พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ต้องห้ามในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้รู้ถึงฐานะหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
แม้ตามคำให้การสอบสวนของส. หัวหน้าแผนกสินเชื่อของเจ้าหนี้กับคำให้การของว. กรรมการบริษัทลูกหนี้ในสำนวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและได้อ้างอิงเป็นพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยคดีคำขอรับชำระหนี้นี้ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะอยู่คนละสำนวนสาขาแต่ก็เป็นสำนวนคดีล้มละลายเดียวกันเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้สิทธิโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา107ก็ย่อมมีอำนาจนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในประเด็นคำขอรับชำระหนี้มาพิจารณาทำความเห็นเสนอต่อศาลซึ่งเป็นการสอบสวนชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิใช่เป็นการสืบพยานโดยอาศัยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลย่อมรับฟังประกอบการวินิจฉัยคดีได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนโดยเจ้าหนี้ไม่มีโอกาสซักค้านพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: พิจารณาฐานะหนี้สิน ผลกระทบต่อครอบครัว และโอกาสชำระหนี้ในอนาคต
การที่โจทก์ตกลงรับชำระหนี้จาก ก. และ ส. ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยจำนวน 900,000 บาท แล้วยอมถอนการยึดทรัพย์ให้ ก. และ ส. และตกลงไม่เรียกร้องให้คนทั้งสองชำระหนี้อีกต่อไปนั้น ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยให้ไม่ได้รับความเป็นธรรม จะถือเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่
จำเลยมีรายได้น้อยและไม่อยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้โจทก์ได้แต่การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีเงินเดือน มีโบนัสและสามารถส่งเสียบุตรให้เรียนหนังสือได้ทุกเดือน ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้มีฐานะทางการงานมั่นคง ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ก็เนื่องมาจากเข้าค้ำประกันหนี้เกี่ยวกับการค้าของสามี ไม่ใช่เพราะประพฤติชั่วหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินฐานะ และไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก หากพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยก็จะถูกให้ออกจากงาน หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และไม่สามารถส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาต่อไปทรัพย์สินของจำเลยก็จะยังคงไม่มีพอที่จะรวบรวมมาชำระหนี้โจทก์ ครอบครัวของจำเลยจะตกอยู่ในสภาพแพแตกและหมดที่พึ่ง ไม่บังเกิดผลดีแก่ทั้งโจทก์และสังคมส่วนรวม โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วประมาณร้อยละ 78 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ต่อไปหากจำเลยมีหน้าที่การงานดีขึ้น มีภาระทางครอบครัวน้อยลงและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ก็ยังมีโอกาสบังคับคดีในหนี้ที่เหลือจากจำเลยได้ไม่มากก็น้อยซึ่งจะบังเกิดผลดีแก่โจทก์ยิ่งกว่าการที่จะให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย กรณีเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย
จำเลยมีรายได้น้อยและไม่อยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้โจทก์ได้แต่การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีเงินเดือน มีโบนัสและสามารถส่งเสียบุตรให้เรียนหนังสือได้ทุกเดือน ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้มีฐานะทางการงานมั่นคง ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ก็เนื่องมาจากเข้าค้ำประกันหนี้เกี่ยวกับการค้าของสามี ไม่ใช่เพราะประพฤติชั่วหรือใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินฐานะ และไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเจ้าหนี้รายอื่นอีก หากพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยก็จะถูกให้ออกจากงาน หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และไม่สามารถส่งเสียบุตรให้ได้รับการศึกษาต่อไปทรัพย์สินของจำเลยก็จะยังคงไม่มีพอที่จะรวบรวมมาชำระหนี้โจทก์ ครอบครัวของจำเลยจะตกอยู่ในสภาพแพแตกและหมดที่พึ่ง ไม่บังเกิดผลดีแก่ทั้งโจทก์และสังคมส่วนรวม โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วประมาณร้อยละ 78 ของจำนวนหนี้ทั้งหมด ต่อไปหากจำเลยมีหน้าที่การงานดีขึ้น มีภาระทางครอบครัวน้อยลงและไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ก็ยังมีโอกาสบังคับคดีในหนี้ที่เหลือจากจำเลยได้ไม่มากก็น้อยซึ่งจะบังเกิดผลดีแก่โจทก์ยิ่งกว่าการที่จะให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย กรณีเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เพิกถอนได้หากผู้รับโอนรู้ถึงฐานะหนี้สินของผู้โอน
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าให้จำเลยกู้ยืมเงินครั้งละ500,000 บาท รวม 4 ครั้ง และผู้คัดค้านที่ 2 อ้างว่าให้จำเลย กู้ยืมเงินรวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โดยไม่มีหลักฐาน การจ่ายเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมเงิน และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งที่เงินที่ให้กู้ยืมก็มีจำนวนมาก และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็น ผู้ประกอบการค้าน่าจะมีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งสามารถนำสืบถึง หลักฐานการจ่ายเงินให้กู้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบว่าให้ กู้ไปแล้วได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นกู้จึงทำลายหลักฐานการกู้ยืมรวม ทั้งเช็คที่จำเลยจ่ายให้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเพียงว่าให้ จำเลยกู้ยืมเงิน โดยไม่มีพยานหลักฐานใด มาสืบสนับสนุนข้ออ้าง จึง ไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านทั้ง สองได้ให้จำเลยกู้ยืมเงินจริง ทั้ง ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทั้งสองให้การว่าผู้คัดค้านทั้งสองรู้จักสนิทสนมกับ ช.กรรมการผู้จัดการบริษัทท. มานานแล้ว การรับโอนหุ้นของจำเลย ก็โอนมาจากบริษัทดังกล่าว นี้ ดังนั้น ผู้คัดค้านทั้งสองจึงน่าจะรู้ถึงฐานะและการมีหนี้สิน ของจำเลยดี และรู้ถึงการที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องและถูกบังคับคดี การที่ผู้คัดค้านทั้งสองรับโอนหุ้นของจำเลยไว้จึงเป็นการรับโอนไว้โดย ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยัง ไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือเป็นการโอน โดย ชอบอยู่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แต่งทนายความแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้.