คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฌาปนกิจสงเคราะห์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์: การตัดสิทธิสมาชิกกรณีครอบครัวไม่ได้อยู่ด้วยกันและการแจ้งเปลี่ยนแปลงสถานภาพ
ระเบียบข้อ 4 ของสมาคมจำเลยมีข้อกำหนดที่เป็นสาระสำคัญประกอบกันสองประการ คือ ต้องเป็นกรณีที่ครอบครัวสมาชิกมีการหย่าร้างกันและจะต้องไม่ได้อยู่ด้วยกัน โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น หากเข้าเงื่อนไขทั้งสองประการนี้สมาชิกจึงมีหน้าที่ต้องไปแจ้งให้คณะกรรมการของจำเลยทราบ หากไม่แจ้งและมิได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกใหม่ จึงจะถือว่าขาดสิทธิจากการเป็นสมาชิก
โจทก์กับ ผ. สามีของโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เพียงแต่ ผ. เจ็บป่วยจึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของ ผ. อีกแห่งหนึ่ง กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กับ ผ. เป็นครอบครัวสมาชิกที่หย่าร้างกันและไม่ได้อยู่ด้วยกัน อันจะเข้าเงื่อนไขตามระเบียบของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะตัดชื่อ ผ. ออกจากการเป็นสมาชิกของจำเลยและให้โจทก์ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของจำเลยใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากเงินสงเคราะห์สมาชิก ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกให้ช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งกันและกันเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย หาได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางการค้าหรือแสวงหากำไรแต่อย่างใดไม่ ทั้งพระราชบัญญัตินี้ยังมีลักษณะในการควบคุมการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และมีบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย การที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯร่วมกันหักเงินร้อยละ 4 จากเงินสงเคราะห์ที่สมาคมเรียกเก็บจากสมาชิกเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตาย ในแต่ละครั้งแล้วนำมาจัดสรรแบ่งกันเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เงินส่วนนั้นควรเป็นประโยชน์แก่ญาติของสมาชิกที่ถึงแก่ความตาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 หาได้รู้สำนึกถึงความผิดของตนไม่โดยให้ถ้อยคำแก่พนักงานคุมประพฤติว่าไม่ประสงค์จะชดใช้เงินคืนแก่สมาคม พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง: การหลอกลวงเพื่อรับเงินสงเคราะห์ฌาปนกิจสงเคราะห์ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงหากไม่ได้ทรัพย์สินโดยตรง
++ เรื่อง ฉ้อโกง
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 143 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต: กิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เข้าข่ายประกันชีวิต จำเลยมีความผิด
การที่สมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันได้เปิดกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยบริษัทนฤมิตธนาคม จำกัดเป็นผู้ดำเนินงานแทน โดยมีข้อตกลงว่าสมาคมจะใช้เงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อบุคคลผู้เป็นสมาชิกถึงแก่กรรม ตามจำนวนและเงื่อนไขการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ในระเบียบการฌาปนกิจสงเคราะห์ ส่วนสมาชิกก็ผูกพันต้องส่งเงินสงเคราะห์ให้แก่สมาคมตามระเบียบ การดังกล่าวนั้น เช่นนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาประกันชีวิต อันถือได้ว่ากิจการของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันดังกล่าวเป็นการรับประกันชีวิตโดยสมาคมกระทำการเป็นผู้รับประกันภัยการดำเนินกิจการดังกล่าวนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรี มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12, 74และเมื่อจำเลยกระทำการแนะนำชักชวนเพื่อให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกซึ่งก็เท่ากับเป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับสมาคมดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามมาตรา 72, 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต: ฌาปนกิจสงเคราะห์เข้าข่ายประกันชีวิต จำเลยมีความผิด
การที่สมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันได้เปิดกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยบริษัทนฤมิตธนาคม จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานแทน โดยมีข้อตกลงว่าสมาคมจะใช้เงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อบุคคลผู้เป็นสมาชิกถึงแก่กรรม ตามจำนวนและเงื่อนไขการจ่ายเงินที่กำหนดไว้ในระเบียบการฌาปนกิจสงเคราะห์ ส่วนสมาชิกก็ผูกพันต้องส่งเงินสงเคราะห์ให้แก่สมาคมตามระเบียบ การดังกล่าวนั้น เช่นนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นสัญญาประกันชีวิต อันถือได้ว่ากิจการของสมาคมพุทธศาสนิกชนวัดไผ่ตันดังกล่าวเป็นการรับประกันชีวิตโดยสมาคมกระทำการเป็นผู้รับประกันภัยการดำเนินกิจการดังกล่าวนี้ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตจากรัฐมนตรี มิฉะนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12, 74 และเมื่อจำเลยกระทำการแนะนำชักชวนเพื่อให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกซึ่งก็เท่ากับเป็นการกระทำเพื่อให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับสมาคมดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนและมีโทษตามมาตรา 72, 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11001/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ต้องมีเจตนาให้เป็นสมาชิกจริง และอาจเข้าข่ายหลอกลวงหากไม่มีเจตนาช่วยเหลือ
การที่จะถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 34 ได้นั้น ผู้กระทำจะต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการผู้อื่นโดยเจตนาให้ผู้อื่นนั้นเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ หากเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็เป็นความผิดตามมาตรา 33 แต่หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ผู้กระทำต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นด้วยจึงจะเป็นความผิดตามมาตรา 34 ส่วนความผิดตามมาตรา 61 เป็นบทกำหนดโทษสำหรับผู้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน เพื่อควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 (ข) ว่า จำเลยทั้งแปดโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ พูดชักชวน ชี้ช่อง จัดการให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกในชมรมดังกล่าว และประกาศทางใบปลิวว่า ได้ก่อตั้งชมรมโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์นำเงินไปช่วยเหลือค่าจัดการศพสมาชิกที่ตาย หากประชาชนผู้ใดประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเสียเงินค่าสมัครคนละ 290 บาท ค่าจัดการศพให้แก่สมาชิกที่ตายทุกเดือน เดือนละ 480 บาท ผ่านทางจำเลยทั้งแปดกับพวก และหากสมาชิกตายเมื่อครบกำหนด 3 เดือน ได้รับเงิน 30,000 บาท หากครบ 6 เดือน ได้รับเงิน 50,000 บาท โดยจะไม่โกงหรือเลิกกิจการ แต่ความจริงจำเลยทั้งแปดกับพวกมิได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และไม่มีเจตนานำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกที่ตาย และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ประชาชนหลงเชื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกและจ่ายเงินค่าสมัครและเงินค่าจัดการศพสมาชิกที่ตายให้แก่จำเลยทั้งแปดกับพวกไป ฟ้องของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยทั้งแปดไม่มีเจตนาชักชวนผู้เสียหายเข้าเป็นสมาชิกกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เพราะไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกอื่นที่ถึงแก่ความตาย และมิได้มีเจตนาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามบทนิยามของกฎหมายแต่อย่างใด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 61 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพในความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนและมิได้ยกขึ้นอ้างชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13876/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน และเจตนาฉ้อโกง ทำให้ไม่มีความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์
พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 4 ได้บัญญัตินิยาม คำว่า "การฌาปนกิจสงเคราะห์" หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่ตกลงเข้ากันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรเพื่อแบ่งปันกัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการฌาปนกิจสงเคราะห์คือการตกลงเข้ากันของบุคคลหลายคนที่จะดำเนินกิจการดังกล่าวเสียก่อน จากนั้นกฎหมายจึงบัญญัติให้กิจการดังกล่าวต้องดำเนินการจดทะเบียนในรูปของฌาปนกิจสงเคราะห์ โดยมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนตามมาตรา 50 เพื่อเป็นการควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ความว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยเก็บค่าสมาชิกคนละ 2,000 บาท และเก็บเงินค่าช่วยเหลือจัดการศพจากสมาชิกศพละ 20 บาท โดยจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า "ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง" โดยมิได้จดทะเบียนเป็นสมาคมหรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย กับบรรยายฟ้องในข้อ ข. สรุปว่าจำเลยทั้งสองได้แสดงต่อประชาชนด้วยคำพูดว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันก่อตั้งฌาปนกิจสงเคราะห์ใช้ชื่อว่า ฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านท่าช้าง โดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งหรือก่อตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ดังกล่าวขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง และโดยการหลอกลวงนั้นจำเลยทั้งสองจึงได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหายหลายรายที่หลงเชื่อ ชำระเงินเพื่อเป็นค่าสมาชิกและค่าจัดการศพ จากการบรรยายฟ้องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้ข้ออ้างดังกล่าวหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ เพื่อให้ได้เงินที่ประชาชนจ่ายให้แก่จำเลยทั้งสองในรูปแบบที่เรียกว่าค่าสมัครสมาชิกและค่าจัดการศพเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมิได้มีเจตนาที่จะดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์อันเป็นองค์ประกอบความผิดข้อหาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยไม่ได้จดทะเบียนหรือขึ้นทะเบียนตามกฎหมายตามคำขอให้ลงโทษของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517 มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนสาบสูญมีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกับการตาย จ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ได้
ป.พ.พ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ และเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ มาตรา 4 ใน พ.ร.บ.นี้การฌาปนกิจสงเคราะห์ หมายความว่า กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน จะเห็นได้ว่าเมื่อ ห. ถูกศาลสั่งให้เป็นคบสาบสูญมีผลเท่ากับ ห. ถึงแก่ความตาย และเมื่อ ห. เป็นสมาชิกของจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ห. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์แก่ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ มีผลเช่นเดียวกับการตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 62 บัญญัติว่าบุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61 ดังนั้น ผลแห่งความตายเพราะสาบสูญจึงมีเช่นเดียวกับการตายธรรมดาคือสิ้นสภาพบุคคลและเกิดผลตามมาในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่ทายาท รวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดที่ผู้ตายจะต้องได้รับนับแต่มีคำสั่งศาลแสดงว่าเป็นคนสาบสูญ ทั้งตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 4 การฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน ดังนั้น การที่ ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญจึงมีผลเท่ากับ ล. ถึงแก่ความตายเมื่อ ล. เป็นสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแม้ไม่มีศพที่จะต้องจัดการก็ต้องจ่ายเงินค่าจัดการศพ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นคนสาบสูญตามคำสั่งศาลมีผลเช่นเดียวกับการตาย ทำให้สิทธิในเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เกิดขึ้น
ล. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญมีผลเท่ากับ ล.ถึงแก่ความตาย และเมื่อ ล.เป็นสมาชิกของจำเลย ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัว โดยโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ล. เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว ข้ออ้างของจำเลยว่า หากไร้ซึ่งศพที่จะต้องจัดการแล้วจำเลยไม่อาจจ่ายเงินค่าจัดการศพได้นั้น รับฟังไม่ได้ ดังนั้น การเป็นคนสาบสูญตามคำสั่งศาลเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายเงินฌาปนกิจสงเคราะห์