พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากการเพิกเฉยต่อคำสั่งศาล และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ฎีกาคัดค้านคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ อ้างเหตุว่าไม่จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้นอันจะเป็นการทิ้งฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แม้จะเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพากษาตามคำฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้งและคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, อายุความค่าทดแทนเวนคืน, การชำระหนี้โดยไม่มีมูล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 180,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 กันยายน 2538ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องคือวันที่ 14มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์เวนคืนที่ดินของจำเลยเป็นเนื้อที่แน่นอน 5 ตารางวา แต่ความจริงถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา อันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะนั้น การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 5 ตารางวา ตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10กำหนดแต่เมื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเขตทางพิเศษแล้วปรากฏว่าถูกเวนคืนเพียง 2 ตารางวา จำเลยก็ต้องคืนเงินค่าทดแทนที่ดินเนื้อที่ 3 ตารางวาซึ่งเป็นส่วนที่รับไว้โดยที่ดินไม่ได้ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงิน เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยภายในอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
การฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ชำระเกินกว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อตามสัญญาซื้อขายระบุว่าการจ่ายเงินค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นหรือการคืนเงินค่าที่ดินที่ลดลงให้กระทำภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ทำการรังวัดแบ่งแยกแล้วเสร็จ สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มิถุนายน2538 แจ้งผลการรังวัดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทราบ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายได้ หากฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เบี้ยปรับคือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้า เบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ทั้งมาตรา 380 วรรคสอง ก็ให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไปโดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วยในฐานที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหายเมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ราคาที่โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นพร้อมเบี้ยปรับแสดงให้เห็นถึงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่กำหนดให้จริง ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในทำนองว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ให้ตนชำระค่าเสียหายเป็นค่าซื้อทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ชำระเงินประกันสัญญา และชำระค่าปรับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลซึ่งเป็นฎีกาข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาจากครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่ง จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 3 ปี4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง,67 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะใช้ถ้อยคำว่าให้ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ก็มีผลเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้กำหนดโทษถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6880/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสืบสวนนอกเขตท้องที่และการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และมาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่าเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญานอกเขตท้องที่ของตนได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนแล้วพบการกระทำความผิดในลักษณะซึ่งหน้า เจ้าพนักงานตำรวจก็มีสิทธิจับผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าได้แม้อยู่นอกเขตท้องที่ของตน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปีฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโท น.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้นตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานจำหน่ายเฮโรอีนจำคุก 5 ปีฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี จำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จะวินิจฉัยว่าการค้นในที่รโหฐานของร้อยตำรวจโท น.กับพวกได้กระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตกหรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ลงมือค้นตั้งแต่เวลาใด การฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาพิพาทเกินเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช.เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว โจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000 บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6300/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะบริวารและสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีบังคับคดี
คดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ที่ดินพิพาทมีราคา102,000บาทและโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยปีละ5,000บาทซึ่งโจทก์และจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสองเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยและมีคำสั่งให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสามที่ผู้ร้องทั้งสองฎีกาว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทได้เพราะผู้ร้องทั้งสองมิใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าผู้ร้องทั้งสองจะยกข้อกฎหมายมาอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองมีชื่อระบุในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิครอบครองร่วมกับจำเลยในที่ดินพิพาทจำเลยไม่่อาจต่อสู้คดีแทนผู้ร้องทั้งสองได้และโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องทั้งสองเป็นจำเลยจึงไม่อาจบังคับขับไล่ผู้ร้องทั้งสองได้นั้นก็เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกำหนดเขตป่าสงวน, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, และการไม่วินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติรายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณาคำให้การของจำเลยจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226 โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ส่วนโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค3แต่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใดฎีกาของโจทก์ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นสัญญาประกันตัว เนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยแล้ว
การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาต่อโจทก์หรือไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นการวินิจยข้อเท็จจริงข้ออ้างของจำเลยในฎีกาที่ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เป็นการเถียงข้อเท็จจริงมิใช่การอ้างข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลอุทธรณ์ยังมิได้สั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริง: ดุลพินิจผู้พิพากษาและการปฏิบัติตามขั้นตอนวิธี
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรังรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรองดังนี้แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกาผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้