พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, การบอกเลิกสัญญา, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)ฯ การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่ฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย การกระทำของโจทก์ก็ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน ในกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คงมีแต่ข้อตกลงเฉพาะการหักทอนบัญชีและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่และจะคิดทบต้นอย่างไร ซึ่งตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้มีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงิน แม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใดนั้น เป็นคนละเรื่องกัน ในกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา คงมีแต่ข้อตกลงเฉพาะการหักทอนบัญชีและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12 กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่และจะคิดทบต้นอย่างไร ซึ่งตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้มีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย และยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินนี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงิน แม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเดินสะพัด, สิทธิโจทก์, การบอกเลิกสัญญา, หักชำระหนี้
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงไม่ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และโจทก์ย่อมมีอำนาจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ต้องอยู่ภายในกรอบแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยย่อมเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่ข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจะเป็นผลทำให้ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
ระยะเวลาในการหักทอนบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 858 กับสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะสิ้นสุดลงเมื่อใด เป็นคนละเรื่องกัน สำหรับกรณีแรกไม่ว่าจะกำหนดอายุแห่งสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีกันไว้กฎหมายให้ถือกำหนดหกเดือนเป็นกำหนดหักทอนบัญชี ส่วนในกรณีที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุแห่งสัญญานั้นอาจจะมีกำหนดระยะเวลาในการหักทอนบัญชีก็ได้เช่นให้หักทอนกันทุกวันสิ้นเดือน
ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ว่าคู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 และครบกำหนดตามระยะเวลาที่บอกกล่าวในวันที่ 12กรกฎาคม 2541 สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่ต้องสิ้นสุดลงภายใน 6 เดือนตามระยะเวลาที่ต้องหักทอนบัญชีตามมาตรา 858
จำนวนวงเงินที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยหรือไม่ และจะคิดทบต้นอย่างไร เมื่อตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินดังว่านี้กลายเป็นต้นเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังคงมีอยู่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยและนำมาทบเป็นต้นเงินแม้เมื่อรวมกันแล้วจะเกินวงเงินที่ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้ก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ 1,500,000 บาทโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ขอถอนคำแก้อุทธรณ์และถอนฟ้องจำเลยที่ 2พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไปและต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยและกรณีเป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนองคำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9223/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยทบต้น: หลักเกณฑ์ตามกฎหมายและสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ผู้กู้ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นสุดของเดือน หากผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยก็มีข้อกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้ผู้ให้กู้มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินเดิมเป็นต้นเงินใหม่ได้ทันที แต่มิได้ให้สิทธิผู้ให้กู้ที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ดังนี้ เมื่อสัญญายังไม่เลิก ผู้ให้กู้จึงจะคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดโดยอ้างเหตุผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยหาได้ไม่
ผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปยังผู้กู้กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และผู้กู้ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เดือนเดียวกัน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่ โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยผู้กู้มิได้ผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้กู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาได้
สัญญารับชำระหนี้ที่ผู้กู้ทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับจะชำระหนี้ มิใช่สัญญากู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สัญญารับชำระหนี้ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคน แต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว
ผู้ให้กู้บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปยังผู้กู้กำหนดให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และผู้กู้ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 เดือนเดียวกัน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเลิกกันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้คิดดอกเบี้ยทบต้นทุกวันสิ้นเดือนเป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2537 ซึ่งเป็นวันที่สัญญาเลิกกันยังไม่ถึง 1 เดือน ตามสัญญาและประเพณีที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คิดได้แต่เพียงดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด แต่ยังมีการเดินบัญชีตลอดมา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีผลอยู่ โดยไม่มีกำหนดเวลา การที่ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้กู้ชำระหนี้โดยผู้กู้มิได้ผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ให้กู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ให้กู้ย่อมไม่มีสิทธิอ้างบันทึกข้อตกลงที่กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในกรณีผู้กู้ผิดสัญญาได้
สัญญารับชำระหนี้ที่ผู้กู้ทำให้ไว้แก่ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับจะชำระหนี้ มิใช่สัญญากู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร สัญญารับชำระหนี้ดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้สัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับจะมีผู้ค้ำประกันเกินกว่าหนึ่งคน แต่เป็นการร่วมกันค้ำประกันในภาระหนี้รายเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์แต่ละฉบับเพียง 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงิน การผิดสัญญาและดอกเบี้ยทบต้น
++ เรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง ตั๋วเงิน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การสิ้นสุดสัญญาและการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
สัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ และไม่ต้องทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ จึงอาจเกิดจากการแสดงเจตนาโดยแจ้งชัดหรือตามพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันเห็นได้ว่ามีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันแล้ว
ตามคำขอใช้บริการของจำเลย มีข้อตกลงการสั่งจ่ายเงินและการถอนเงินว่า ในการสั่งจ่ายหรือถอนเงินให้ใช้เช็คซึ่งธนาคารมอบให้ใช้สำหรับแต่ละบัญชีโดยเฉพาะเท่านั้น และในกรณีที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันการจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตามทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะปฏิเสธการจ่ายเงินเสียก็ได้ หรือในกรณีผู้ฝากนำเช็คเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้น ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คนั้นให้ไปก่อน โดยที่ธนาคารโจทก์ยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บ จำเลยผู้ฝากยอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่ธนาคารโจทก์ผ่อนผันจ่ายไปนั้นคืนให้แก่ธนาคารโจทก์โดยถือเสมือนว่าผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่ตามบัญชีเดินสะพัด และ/หรือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารโจทก์ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้นให้แก่ธนาคารโจทก์ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม นับแต่วันที่เป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่ตามบัญชีเดินสะพัดและ/หรือเบิกเงินเกินบัญชี ตามวิธีและประเพณีของธนาคาร หลังจากมีคำขอดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ถอนเงินและฝากเงินมีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนมาโดยตลอด ทั้งโจทก์ได้ส่งใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดไปยังจำเลยเช่นนี้ฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยได้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 856แล้ว หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีตามป.พ.พ.มาตรา 991 ไม่
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใด ๆ ก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 การเลิกสัญญาดังกล่าวอาจแสดงเจตนาโดยแจ้งชัดหรือโดยพฤติการณ์
หลังจากจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายแล้วจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ทั้งจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดในวันอันเป็นวันครบกำหนดหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามที่ปฏิบัติต่อกันมาโดยตลอด หลังจากสัญญาสิ้นสุดแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นได้อีก คงคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่ตกลงกันมาตั้งแต่แรกจากเงินต้นจำนวนที่จำเลยค้างชำระในวันดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่จะเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ เพราะขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 199/33 (1)
ตามคำขอใช้บริการของจำเลย มีข้อตกลงการสั่งจ่ายเงินและการถอนเงินว่า ในการสั่งจ่ายหรือถอนเงินให้ใช้เช็คซึ่งธนาคารมอบให้ใช้สำหรับแต่ละบัญชีโดยเฉพาะเท่านั้น และในกรณีที่ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันการจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตามทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะปฏิเสธการจ่ายเงินเสียก็ได้ หรือในกรณีผู้ฝากนำเช็คเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้น ธนาคารโจทก์ได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คนั้นให้ไปก่อน โดยที่ธนาคารโจทก์ยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บ จำเลยผู้ฝากยอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่ธนาคารโจทก์ผ่อนผันจ่ายไปนั้นคืนให้แก่ธนาคารโจทก์โดยถือเสมือนว่าผู้ฝากเป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่ตามบัญชีเดินสะพัด และ/หรือเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารโจทก์ และยินยอมเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนั้นให้แก่ธนาคารโจทก์ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์คิดจากผู้กู้ยืม นับแต่วันที่เป็นหนี้ธนาคารโจทก์อยู่ตามบัญชีเดินสะพัดและ/หรือเบิกเงินเกินบัญชี ตามวิธีและประเพณีของธนาคาร หลังจากมีคำขอดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ถอนเงินและฝากเงินมีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือนมาโดยตลอด ทั้งโจทก์ได้ส่งใบแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดไปยังจำเลยเช่นนี้ฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยได้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 856แล้ว หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยเกินจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีตามป.พ.พ.มาตรา 991 ไม่
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้น คู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีในเวลาใด ๆ ก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 การเลิกสัญญาดังกล่าวอาจแสดงเจตนาโดยแจ้งชัดหรือโดยพฤติการณ์
หลังจากจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายแล้วจากนั้นคงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกหรือถอนเงินต่อไป ทั้งจำเลยก็มิได้นำเงินเข้าบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเป็นอันสิ้นสุดในวันอันเป็นวันครบกำหนดหักทอนบัญชีกันเดือนละครั้งตามที่ปฏิบัติต่อกันมาโดยตลอด หลังจากสัญญาสิ้นสุดแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นได้อีก คงคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราที่ตกลงกันมาตั้งแต่แรกจากเงินต้นจำนวนที่จำเลยค้างชำระในวันดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่จะเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ไม่ได้ เพราะขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 199/33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อบอกเลิก & โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าจะเลิกสัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อคู่สัญญาบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและเรียกร้องให้หักทอนบัญชีรวมทั้งชำระหนี้ที่มีต่อกันโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาเลิกกัน การที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเงินฝากเข้าและไม่ถอนเงินจากบัญชีกระแสรายวันถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมีผลผูกพันจนถึงวันสุดท้ายที่โจทก์กำหนดในหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกกันเมื่อไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี แม้ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตต่อศาลฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่า สำเนาให้จำเลยทั้งสองพร้อมอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่และสั่งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ แม้จะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่า ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักถอนบัญชีทุกวันสิ้นสุดของเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักถอนบัญชีทุกวันสิ้นสุดของเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือ แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอดจำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกัน ในวันครบกำหนดโจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 688, 689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกัน หรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชีและให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และ 859ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันในวันครบกำหนดโจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศ เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศ เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไข จึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้ดอกเบี้ยร้อยละ 25 จึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่าผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7821/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัด, ดอกเบี้ยทบต้น, เบี้ยปรับ, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยมิได้กำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาไว้ และจำเลยได้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เรื่อยมาโดยตลอด จำเลยใช้เช็คเบิกถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก คงมีแต่รายการที่โจทก์นำเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระของแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชีที่จำเลยจะต้องชำระในเดือนถัดไป กรณีเช่นนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาต่อกันหรือเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเรียกร้องให้หักทอนบัญชี และให้ชำระหนี้ที่มีต่อกันแล้ว และสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องจำเลยให้ชำระหนี้คงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 856 และ 859 ตราบใดที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังมิได้เลิกกันโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนกว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะเลิกกันเมื่อปรากฏว่า วันครบกำหนดที่โจทก์เรียกให้ชำระหนี้ตามหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์คือวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ถึงวันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้
การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 25 ตั้งแต่ถัดจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง โดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ การปรับดอกเบี้ยไปคิดในอัตราร้อยละ 25 เป็นการที่โจทก์อาศัยประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ อันเป็นการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขจึงเป็นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้คิดสูงขึ้นหลังจากที่ได้บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยแล้ว ดังนี้ ดอกเบี้ยร้อยละ 25จึงเป็นเบี้ยปรับ
ตามสัญญาค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมระบุวงเงินไว้จำนวน3,000,000 บาท แม้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน ทั้งการค้ำประกันนี้ยังคลุมถึงหนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดีทั้งสิ้น ก็มีความหมายเพียงว่าผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้ได้เท่านั้น ส่วนที่ระบุต่อไปว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมรับผิดชอบและค้ำประกันแม้ว่าหนี้ประธานรวมกับหนี้อุปกรณ์แล้วจะเกินกว่าวงเงินค้ำประกันตามสัญญานี้ก็หาได้หมายความถึงว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในวงเงินต้นที่ค้ำประกันเกินกว่าจำนวน 3,000,000 บาท ไม่ เพียงแต่ถ้ารวมดอกเบี้ยแล้วก็ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนดังกล่าวได้