พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6411/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติโดยประกาศคณะปฏิวัติและการบังคับใช้กฎหมายต่อคนญวนอพยพ
เมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้สำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งอันถือเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่13 ธันวาคม 2515 มิใช่คำสั่งที่มีผลทำให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาแต่เป็นเรื่องของการให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลบางจำพวก แม้จะมีผลย้อนหลังกระทบถึงสิทธิของจำเลยและประชาชน ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ เมื่อจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489โดยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพ จำเลยจึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว จำเลยมิใช่บุคคลที่มีสัญชาติไทยแต่เป็นคนญวนอพยพซึ่งต้องอยู่ในเขตควบคุมจังหวัดหนองคายตามประกาศและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ และการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แม้จำเลยมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อ
แม้จำเลยเพิ่งมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานกิจการญวณอพยพจังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังจากได้มีการจดแจ้งชื่อโจทก์ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้วก็ตาม แต่ฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีสาระสำคัญขอให้จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีคนปัจจุบันถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ เพราะลงชื่อไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยจะมิใช่ผู้จดแจ้งชื่อโจทก์ไว้ในทะเบียน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่เคยไปติดต่อจำเลยให้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพก่อนฟ้องโดยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศ ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2510 ต่อมา พ.ศ. 2512 พ. และโจทก์ที่ 1 จึงได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่ใช่บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1(1) (2) และ(3) ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
การที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่เคยไปติดต่อจำเลยให้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพก่อนฟ้องโดยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
พ. คนสัญชาติไทยอยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ที่ 1คนสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศ ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ให้กำเนิดโจทก์ที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2510 ต่อมา พ.ศ. 2512 พ. และโจทก์ที่ 1 จึงได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ไม่ใช่บุคคลที่ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา ไม่ใช่บุคคลตามข้อ 1(1) (2) และ(3) ตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืนยันสัญชาติไทยและการถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ กรณีความสมัครใจและขาดหลักฐานแจ้งถอนชื่อ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย จำเลยอ้างว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ แล้วเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งเก้า ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ โจทก์ทั้งเก้า ได้บอกกล่าวให้จำเลยถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้ว แต่จำเลยยังยืนยันว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย ให้จำเลยถอนชื่อโจทก์ทั้งเก้า ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้า ขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจและโจทก์ทั้งเก้า ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งแสดงว่าโจทก์ทั้งเก้า ได้ไปแจ้งขอให้ถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งเก้า โจทก์ทั้งเก้าไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจ ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีสัญชาติ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย จำเลยอ้างว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ แล้วเพิ่มชื่อโจทก์ทั้งเก้า ลงในทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ โจทก์ทั้งเก้า ได้บอกกล่าวให้จำเลยถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพแล้ว แต่จำเลยยังยืนยันว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนญวนอพยพ ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์ทั้งเก้า เป็นคนสัญชาติไทย ให้จำเลยถอนชื่อโจทก์ทั้งเก้า ออกจากทะเบียนบ้านคนญวนอพยพ แต่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งเก้า ขอทำบัตรประจำตัวญวนอพยพด้วยความสมัครใจและโจทก์ทั้งเก้า ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดซึ่งแสดงว่าโจทก์ทั้งเก้า ได้ไปแจ้งขอให้ถอนชื่อออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพจริง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งเก้า โจทก์ทั้งเก้าไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยของบุตรจากมารดาชาวญวนอพยพ และบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จะเกิดในราชอาณาจักรไทยและได้สัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ามีบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิด โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน และเป็นคนญวนอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 ดังนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิสูจน์สถานะบุคคล การถอนสัญชาติ และผลกระทบต่อผู้เกิดจากมารดาคนญวนอพยพ
ฟ้องอ้างว่าโจทก์มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแล้วถูกทางราชการตำรวจภูธรอำเภอท่าอุเทนซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยบังคับให้โจทก์ทำบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ดังนี้เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในฐานะเป็นคนมีสัญชาติไทยตามกฎหมายแพ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) เกิดจากมารดาคือโจทก์ที่ 1 เป็นคนญวนอพยพได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว ส่วนบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสฉะนั้นโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 7 จึงถูกถอนสัญชาติไทยแล้วตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1