พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้จากนิติกรรมโมฆะ: การรู้และอยู่ในฐานะที่จะรู้
ในกรณีที่นิติกรรมเป็นโมฆะ สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่กระทำเพื่อชำระหนี้ของฝ่ายผู้เสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นทันทีที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์มา โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษ โดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3), 247
เมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ ต้องถือว่าบุคคลทุกคนได้รู้ถึงบทบัญญัตินั้นแล้ว ผู้ใดอ้างว่าไม่รู้จะต้องแสดงให้เห็นพฤติการณ์เฉพาะตัวเป็นพิเศษ โดยแน่ชัดว่าตนไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้เช่นกัน
ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะสืบแสดงว่าโจทก์ไม่รู้และไม่อยู่ในฐานะที่อาจรู้ได้ว่านิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และเป็นสารสำคัญในประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้งดสืบพยาน โดยยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานคู่ความในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 (3), 247