พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด: สิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ทวงถามหนี้
ในระหว่างที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังดำเนินอยู่ต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดอายุสัญญาแล้วนั้น ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามยอดเงินในบัญชีภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามหรือไม่เมื่อวันใดจึงไม่อาจทราบวันผิดนัดแน่ชัดได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จากนั้นคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว คิดดอกเบี้ยธรรมดา, ผู้ค้ำประกัน/จำนองรับผิดเฉพาะวงเงินที่ระบุ
โจทก์ให้จำเลยกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยได้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งเพื่อหักกลบลบหนี้กัน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยนำเงินส่งเข้าบัญชีเพื่อลดยอดเงินที่เบิกเกินบัญชีทั้งหมดภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นโจทก์จะดำเนินคดีแก่จำเลย เช่นนี้ เป็นการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยมีผลให้สัญญาเลิกกันเมื่อครบกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันรับหนังสือแล้ว หลังจากสัญญาเลิกกันแล้วธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้ คงคิดดอกเบี้ยโดยวิธีธรรมดาได้เท่านั้น
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ในวงเงินสองแสนบาท ในสัญญาค้ำประกันข้อ 6 ระบุไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 94029 เป็นประกัน แล้วต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ทำสัญญาจำนองที่ดินโฉนดดังกล่าวแก่โจทก์โดยระบุในสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่าเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เป็นหนี้โจทก์จำนวนเงินไม่เกินสองแสน บาท ดังนี้ทั้งสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่างเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงินสองแสนบาทรายเดียวกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นผู้ค้ำประกันฐานะหนึ่ง และต้องรับผิดตามสัญญาจำนองอีกฐานะหนึ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาตามสัญญากู้ไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยหากจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2. ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5. ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้น แต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นสู้ไว้ ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2687/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นเป็นโมฆะ แต่ดอกเบี้ยธรรมดาไม่เป็นโมฆะ และศาลไม่ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเอง
สัญญากู้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยไว้สองข้อคือ ข้อ 2 ว่าผู้กู้ ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป และข้อ 5 ว่าถ้าหากผิดสัญญาชำระดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ด้วย ดังนี้ ข้อสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 เฉพาะการคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญากู้ข้อ 5 เท่านั้นแต่การคิดดอกเบี้ยตามข้อ 2 ไม่เป็นโมฆะเพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
แม้มาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้เรียกดอกเบี้ยค้างส่งได้ภายในกำหนดห้าปี แต่ปรากฏว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังลูกหนี้เสียชีวิต: สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดตามลูกหนี้, คิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้ธรรมดา
ธนาคารเจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสองนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ว่าเป็นการคิดกันตามประเพณีการค้าขายในเมื่อมีบัญชีเดินสะพัดต่อกันเท่านั้น และกิจการในสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ตาย สัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมต้องระงับสิ้นสุดลงหลังจากลูกหนี้ตายแล้ว เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปหาได้ไม่ ถึงแม้ต่อมาผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ผู้ตายได้ทำหนังสือรับต่อธนาคารเจ้าหนี้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ธนาคารจริง ยอมให้คิดดอกเบี้ยกันตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดิมของลูกหนี้ก็ตาม ก็หามีผลทำให้ธนาคารเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ไม่ เพราะขัดกับมาตรา 655 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยธรรมดา
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้งถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลักจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้