พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม ห้ามฎีกาในประเด็นที่รับสารภาพในชั้นศาล และการใช้ดุลพินิจลงโทษคดีพนัน
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และยอดเงินทุนหมุนเวียน 4,480,100 บาท เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นพนันและเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการพิจารณาคำแก้อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระตามฟ้องแก่โจทก์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 93,600 บาท โจทก์อุทธรณ์ จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระลดลง หรือยกฟ้องโจทก์ เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาชั้นต้น จำเลยต้องกระทำโดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมฎีกาได้ว่าศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้ดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง, ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกกรอบคำพิพากษาชั้นต้น, และผลของการไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงิน 177,561.50 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงิน 34,028 บาท แก่โจทก์ โจทก์ฎีกาขอให้ชำระเงินตามฟ้อง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 93,600 บาท แก่โจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์หยิบยกคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยมาพิจารณาแล้วพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระแก่โจทก์เพียง 34,028 บาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว เท่ากับไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ลดลงจาก 93,600 บาท หรือยกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าว เท่ากับไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ขอให้หักจำนวนเงินที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ลดลงจาก 93,600 บาท หรือยกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 จำเลยจะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 34,028 บาท ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8732/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามทุนทรัพย์ และการใช้สัญญากู้เงินเป็นหลักฐาน แม้ระบุสิทธิฟ้องคดีอาญา
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาข้อแรกว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 เป็นนิติกรรมอำพรางการร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยนั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ซึ่งพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โดยฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยข้อนี้มาเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนจากสัญญากู้เงินที่เป็นคดีแพ่งให้กลายเป็นคดีอาญา จึงเป็นเอกสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย โจทก์ไม่อาจนำเอกสารหมาย จ.1 มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยได้นั้น เห็นว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ความยินยอมหรือการตกลงกัน ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 จะมีข้อความระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยก็ตาม ก็มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
ที่จำเลยฎีกาข้อต่อมาว่า สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย ซึ่งข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นการบิดเบือนจากสัญญากู้เงินที่เป็นคดีแพ่งให้กลายเป็นคดีอาญา จึงเป็นเอกสารที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย โจทก์ไม่อาจนำเอกสารหมาย จ.1 มาเป็นหลักฐานดำเนินคดีแก่จำเลยได้นั้น เห็นว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ความยินยอมหรือการตกลงกัน ดังนั้น แม้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 จะมีข้อความระบุให้โจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยก็ตาม ก็มิใช่เหตุตามกฎหมายที่จะทำให้สัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ดังกล่าวไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ป.วิ.พ. กรณีคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด
คำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ของบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรคคสี่ หมายถึง หากมีกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แล้ว คำสั่งใด ๆ ของศาลที่เกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง" ในบทบัญญัติวรรคสี่นี้ทั้งสิ้น การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยรับสารภาพ-แก้โทษเล็กน้อย-ไม่อุทธรณ์พยานหลักฐาน-ฎีกาข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ เมื่อจำเลยฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและบทกำหนดโทษกับแก้โทษปรับที่ลงแก่จำเลย ก็เป็นเพียงปรับวรรคของบทความผิดและบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและบทกำหนดโทษกับแก้โทษปรับที่ลงแก่จำเลย ก็เป็นเพียงปรับวรรคของบทความผิดและบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248: การยกข้อเท็จจริงใหม่เพื่อวินิจฉัยอายุความ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ตอนท้ายฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ที่โจทก์ขายแบตเตอรี่แก่จำเลย สินค้าเป็นประเภทใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไปและสามารถส่งให้แก่จำเลยได้เป็นคราว ๆ ไปไม่เกี่ยวข้องกันโดยในใบส่งของโจทก์ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ 90 วัน นับแต่วันส่งสินค้า จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนต้น เป็นฎีกาที่ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับลายมือชื่อในสัญญากู้
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 จึงเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยซึ่งต้องตีความและวินิจฉัยไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง ผลเท่ากับเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อสมถวิล บุญภักดี ผู้กู้ในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 เป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือชื่อนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลยคือ ถวิล บุญภักดี ก็ตาม แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อสมถวิล บุญภักดี ผู้กู้ในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ. 2 เป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือชื่อนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลยคือ ถวิล บุญภักดี ก็ตาม แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงหาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง คดีหมั้นหมาย ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และการโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ร่วมกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหาดังกล่าวให้ เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาเพียงข้อเดียวว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน ยังมีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และประเด็นการฎีกาที่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามข้อตกลง หากจดทะเบียนไม่ได้ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 200,000 บาท เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม ภาระจำยอมซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์อ้างว่าตกลงกับจำเลยเพื่อให้ได้มาดังกล่าวย่อมอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ถือได้ว่าเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งมีทุนทรัพย์ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอม หากจดทะเบียนไม่ได้ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 108,000 บาท คดีจึงมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยไม่เกิน 200,000 บาท
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทำถนนในทางพิพาท โดยจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจำนวนน้อยกว่า 100,000 บาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ถมดินในทางพิพาทโดยจำเลยจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมให้จริงหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทุกข้อจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์กับจำเลย
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทำถนนในทางพิพาท โดยจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจำนวนน้อยกว่า 100,000 บาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ถมดินในทางพิพาทโดยจำเลยจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมให้จริงหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทุกข้อจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์กับจำเลย