พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ผิดนัดชำระ ก็เป็นดอกผลนิตินัย โจทก์มีสิทธิเรียกได้ตามสัญญา
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีและในกรณีมีเหตุจำเป็นยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ แสดงว่าตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ การคิดดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในช่วงแรกโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้ หาใช่เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้อง อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ไม่ โจทก์ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามสัญญากู้เงินได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้
ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองตามหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่การแสดงเจตนาเพื่อลวงบุคคลอื่น และไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีเจตนาทำสัญญาฉบับนี้อำพรางสัญญาฉบับอื่นแต่อย่างใด จึงไม่เข้าลักษณะนิติกรรมอำพรางที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองลดลงเหลืออัตราร้อยละ 16 ต่อปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เงินไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลฎีกาวินิจฉัยดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีเป็นดอกผลนิตินัย
โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ19ต่อปีได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวการคิดดอกเบี้ยของโจทก์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อลูกหนี้ผิดนัดอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ19ต่อปีตามสำเนากู้เงินเป็นเบี้ยปรับนั้นจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลนิตินัยจากค่าเช่าจำนองต้องเกิดจากการเช่าที่มีอยู่จริงก่อนการบังคับจำนอง
ค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองพึงจะบังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 721 นั้น ต้องเป็นค่าเช่าซึ่งเกิดจากการเช่าที่มีอยู่ก่อนและขณะผู้รับจำนองบอกกล่าวบังคับจำนอง มิใช่หมายความถึงค่าเช่าที่โจทก์คาดหมายว่าอาจให้เช่าได้จำนวนหนึ่งโดยไม่มีการเช่าอยู่จริง เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มอบหมายให้ อ. มารดาจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษาที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่โจทก์รับจำนองไว้ในระหว่างการขายทอดตลาด จึงไม่มีการเช่าและไม่มีค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงจะบังคับจำนองได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้มรดก: เงินค่าเช่าเป็นดอกผลนิตินัยของกองมรดก ต้องยื่นภาษีในชื่อกองมรดก และไม่ขาดอายุความ
เมื่อกองมรดกโจทก์ยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทเงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินของกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ซึ่งจักต้องนำไปแบ่งปันกันระหว่างทายาทต่อมาภายหลังแม้ตามพินัยกรรมระบุให้แบ่งเงินค่าเช่าแก่ทายาท 3 คน และผู้จัดเก็บผลประโยชน์ของกองมรดกได้แบ่งค่าเช่าที่เก็บได้มาให้แก่ทายาทไปตามพินัยกรรมแล้วก็หาใช่ว่าเงินค่าเช่านั้นตกได้แก่ทายาท 3 คนนั้นทันทีไม่กรณีเข้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง ซึ่งผู้จัดการมรดกหรือทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี มีหนังสือต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ในชื่อกองมรดกผู้ตาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ.2509 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2510 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนโจทก์ได้รับหมายเรียกวันที่ 24 เดือนเดียวกันจึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 แล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมและเงินเพิ่มภาษีเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2515 ก็ชอบด้วยด้วยมาตรา 20 สิทธิเรียกร้องของกรมสรรพากรให้โจทก์ชำระเงินได้ประจำ พ.ศ.2509 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลนิตินัยจากทรัพย์ยึดและการขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องตามกำหนดเวลา
การยึดที่ดินสวนยางซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ย่อมครอบไปถึงดอกผลนิตินัยด้วยตามมาตรา 304 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือน ๆ ละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมา และในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504 จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือน ๆ ละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมา และในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504 จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลนิตินัยจากการยึดทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเกินกำหนด
การยึดที่ดินสวนยางซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ย่อมครอบไปถึงดอกผลนิตินัยด้วยตามมาตรา 304 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึดเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือนเดือนละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมาและในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
เงินค่าประมูลกรีดยางซึ่งคู่กรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีนำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึดเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิร้องขอเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอเข้าเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ผู้ร้องนำเงินค่าประมูลกรีดยางมาวางศาลเป็นรายเดือนเดือนละ 600 บาท นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2502 เป็นต้นมาและในที่สุดโจทก์ได้รับเงินค่ากรีดยางนี้ไปเสร็จแล้วเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2504 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิ่งมายื่นคำร้องขอเข้าเฉลี่ยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2504จึงไม่มีสิทธิเข้าเฉลี่ยในเงินค่ากรีดยางรายนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกผลธรรมดา vs. ดอกผลนิตินัย: ข้าวจากนาไม่ใช่ดอกผลธรรมดา แม้ได้จากทรัพย์สินร่วม
ดอกผลธรรมดาตามมาตรา 111(1) นั้นหมายถึงบรรดาสิ่งทั้งปวงซึ่งได้มาเพราะใช้ของนั้น อันเกิดโดยธรรมชาติของมันดังเช่น ผลไม้ น้ำนม ขน และลูกของสัตว์
ส่วนต้นข้าวที่ทำได้จากนานั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ต้นข้าวเกิดขึ้นจากแรงงานไม่ใช่ดอกผลของนา ฉะนั้นข้าวเปลือกก็ไม่ใช่ดอกผลของนาเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่)
ฟ้องเรียกข้าวฐานเป็นดอกผลธรรมดา เมื่อวินิจฉัยว่าข้าวไม่ใช่ดอกผลธรรมดาโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแล้ว จะเปลี่ยนเป็นให้แบ่งค่าเช่านาอันเป็นดอกผลนิตินัยแก่โจทก์ย่อมไม่ได้ เพราะนอกฟ้องนอกประเด็น
ส่วนต้นข้าวที่ทำได้จากนานั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ต้นข้าวเกิดขึ้นจากแรงงานไม่ใช่ดอกผลของนา ฉะนั้นข้าวเปลือกก็ไม่ใช่ดอกผลของนาเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่)
ฟ้องเรียกข้าวฐานเป็นดอกผลธรรมดา เมื่อวินิจฉัยว่าข้าวไม่ใช่ดอกผลธรรมดาโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแล้ว จะเปลี่ยนเป็นให้แบ่งค่าเช่านาอันเป็นดอกผลนิตินัยแก่โจทก์ย่อมไม่ได้ เพราะนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหุ้นครอบคลุมถึงเงินปันผลที่เป็นดอกผลนิตินัย แม้พ้น 10 ปีหลังคำพิพากษา
เงินปันผลเป็นเงินที่จ่ายจากกำไรของบริษัทให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นครั้งเป็นคราวตามส่วนจำนวนหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1200 และมาตรา 1201 เงินปันผลจึงเป็นดอกผลนิตินัยตามมาตรา 148 วรรคสาม
เมื่อโจทก์ยึดหุ้นของบริษัท น. ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว การยึดหุ้นย่อมครอบไปถึงเงินปันผลอันเป็นดอกผลนิตินัยแห่งทรัพย์นั้นด้วย โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
เมื่อโจทก์ยึดหุ้นของบริษัท น. ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว การยึดหุ้นย่อมครอบไปถึงเงินปันผลอันเป็นดอกผลนิตินัยแห่งทรัพย์นั้นด้วย โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินปันผลของหุ้นได้แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอสังหาริมทรัพย์ครอบคลุมดอกผลนิตินัย (ค่าเช่า) แม้เกิดขึ้นหลังยึด ไม่ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 271
ค่าเช่าห้องพักเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม ในการยึดอสังหาริมทรัพย์นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 304 วรรคสอง บัญญัติให้ครอบไปถึงเครื่องอุปกรณ์และดอกผลนิตินัยของอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ย่อมครอบไปถึงค่าเช่าอันเป็นดอกผลนิตินัยแห่งทรัพย์นั้นด้วย ไม่ว่าดอกผลนิตินัยนั้นจะมีอยู่ก่อนหรือขณะยึดอสังหาริมทรัพย์ และผู้นำยึดไม่จำต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบถึงความมีอยู่แห่งดอกผลนิตินัยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์นำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดค่าเช่าห้องพัก ซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกยึดได้ แม้จะพ้นระยะเวลา 10 ปีแล้วก็ตาม กรณีหาใช่เป็นการอายัดทรัพย์เพิ่มเติมเมื่อพ้นระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ การบังคับคดีของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้โดยประนีประนอมยอมความ และสิทธิในดอกผลนิตินัยหลังการระงับหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 761 มิได้บังคับให้เจ้าหนี้ต้องนำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่จำนำไปหักจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพียงแต่หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิดังกล่าว จะต้องนำดอกผลนิตินัยไปหักออกจากหนี้ตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น โจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ในวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งการปลดหนี้และหลักประกัน และในท้ายหนังสือฉบับนี้ยังระบุว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามซึ่งข้อกำหนดในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาปลดหนี้ โดยมีเงื่อนไขครบถ้วนทุกประการ จึงต้องถือว่าหนี้ทั้งหมดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปแล้วโดยการประนีประนอมยอมความ ทั้งในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้ระบุว่าให้นำเงินปันผลที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเป็นอีกส่วนหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย และในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ในวันที่ 27 เมษายน 2544 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 6 บาท ดังนั้น ดอกผลนิตินัยอันเกิดจากหุ้นที่โจทก์จำนำไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปทั้งหมดแล้ว รวมทั้งหลักประกันต่างๆ ที่จำเลยที่ 1 เคยมีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินปันผลมาชำระหนี้ได้อีก จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินปันผลที่รับไว้แก่โจทก์