พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3037/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, โมฆะ, ดอกเบี้ยตามกฎหมาย, การชำระหนี้, ความเชื่อโดยสุจริต
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ให้แก่โจทก์ในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ (ปัจจุบันเท่ากับอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) และหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้คืนเบี้ยประกันอัคคีภัยแก่โจทก์เต็มจำนวนพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ที่กำหนดให้พึงเรียกเก็บได้ (ในปัจจุบันอัตราร้อยละ 19 ต่อปี) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 (2) แม้ขณะนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราร้อยละ 14 ต่อปี มิได้คิดอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ก็ตาม ข้อตกลงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้เงินและหนังสือยินยอมให้ทำประกันอัคคีภัยดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้และหนังสือยินยอมได้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้และเบี้ยประกันอัคคีภัยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ จึงย่อมจำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ประกอบอาชีพค้าขาย โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์ อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น ย่อมมีเหตุที่จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ ประกอบกับประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์ จึงย่อมจำเป็นต้องทราบรายละเอียดหลักเกณฑ์การเรียกดอกเบี้ยเป็นอย่างดี ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้ประกอบอาชีพค้าขาย โดยสภาพและตามสำนวนไม่ปรากฏเหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะทราบถึงหลักเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ลำพังแต่การที่จำเลยที่ 1 นำเงินชำระหนี้แก่โจทก์เพราะตนเป็นหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบการธนาคารพาณิชย์ อันเป็นกิจการซึ่งเป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้นำเงินไปจัดการหักชำระหนี้ต่าง ๆ ตามจำนวนหนี้ที่โจทก์คิดคำนวณขึ้นมาเองนั้น ย่อมมีเหตุที่จำเลยที่ 1 เข้าใจและเชื่อว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยถูกต้องแล้ว กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คิดคำนวณไม่ถูกต้องไปนั้นโดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดสูงสุดตามสัญญาเป็นโมฆะ ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมายแพ่ง
จำเลยทำใบคำเสนอขอสินเชื่อจากธนาคารโจทก์โดยตกลงจะชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปี และในวันเดียวกัน จำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ โดยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งจำเลยได้รับเงินกู้ไปเรียบร้อยแล้ว จะเห็นได้ว่า ใบคำเสนอขอสินเชื่อเป็นเพียงคำเสนอของจำเลยที่เสนอต่อโจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ยืมเงินเป็นข้อตกลงในการทำสัญญาที่จัดทำขึ้นภายหลังที่โจทก์ได้พิจารณาคำเสนอของจำเลยแล้ว โจทก์จึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้นข้อความหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ให้จำเลยกู้ยืม จึงเป็นจำนวนที่ชัดแจ้งไม่มีข้อความเป็นที่น่าสงสัยหรือมีความเป็นสองนัยอันจะต้องตีความตามเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญากู้ยืมเงินว่าอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีที่จำเลยผิดนัดเพราะต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
แม้โจทก์จะมีวิธีคิดในการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งในกรณีที่ไม่ผิดนัดและผิดนัดตามประกาศของโจทก์ก็ตาม แต่วิธีการปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติของโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้งในสัญญากู้ยืมเงินไม่ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ อย่างชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ และแม้โจทก์จะมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(2) และพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตาม แต่ตามประกาศของกระทรวงการคลังและของโจทก์ที่ออกมาใช้บังคับในช่วงของการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข หรือเบิกเงินเกินวงเงินให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขมิใช่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีเงินกู้ทั่วไป การที่โจทก์กำหนดในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าประกาศและคำสั่งของโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทั่วไปจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
แม้โจทก์จะมีวิธีคิดในการเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งในกรณีที่ไม่ผิดนัดและผิดนัดตามประกาศของโจทก์ก็ตาม แต่วิธีการปฏิบัติดังกล่าวก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติของโจทก์ต่อจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้งในสัญญากู้ยืมเงินไม่ข้อตกลงดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ อย่างชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะ และแม้โจทก์จะมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(2) และพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สิทธิโจทก์เรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตาม แต่ตามประกาศของกระทรวงการคลังและของโจทก์ที่ออกมาใช้บังคับในช่วงของการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดสูงสุดในกรณีที่ลูกหนี้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข หรือเบิกเงินเกินวงเงินให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินจึงเป็นอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขมิใช่อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้าในกรณีเงินกู้ทั่วไป การที่โจทก์กำหนดในสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเกินกว่าประกาศและคำสั่งของโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทั่วไปจากจำเลยได้ในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีเท่านั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยตามกฎหมาย: ศาลฎีกาแก้ไขวันเริ่มดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามวันผิดนัด
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยก่อนวันผิดนัดเป็นการให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยก่อนวันผิดนัดเป็นการให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเกินกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ แต่ชอบเรียกดอกเบี้ยตามกฎหมายเมื่อผิดนัด
จำเลยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้เงินมีข้อความระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ย่อมมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดีสัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้น หลังจากที่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อทำการชำระหนี้ตามสัญญาแล้วจำเลยยังคงเพิกเฉยมิได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดบางส่วนเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มีสิทธิรับเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ค้างเงินค่าเซ้งตึกที่ต้องคืนกัน 80,000 บาท คู่กรณีตกลงกันทำเป็นสัญญากู้โดยคิดดอกเบี้ยร้อยละ 21/2 เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นเวลา 15 เดือน เงิน 30,000 บาทรวมเป็นสัญญากู้ 110,000 บาท เงิน 30,000 บาท นี้เป็นโมฆะทั้งหมดเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับเงินคืนโดยบวกดอกเบี้ยร้อยละ 71/2 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ถูกข่มขู่ & ดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญาไม่สมบูรณ์ ศาลคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ทำสัญญากู้ใหม่รวมดอกเบี้ยที่ค้างมาก่อนรวมเข้าด้วยเป็นดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญากู้นี้เป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยศาลให้เสียดอกเบี้ยร้อยละ 7 ครึ่ง ต่อปีในต้นเงินตั้งแต่วันฟ้อง
ขู่ให้ทำสัญญาค้ำประกันโดยกล่าวว่า ถ้าไม่ทำจะฟ้องริบทรัพย์สมบัติให้หมด เป็นการบอกว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ทำให้สัญญา ไม่สมบูรณ์
คำให้การว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ทราบจำนวนเงินที่โจทก์กรอกลงเกินจำนวน 5,000 บาท ที่ค้างจริง เป็นการต่อสู้ว่าการกู้และค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แม้ในสัญญากู้ระบุว่ารับเงินไป 13,500 บาทจำเลยก็นำสืบหักล้างเอกสารได้
ขู่ให้ทำสัญญาค้ำประกันโดยกล่าวว่า ถ้าไม่ทำจะฟ้องริบทรัพย์สมบัติให้หมด เป็นการบอกว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ทำให้สัญญา ไม่สมบูรณ์
คำให้การว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ทราบจำนวนเงินที่โจทก์กรอกลงเกินจำนวน 5,000 บาท ที่ค้างจริง เป็นการต่อสู้ว่าการกู้และค้ำประกันไม่สมบูรณ์ แม้ในสัญญากู้ระบุว่ารับเงินไป 13,500 บาทจำเลยก็นำสืบหักล้างเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา, หนี้เงินกู้, ผิดนัดชำระหนี้, การคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์แต่เป็นเรื่องโจทก์นำเงินมาร่วมลงทุนแต่การค้าขาดทุนจึงขอคืน และให้จำเลยทำสัญญากู้ให้โจทก์ ต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วโดยโอนสิทธิการเช่าห้องเช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้โจทก์ใช้หนี้แทน และมีข้อตกลงว่า หากขายได้ราคาเกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์นำมาลงทุน โจทก์ต้องนำเงินส่วนที่เกินคืนจำเลย โจทก์ขายได้แต่ไม่ยอมคืนเงินส่วนที่เหลือจึงขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือคืนพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อพยานหลักฐานจำเลยฟังไม่ได้ว่า จำเลยโอนสิทธิการเช่าห้องเช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น หาได้มีความเกี่ยวพันกับมูลหนี้เดิมตามฟ้องแต่ประการใดไม่ หากเป็นความจริงตามที่จำเลยว่าก็ชอบที่จำเลยจะนำคดีไปฟ้องเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก มิใช่มากล่าวอ้างแล้วตั้งเป็นข้อเรียกร้องรวมในคดีนี้ จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ปัญหาฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงดอกเบี้ยเดิมเป็นโมฆะ ใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมายและเริ่มนับผิดนัดจากวันที่ถูกต้อง
สัญญากู้เงินที่จำเลยที่ 1 ทำกับธนาคารมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และยอมให้ธนาคารมีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควรโดยไม่ต้องบอกกล่าวผู้กู้ก่อน ทั้งสัญญาข้อ 3 ด้วยว่า หากผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ตกลงตามข้อ 2 และค้างชำระดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง ผู้กู้ตกลงให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับเงินต้น และให้คิดดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันกับที่กล่าวมาในข้อ 2 สัญญากู้เงินดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยกรณีจำเลยที่ 1 ผิดนัดในอัตราที่สูงขึ้นหรือแยกต่างหากจากอัตราตามสัญญาข้อ 2 กรณีจึงไม่ต้องด้วยความในตอนท้ายของมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะนำมาปรับแก่คดีเพื่อให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดตามอัตราที่ธนาคารประกาศกำหนด
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้งวดเดือนธันวาคม 2540 แล้ว การชำระหนี้งวดต่อไปต้องชำระภายในวันสิ้นเดือนของเดือนมกราคม 2541 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโดยไม่เคยโต้แย้งว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยและการประกาศหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคารกระทำไปฝ่ายเดียว โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีจึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ธนาคารไปแล้วทั้งหมดหักออกจากต้นเงิน
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ต้องผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระหนี้งวดเดือนธันวาคม 2540 แล้ว การชำระหนี้งวดต่อไปต้องชำระภายในวันสิ้นเดือนของเดือนมกราคม 2541 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารโดยไม่เคยโต้แย้งว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยและการประกาศหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องที่ธนาคารกระทำไปฝ่ายเดียว โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เพียงแต่ชำระเงินเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ เมื่อธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเนื่องจากข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีจึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระให้แก่ธนาคารไปแล้วทั้งหมดหักออกจากต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นกู้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และดอกเบี้ยเกินอัตรา ศาลฎีกาแก้เป็นดอกเบี้ยตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานและขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกต้นฉบับใบหุ้นกู้จากจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองเอกสาร ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ได้รับเพียงสำเนาใบหุ้นกู้จากจำเลยที่ 1 พฤติการณ์น่าเชื่อว่า ต้นฉบับใบหุ้นกู้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 อันเป็นข้อยกเว้นที่โจทก์ไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยที่ 1 ก่อนวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (2) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับฟังสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานชอบแล้ว
การออกหุ้นกู้ต้องอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1229 และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 65 กล่าวคือ ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดและต้องได้รับโทษตาม มาตรา 268 การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้การออกหุ้นกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจใช้บังคับในฐานะหุ้นกู้ตามกฎหมายได้ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ และมีกำหนดเวลาการชำระคืน ถือได้ว่า สำเนาใบหุ้นกู้มีข้อความครบถ้วนเพียงพอให้รับฟังได้ว่า เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่เป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงพยานเอกสาร
เมื่อฟังได้ว่าสำเนาใบหุ้นกู้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงให้ผลตอบแทนร้อยละ 2 ต่อเดือน เป็นการให้ดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 654 ตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เป็นต้นไป ส่วนผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยที่ได้ชำระแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดขึ้นเอง จึงเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้นำเงินที่ชำระไปดังกล่าวมาหักกลบกับต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์
การออกหุ้นกู้ต้องอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 1229 และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 65 กล่าวคือ ต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นความผิดและต้องได้รับโทษตาม มาตรา 268 การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเหตุให้การออกหุ้นกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจใช้บังคับในฐานะหุ้นกู้ตามกฎหมายได้ก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์ และมีกำหนดเวลาการชำระคืน ถือได้ว่า สำเนาใบหุ้นกู้มีข้อความครบถ้วนเพียงพอให้รับฟังได้ว่า เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินที่เป็นหนังสือ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาใบหุ้นกู้เป็นพยานหลักฐานได้ ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงพยานเอกสาร
เมื่อฟังได้ว่าสำเนาใบหุ้นกู้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงให้ผลตอบแทนร้อยละ 2 ต่อเดือน เป็นการให้ดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 654 ตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เป็นต้นไป ส่วนผลตอบแทนหรือดอกเบี้ยที่ได้ชำระแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดขึ้นเอง จึงเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยที่ 1 ไม่อาจขอให้นำเงินที่ชำระไปดังกล่าวมาหักกลบกับต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์