเลยและมีรายละเอียดเลขบัตรชดเชยภาษีพร้อมยอดเงินตามบัตรชดเชยภาษี เมื่อจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านจึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของบัตรชดเชยภาษี จำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินตามมูลค่าบัตรภาษีตามเอกสารดังกล่าวมาคำนวณเสียภาษี แต่จำเลยไม่มาพบและไม่นำส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีเมื่อได้รับหมายเรียกเพื่อตรวจสอบบัญชีจำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับดังกล่าวก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1)และต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องเสีย นับแต่วันพ้นกำหนดและยื่นรายการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี แต่ไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียจำนวนดังกล่าวตามมาตรา 22
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 และแจ้งเลิกประกอบกิจการเมื่อวันที่ 16กันยายน 2540 จึงแสดงได้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จำเลยประกอบกิจการเต็มทั้งรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการประมาณการกำไรสุทธิและชำระภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ยื่นแบบดังกล่าวตามมาตรา 67 ทวิ (1) จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรฯ
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้วการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับในจำนวนภาษีเดียวกันอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน การประเมินเบี้ยปรับนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.50เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2540 และแจ้งเลิกประกอบกิจการเมื่อวันที่ 16กันยายน 2540 จึงแสดงได้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จำเลยประกอบกิจการเต็มทั้งรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการประมาณการกำไรสุทธิและชำระภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ยื่นแบบดังกล่าวตามมาตรา 67 ทวิ (1) จำเลยจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรฯ
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้วการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับในจำนวนภาษีเดียวกันอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน การประเมินเบี้ยปรับนี้จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8695/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากใช้สิทธิเลือกตั้งซ้ำซ้อนและไม่แจ้งเหตุไม่ใช้สิทธิ
ผู้ร้องแจ้งย้ายตนเองเข้าไปมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดยโสธรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจังหวัดยโสธร มิใช่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดอีกต่อไป การที่ผู้ร้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยอ้างว่ามีรายชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด จึงเป็นการมิชอบ นอกจากนี้เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธรประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ร้องสามารถแจ้งเหตุที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แต่ผู้ร้องหาได้ปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดไม่ ผู้ร้องจึงตกเป็นผู้เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มซ้ำซ้อน: ห้ามเรียกเก็บทั้งมาตรา 89(4) และ (7) พร้อมกัน
โจทก์แสดงภาษีซื้อในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ตรงต่อความจริงอันเป็นการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องและเป็นการแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์จะต้องเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) อยู่ด้วยในตัว เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เรียกเบี้ยปรับได้ 2 เท่า แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งหมายจะให้ปรับสูงขึ้นกว่าการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องในกรณีอื่นดังนั้น จึงเรียกเบี้ยปรับสูงสุดเพียง 2 เท่าของจำนวนภาษีในใบกำกับภาษีปลอมตามมาตรา 89(7) เท่านั้น หาอาจเรียกเบี้ยปรับได้ทั้งตามมาตรา 89(4) และ (7) รวม 3 เท่าอันเป็นการเรียกเบี้ยปรับซ้ำซ้อนกันได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันต้องขังซ้ำซ้อนกรณีคดีอาญาเดิมถูกยกฟ้อง ศาลต้องนับวันต้องขังตั้งแต่ต้น
จำเลยต้องขังคดีนี้นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2539 แม้คำพิพากษาคดีนี้จะให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาก่อน แต่เมื่อระหว่างพิจารณาจำเลยต้องขังคดีนี้ซ้ำซ้อนกับ คดีอาญาก่อน และต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในคดีก่อน ต้องถือว่าจำเลยต้องขังคดีนี้ตลอดมาตั้งแต่ต้นจึงต้องหักวันต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกาที่ซ้ำซ้อนให้จำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งซ้ำซ้อนหลังศาลพิพากษายกฟ้อง ไม่มีเหตุผล ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์หรือตัวแทนโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์คืนเอกสารดังกล่าวแก่จำเลย หากไม่คืนขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งทำลายเอกสารดังกล่าวโดยถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ซึ่งหากพิจารณาได้ความตามคำให้การจำเลยดังกล่าว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลยย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาอยู่แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเอกสารหรือทำลายเอกสารดังกล่าวอีก จึงชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย