คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานะทางกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารรื้อถอน: จำแนกฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำสั่งที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารเป็นคำสั่งของนายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 42 ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะแยกต่างหากจากการสั่งในฐานะเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารแล้ว โจทก์ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 52 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้
อาคารพิพาทเป็นอาคารพาณิชย์สร้างเสร็จแล้ว ด้านหลังอาคารเว้นช่องว่างไม่ถึง 2 เมตร ตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และตามที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นกรณีที่มีการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้นตราบใดยังไม่แก้ไขให้ถูกต้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามมาตรา 40, 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ดังนั้น ที่นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนด้านหลังอาคารพิพาท 2 คูหาให้มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: ฟ้องแทนบริษัทต้องมีฐานะทางกฎหมายที่ชัดเจน
โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 2 มีสิทธิเพียงควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจำเลยทั้งสองเพียงบางประการ ไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเอง เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดระบุว่ากรณีมีการละเมิดและผิดสัญญาต่อบริษัท แม้บริษัทจะไม่ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลภายนอก โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ที่ 1 ก็หามีสิทธินำคดีมาฟ้องเองได้ไม่ ส่วนคำฟ้องที่เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 7 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 2 ก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากปัญหาว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะถูกโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องร้องได้หรือไม่เสียก่อน แม้คำฟ้องที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจะอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่บังคับตามสัญญา ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย แต่ตามคำขอของโจทก์ก็มิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ในส่วนนี้โดยตรง กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันไม่เปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้ตกลงชำระหนี้แทน
จำเลยที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้าง คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้น แม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่า จำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง และไม่ทำให้จำเลยที่ 1 กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเป็นผู้ปกครอง: ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและฐานะทางกฎหมายของผู้เยาว์
ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของ ก. กับ ส. ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน มิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ก. ผู้เป็นบิดา ผู้ร้องเป็นน้องของบิดาของ ก. จึงมิใช่ญาติของผู้เยาว์ทั้งสองตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 ไม่มีสิทธิ์ร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาของผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบริวารในคดีขับไล่: แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเปลี่ยนแปลง แต่ฐานะบริวารยังคงมีผลผูกพัน
ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยขายฝากกับโจทก์ และศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในคดีนี้มาแล้วว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย แม้ผู้ร้องจะเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องสอดซึ่งมรณะในคดีที่ผู้ร้องสอดฟ้องจำเลย และต่อมาศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวให้ลงชื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในที่ดินที่พิพาทกันในคดีนี้ภายหลังศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้แล้วก็ตาม ก็หามีผลเปลี่ยนแปลงฐานะในคดีของผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงผู้รับมรดกความและผู้จัดการมรดกของผู้ร้องสอดผู้มรณะในคดีนั้นให้พ้นจากฐานะบริวารจำเลยในคดีนี้ไม่ เพราะผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความโดยตรงและประเด็นข้อพิพาทก็ต่างกันกับคดีนี้ จึงยังต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยที่ไม่สามารถแสดงอำนาจพิเศษให้ศาลเห็นได้ดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมาแล้ว คำพิพากษาคดีนี้จึงบังคับถึงผู้ร้องด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในฐานะทางกฎหมาย vs. คุณสมบัติบุคคล: สัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายที่ดินคืนแก่โจทก์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120 อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดฐานะทางกฎหมาย vs. คุณสมบัติบุคคล: สัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายที่ดินคืนแก่โจทก์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120 อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสำคัญผิดในฐานะทางกฎหมายไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำไว้กับโจทก์ จำเลยต่อสู้มีประเด็นเพียงว่าเหตุที่จำเลยทั้งสามยอมตกลงทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์ไว้นั้น เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลงสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์ โดยจำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในกองมรดกนี้ด้วย เมื่อจำเลยทราบความจริงว่าโจทก์ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยจึงได้บอกล้างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ต่อโจทก์หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์นำมาฟ้องจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ดังนี้ ถึงแม้จะเป็นความจริงตามที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดถึงฐานะทางกฎหมายของโจทก์ หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้สัญญาประนีประนอมในเรื่องทรัพย์มรดกเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120, 138 ไม่ รูปคดีจึงไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสำคัญผิดในฐานะทางกฎหมายของคู่กรณี ไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำไว้กับโจทก์ จำเลยต่อสู้มีประเด็นเพียงว่า เหตุที่จำเลยทั้งสามยอมตกลงทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์ไว้นั้น เป็นเพราะจำเลยทั้งสามหลงสำคัญผิดในคุณสมบัติของโจทก์โดยจำเลยเข้าใจว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในกองมรดกนี้ด้วย เมื่อจำเลยทราบความจริง ว่าโจทก์ไม่ใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกจำเลยจึงได้บอกล้างหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ต่อโจทก์ หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์นำมาฟ้องจึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ดังนี้ ถึงแม้จะเป็นความจริงตามที่จำเลยอ้าง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดถึงฐานะทางกฎหมายของโจทก์ หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ซึ่งตามปกติย่อมนับว่าเป็นสารสำคัญที่ทำให้สัญญาประนีประนอมในเรื่องทรัพย์มรดกเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120,138 ไม่ รูปคดีจึงไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมาย การรับรองบุตร และฐานะทางกฎหมายของบิดา-บุตร
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่า เจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)
of 2