พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: โจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามเช็ค จำเลยขอคิดดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดคือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่โจทก์ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มิได้ชำระ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว แม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจะเป็นหนี้เงินและการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหายก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินในส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของหนี้เงินดังกล่าวอีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญากู้ยืมเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหากเป็นการแปลงหนี้โดยชอบ
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบเงินกู้และการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย กรณีนำเงินกู้ไปชำระหนี้เดิม
หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินกับโจทก์แล้ว โจทก์ได้โอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท ตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 แล้วนำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้รายอื่นที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระแก่โจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ถอนเงินจำนวน 45,000,000 บาท จากบัญชีเงินฝากจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์จัดให้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับอื่น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้จำนวน 45,000,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 วรรคสอง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้ฟังว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินในคดีนี้เป็นหนี้ค่าดอกเบี้ย แต่ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงินและเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น แม้ฟังว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ไม่ทำให้มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินในคดีนี้เป็นหนี้ค่าดอกเบี้ย แต่ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงินและเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์ แม้ใช้เงินชำระหนี้เดิม ดอกเบี้ยไม่ถือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อน
หลังจากที่จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทกับโจทก์แล้วโจทก์ได้โอนเงินจำนวนตามสัญญากู้ยืมเงินไปเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำไปหักกับดอกเบี้ยเงินกู้รายอื่นที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบเงินกู้ให้แก่จำเลยแล้ว สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 650 วรรคสอง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยแสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น แม้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นหนี้เงินที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้ยืมจึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเกิดจากการที่โจทก์กับจำเลยแสดงเจตนาก่อนิติสัมพันธ์ในระหว่างกันขึ้นใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ในขณะนั้น แม้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินรายอื่นแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าจำนวนหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามสัญญากู้ยืมเงิน และเป็นหนี้เงินที่โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้ยืมจึงไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ที่จำเลยฎีกาว่า การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้านั้น มีผลบังคับใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะครบกำหนดชำระหนี้และลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามวิธีการดังกล่าวได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าข้อ 3 กำหนดให้โจทก์ต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าภายในวันที่ 25 ของเดือน และยังมีข้อตกลงให้โจทก์เสียค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือน ตามสัญญาข้อ 10 อีกด้วย การกำหนดค่าปรับรายวันข้างต้นถือเป็นข้อตกลงในเรื่องค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 383
โจทก์ค้างชำระค่าเช่าระหว่างเดือนสิงหาคม 2532 ถึงวันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงินจำนวน 21,987,855.76 บาท ซึ่งจำเลยคิดค่าปรับตามสัญญาถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงิน 1,852,413.67 บาทแต่ถ้าคิดค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือน เป็นต้นค่าปรับของค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่14 มกราคม 2533 รวม 87 วัน วันละ 4,400.35 บาท โดยค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 คิดเป็นเงิน 4,400,353.12 บาท ซึ่งถ้าคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 36 ต่อปี และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดให้คิดสำหรับหนี้เงินระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี เว้นแต่จะพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้มากกว่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 383 แล้ว ถือได้ว่า การกำหนดเบี้ยปรับรายนี้สูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับลงโดยให้คิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน21,987,855.76 บาท กับดอกเบี้ยของค่าเช่าที่ค้างอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันครบกำหนดทวงถามจนถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 493,345.21 บาท และค่าเสียหายจำนวน 12,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,481,200.97 บาทจำนวนหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน34,481,200.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยนำเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท มารวมเข้าเป็นต้นเงิน34,481,200.97 บาท แล้วให้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวทั้งจำนวน โดยมิได้หักเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท ออกเสียก่อน กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคสองซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
โจทก์ค้างชำระค่าเช่าระหว่างเดือนสิงหาคม 2532 ถึงวันสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงินจำนวน 21,987,855.76 บาท ซึ่งจำเลยคิดค่าปรับตามสัญญาถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 เป็นเงิน 1,852,413.67 บาทแต่ถ้าคิดค่าปรับรายวันในอัตราร้อยละ 0.1 ของอัตราค่าเช่าเวลา 1 เดือน เป็นต้นค่าปรับของค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2532 ถึงวันที่14 มกราคม 2533 รวม 87 วัน วันละ 4,400.35 บาท โดยค่าเช่าเวลาเดือนสิงหาคม 2532 คิดเป็นเงิน 4,400,353.12 บาท ซึ่งถ้าคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 36 ต่อปี และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดให้คิดสำหรับหนี้เงินระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี เว้นแต่จะพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้มากกว่านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของจำเลยทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 383 แล้ว ถือได้ว่า การกำหนดเบี้ยปรับรายนี้สูงเกินส่วน สมควรลดเบี้ยปรับลงโดยให้คิดเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน21,987,855.76 บาท กับดอกเบี้ยของค่าเช่าที่ค้างอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันครบกำหนดทวงถามจนถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 493,345.21 บาท และค่าเสียหายจำนวน 12,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 34,481,200.97 บาทจำนวนหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยจำนวน34,481,200.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเห็นได้ชัดแจ้งว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยนำเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท มารวมเข้าเป็นต้นเงิน34,481,200.97 บาท แล้วให้คิดดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวทั้งจำนวน โดยมิได้หักเงินดอกเบี้ยจำนวน 493,345.21 บาท ออกเสียก่อน กรณีเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคสองซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่มค่าภาษีค้างชำระ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าภาษีค้างชำระไว้ในมาตรา 43 ว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระแสดงว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจากค่าภาษีค้างชำระและเงินเพิ่มอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่ และห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่ม
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามเช็คพิพาท จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย เช็คพิพาทปราศจากมูลหนี้ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ หากจะเคยเป็นหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว คำให้การดังกล่าวในตอนแรกเป็นการปฏิเสธว่าได้ออกเช็คไปโดยไม่มีมูลหนี้ ส่วนในตอนหลังกลับให้การรับว่าออกเช็คโดยมีมูลหนี้ ดังนี้จึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ จึงฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ได้โดยไม่ต้องสืบพยาน
การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
การคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสอง และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3238/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและดอกเบี้ยซ้อนในคดีเช็ค: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความชัดเจนของคำให้การและข้อจำกัดด้านดอกเบี้ย
จำเลยทั้งสามให้การว่า เช็คพิพาทปราศจากมูลหนี้ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นหนี้โจทก์และหากจำเลยทั้งสามจะเคยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยทั้งสามก็ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เป็นคำให้การที่ขัดกันเอง ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองจึงฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้องโจทก์โดยไม่ต้องสืบพยาน โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชำระหนี้ครั้งแรก และคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระหนี้เสร็จให้แก่โจทก์ของต้นเงินเดิม อีก จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อน ดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.