คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8208/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน ริบของกลางได้ – ฎีกาห้ามเรื่องข้อกฎหมายใหม่ & ข้อเท็จจริงที่ไม่เคยว่ากล่าว
การที่จำเลยดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยมิได้รับอนุญาต เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2521 มาตรา 6 ทวิ,20 ทวิ ส่วนการที่จำเลยเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 มาตรา 6,14,48 การกระทำของจำเลยแยกการกระทำออกจากกันได้และมีเจตนาในการกระทำผิดคนละอย่างด้วยทั้งโจทก์ได้บรรยายฟ้องข้อหาการดำเนินกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงโดยจัดตั้งเป็นสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดน่ากลัวอันตรายเพื่อจำหน่ายไว้คนละข้อกัน การกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดคนละกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานยึดได้ตามฟ้องเป็นเพียงทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์นำชี้ถึงองค์ประกอบของการกระทำผิดมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิดหรือได้กระทำผิด จึงริบไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพและยอมรับว่าทรัพย์ของกลางที่โจทก์กล่าวในฟ้องจำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ทรัพย์ของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด ข้อฎีกาจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องข้อเท็จจริง: อาณาเขตที่ดิน ค่าเช่า และการทำแผนที่พิพาท เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่อุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์เรื่องอาณาเขตที่ดินโจทก์ รัศมีถนนและบ้านจำเลยอยู่เขตทางหลวงเพียงใดและค่าเสียหายไม่ควรเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ล้วนเป็นปัญหาข้อเท็จจริง การที่จะสั่งให้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่หรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้มีการทำแผนที่พิพาทใหม่ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องใหม่-หนี้ร่วม: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือการต่อสู้เดิม และภริยาต้องรับผิดชอบหนี้จากการงานร่วมกับสามี
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงานโดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามประเด็นใหม่ & สิทธิยึดหน่วงไม่ขาดอายุความเมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ผิดสัญญาอย่างไรจำเลยมิได้กล่าวไว้ คำให้การของจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือไว้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกา
โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นผู้จะซื้อตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับบิดาจำเลย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ เพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียนก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่พิพาทไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนั้นการที่เจ้ามรดกตายมาแล้วเกิน 1 ปี ย่อมไม่ตัดสิทธิโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงที่จะใช้สิทธิบังคับให้จำเลยในฐานะผู้รับพินัยกรรมโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 และ มาตรา 241

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้ & การฟ้องที่ไม่สมบูรณ์: ฎีกาห้ามในข้อเท็จจริง & อำนาจสอบสวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ริบของกลางทั้งหมดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนของกลางบางส่วนแก่จำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยได้ทราบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้ว ดังนี้โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้แม้โจทก์มิได้แนบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้องก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) เขตควบคุมมีอาณาบริเวณเพียงใด จำเลยกระทำผิดภายในเขตควบคุมหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้
อำนาจของพนักงานสอบสวนจะมีประการใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายของทางราชการที่ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้น ๆ ไว้ ดังนั้นการที่จะฟังว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดมีอำนาจในการสอบสวนหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1544/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามฟ้องซ้ำคดีเดิมที่ถึงที่สุดแล้ว แม้มีการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงบางส่วน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์จำเลยเป็นความกันเกี่ยวกับการรังวัดแบ่งที่พิพาทตามคำพิพากษา จนศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์จัดการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว โจทก์จะมาฟ้องคดีคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาซึ่งได้เคยพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528-1530/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลทั้งสองชั้นพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีเช็ค
สำนวนที่ 2 - 3 ศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงเพื่อนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ แล้วจึงพิพากษาว่าไม่ใช่ผู้เสียหาย ยกฟ้อง ย่อมเป็นการยกฟ้องทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงรวมมากับข้อกฎหมายว่าเป็นผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องอีก จึงถือได้ว่าศาลทั้งสองยกฟ้องในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ส่วนสำนวนที่ 1 แม้ศาลล่างยกฟ้องเพราะเหตุที่ฟ้องไม่ปรากฏชื่อผู้เรียงอีกเหตุหนึ่งด้วย ก็ต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับหลักทรัพย์ประกันตัว ศาลฎีกาห้ามฎีกาเนื่องจากเป็นการฟังข้อเท็จจริง
จำเลยมีที่ดินว่างเปล่ามาอ้างในคำร้องขอประกันตัวจำเลยต่อศาลว่า มีสวนผลไม้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังต้องกันว่าจำเลยแจ้งความเท็จ จำคุกจำเลย 3 เดือน ดังนี้เป็นการฟังข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้าม กรณีจำเลยไม่โต้แย้งประเด็นความประมาทในชั้นอุทธรณ์แล้วมาฎีกาใหม่ โดยอ้างคำพิพากษาคดีอาญา
การพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 นั้น เป็นกรณีที่ศาลในคดีส่วนแพ่งจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นที่คู่ความยังคงโต้แย้งกันอยู่และเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลในคดีส่วนอาญาจะต้องวินิจฉัย ทั้งนี้เพื่อให้การรับฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อคดีในส่วนอาญาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนกระทำการโดยประมาท คดีส่วนแพ่งจึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามและพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามสัดส่วนแห่งความประมาทของตน การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหาย โดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้มีส่วนประมาทด้วยแต่อย่างใด แม้ต่อมาความจะปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในคดีส่วนอาญาได้พิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจจะฎีกาได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ทั้งเป็นการต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ด้วย
of 2