คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฐานะทางการเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษคดียาเสพติดจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์และฐานะทางการเงินของผู้กระทำผิด
หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วย 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 10 เม็ด และคีตามีน 1 ขวด เป็นของกลางที่บริเวณหน้าห้อง 237/36 อาคารศรีวรา และนำจำเลยไปที่สถานีตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบกุญแจห้องพัก 1 ดอก ที่ตัวจำเลย จำเลยแจ้งว่าเป็นกุญแจห้องพักที่ห้อง 403 เจริญอพาร์ทเมนท์ และที่ห้องดังกล่าวยังมี 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนและคีตามีนอีกจำนวนหนึ่ง เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยไปที่ห้องพักนั้น และตรวจพบ 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 210 เม็ด และคีตามีนอีกจำนวน 15 ขวด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถา: การขยายเวลาสาบานตัว & การพิสูจน์ฐานะทางการเงิน
คำร้องขอขยายระยะเวลาสาบานตัวในการดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยอ้างแต่เพียงว่า จำเลยไม่สามารถมาสาบานพร้อมขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา จึงขอขยายระยะเวลาในการสาบานตัวออกไป 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่สามารถมาสาบานตัวได้ กรณีถือได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาให้ได้ ดังนั้น คำร้องขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย โดยจำเลยไม่ได้สาบานตัวให้คำชี้แจงว่า จำเลยไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาล คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา: การพิจารณาความยากจนและฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคท้าย เพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5), 246 และ 247โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลยให้
แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้องหลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนองและมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการมีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา ถ้าจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาต และการพิจารณาฐานะทางการเงินของผู้ขอ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใน ชั้นฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกาภายใน กำหนด เจ็ดวัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายเพราะเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบกรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเสียเอง จึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247 โดยให้เพิกถอนคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งยกคำร้องดังกล่าว
จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งพอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้น อันเป็นเรื่องอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา เพราะจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ดำเนินคดี อย่างคนอนาถาภายในกำหนดแล้ว ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ของจำเลยให้ แม้ขณะยื่นฎีกาจำเลยจะอยู่ในฐานะลำบาก กิจการที่ดำเนินการอยู่ต้องลดสัดส่วนและต้องนำรายได้มาเป็นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งมีหนี้สินถูกฟ้อง หลายคดี ทุนทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านบาท หลักทรัพย์ถูกยึดเป็นประกันหนี้จำนอง และมีราคาลดลง และจำเลยยังมีภาระอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยยังดำเนินกิจการ มีรายได้ ตลอดจนมีทรัพย์สินอยู่ ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็สามารถเสียค่าธรรมเนียม ศาลได้ กรณีจึงยังไม่เป็นที่พอใจว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาถ้าจำเลยประสงค์จะ ดำเนินคดีในชั้นฎีกาต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระต่อศาลชั้นต้น ภายในเวลาที่ศาลฎีกากำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองฐานะทางการเงินที่มีข้อความยินดีชำระหนี้แทน ถือเป็นหนังสือค้ำประกัน
ข้อความในเอกสารซึ่งมีความหมายว่า จำเลยที่ 2และที่ 3 ขอรับรองจำเลยที่ 1 ว่ามีฐานะสมควรที่จะเป็นผู้จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้ ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทนนั้น เป็นเอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1ในอนาคตและเป็นการค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็คเพื่อประวิงหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากผู้รับทราบฐานะทางการเงินของผู้สั่งจ่าย
ขณะช. พนักงานของผู้เสียหายในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายนำยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทราบถึงฐานะการเงินของจำเลยดีว่าไม่สามารถชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้แต่ยอมรับเช็คพิพาทไว้เพื่อจะได้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเท่านั้นการสั่งจ่ายเช็คของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและเพื่อประกันหนี้ในทางแพ่งที่ต้องรับผิดไว้ก่อนกรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: พิจารณาฐานะทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยเพื่อวินิจฉัยความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักสำรวจดิน 6 กรมพัฒนาที่ดินนอกจากมีรายได้ประจำจากเงินเดือนยังประกอบกิจการค้าขายอาหารร่วมกับภรรยา บ้านของจำเลยแม้จะปลูกอยู่ในที่ดินบุคคลอื่นและรถยนต์อยู่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ทั้งบ้านและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยย่อมนำไปแสวงหาประโยชน์ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก จำเลยจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ มิได้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ในคดีล้มละลายต้องเสียเพียง 50 บาท ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) โจทก์เสียมา 200 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะทางการเงินของบริษัทกลุ่มสุราทิพย์เพียงพอชำระหนี้ แม้มีหนี้สินจำนวนมาก ศาลไม่เห็นควรให้ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทสุรา ท. จำเลยที่ 2 มีโรงงานซึ่งเป็นโรงงานหนึ่งใน 12 โรงงานของกลุ่มบริษัท ท.แม้จะฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์จำนวน25 ล้านบาทเศษ แต่เมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทสุรา ท. มีและดำเนินกิจการอยู่ โดยกลุ่มบริษัทสุรา ท. มีสิทธิทำและขายส่งสุราได้ใน 12 เขตได้วางเงินมัดจำประกันการรับผิดต่อกรมสรรพากรเป็นเงินถึง5,088 ล้านบาท เฉพาะโรงงานจำเลยที่ 2 ต้องวางมัดจำ 461 ล้านบาทเศษนับว่าจำเลยที่ 2 อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการออกเช็ค – ผู้รับรู้ฐานะทางการเงิน – การลงวันที่เช็ค
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชีพอที่จะชำระให้แก่โจทก์ได้ ทั้งจำเลยออกเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย แม้ต่อมาโจทก์จะเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายเอง โดยจำเลยยินยอมให้ลงและทำหนังสือสัญญาขายลดเช็คไว้กับโจทก์ด้วยจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3576/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ทราบฐานะลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
หนี้ที่ธนาคารฟ้องให้เจ้าหนี้รับผิดเป็นหนี้ที่เกิดจากการจัดทำกิจการที่ลูกหนี้ตัวการมอบหมายให้เจ้าหนี้เป็นตัวแทนทำสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารเพื่อสั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ลูกหนี้รับผิดได้โดยตรง แต่เมื่อได้ความว่าลูกหนี้และเจ้าหนี้เป็นธุรกิจในเครือญาติกัน ลูกหนี้หมดวงเงินสินเชื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไม่ได้ ก. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการลูกหนี้และเป็นกรรมการคนหนึ่งของเจ้าหนี้ได้ขอให้เจ้าหนี้สั่งซื้อฝ้ายให้ลูกหนี้ เช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าหนี้ได้ทราบถึงฐานะของลูกหนี้แล้วว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วยังยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ดังกล่าวอีก จึงเป็นกรณีต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(2).
of 2