พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานคำนวณค่าจ้าง รวมถึงเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างกันไว้ 4 ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างติดต่อกัน สัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ไว้เป็นเงินบาท แต่สัญญาฉบับแรกมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่งจะมีขึ้นในฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 4 ความว่า เงินเดือนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ต้องมีการปรับยอดประจำเดือนทุกเดือนในวันที่ 25 ของแต่ละเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทและสกุลเหรียญสหรัฐ โดยให้นำเงินเดือนของโจทก์ร้อยละ 50 ซึ่งถือว่ามีอัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐมาปรับยอดตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลาง เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์จะได้รับในแต่ละเดือนจึงไม่ครอบคลุมถึงเงินเดือนของโจทก์ทั้งหมด และมีจำนวนไม่แน่นอนผันแปรไปตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางในวันที่มีการปรับยอด เดือนใดที่อัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐโจทก์ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติ ส่วนเงินค่าเช่าบ้านแม้จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่จำเลยก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่เป็นชาวต่างประเทศต้องเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่พักอาศัยไปจากที่เคยอยู่เดิมเช่นเดียวกับโจทก์ทุกคน อันเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างที่เป็นชาวต่างประเทศเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติเช่นกัน และการจ่ายเงินทั้งสองประเภทดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค้าจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานการคำนวณค่าจ้าง กรณีลูกจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย