คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยเงินกู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2179/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินให้เช่า: ไม่ใช่รายจ่ายลงทุน แต่ลดเบี้ยปรับได้หากไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้ยืมจากบริษัท อ. แล้วนำที่ดินดังกล่าวไปให้บริษัท อ. เช่านั้น ถือว่าเป็นรายจ่ายที่ได้มาซึ่งที่ดินและโจทก์ได้รับประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวเป็นค่าเช่ามากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าซื้อที่ดินจึงเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินแก่โจทก์ ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แม้ดอกเบี้ยของเงินกู้มาซื้อที่ดินจะไม่เป็นรายจ่ายที่ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากผู้ให้กู้มาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนไม่ใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่านั้น จึงนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5)
การเรียกเก็บเงินเพิ่มเพราะผู้ต้องเสียภาษีไม่เสียภาษีภายในกำหนดตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 27 นั้น กฎหมายกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดหรือลดได้ จึงไม่อาจพิจารณาให้งดหรือลดเงินเพิ่มได้ การที่โจทก์ชำระภาษีไม่ถูกต้องเนื่องจากนำดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ยืมที่โจทก์ยืมมาซื้อที่ดินให้ผู้อื่นเช่า ซึ่งเป็นรายจ่ายต้องห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5) มาหักเป็นรายจ่าย เป็นเหตุให้โจทก์คำนวณกำไรสุทธิผิดพลาดและเสียภาษีไม่ถูกต้อง แต่ปัจจุบันได้มี พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 375)ฯ ซึ่งใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ตามมาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สิน ทั้งนี้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตามความประสงค์ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่พิพาทคดีนี้ แม้ว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะไม่มีผลถึงโจทก์ เนื่องจากออกบังคับใช้ในภายหลังอันเป็นผลทำให้โจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์ก็ตาม แต่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมควรที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ ทั้งคดีนี้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความในข้อกฎหมายที่หลักเกณฑ์ตาม ป.รัษฎากรฯ ในขณะนั้นไม่สอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการและหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานทางบัญชี กรณีไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี จึงมีเหตุสมควรที่จะลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ลงอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อหุ้น/ที่ดิน เป็นรายจ่ายลงทุนตามมาตรา 65 ตรี (5) พ.ร.ร. ไม่นำมาตรฐานบัญชีมาใช้
การที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ถือเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินนั้น จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้หุ้นและที่ดินมาโดยตรง ดอกเบี้ยอันเกิดจากการกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อหุ้นและที่ดินโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นและที่ดินซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเมื่อโจทก์ทำการกู้ยืมเงินมาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายอันเป็นผลโดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อหุ้นและที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่เป็นต้นทุนของโจทก์ ดังนั้น ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการกู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อหุ้นและที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนที่ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ซึ่งการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลย่อมเป็นไปตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติไว้ โจทก์จะนำมาตรฐานการบัญชีซึ่งเป็นเพียงแนวปฏิบัติสำหรับนักบัญชีในการจัดทำบัญชีมาใช้ให้ขัดกับ ป.รัษฎากร ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การกำหนดรายรับจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ และข้อยกเว้นตามคำสั่งกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (2) มิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นอุทธรณ์ไว้ได้ โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการฯ เฉพาะการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากลูกหนี้รายบริษัทในเครือของโจทก์เท่านั้น ส่วนลูกหนี้รายที่เป็นกรรมการโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใด เท่ากับโจทก์ยอมรับว่าการที่โจทก์ให้กรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยไม่มีเหตุผลอันสมควร การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องอ้างว่าโจทก์ให้ลูกหนี้ดังกล่าวกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยมีเหตุอันสมควร จึงเป็นประเด็นที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ หาใช่โจทก์อ้างเหตุเพิ่มเติมในประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ไว้แล้วไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องในประเด็นนี้สำหรับลูกหนี้รายบริษัท น. กับบริษัท ซ. และบริษัท พ. นั้น แม้โจทก์อ้างแต่เพียงว่ายอดหนี้คลาดเคลื่อนทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานสำหรับการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวไว้แล้ว โจทก์จึงอ้างว่าการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์ให้กู้ยืมโดยมีเหตุอันสมควรในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ เพราะเป็นการยกเหตุผลอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้ศาลเห็นว่าการประเมินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายดังกล่าวที่ได้โต้แย้งการประเมินไว้แล้วไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อโจทก์ยังมีหนี้สินต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่สมควรจะให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย แม้จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกันกับโจทก์ การที่โจทก์ไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัทดังกล่าวจึงไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวตามราคาตลาดได้ ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ (4)
เมื่อโจทก์ให้บริษัทต่าง ๆ และกรรมการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดดอกเบี้ยตามราคาตลาดเป็นรายรับตามมาตรา 91/16 (6) และถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยแล้ว โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและการที่โจทก์ให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินหลายราย ไม่ว่าเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้หรือเพื่อตอบแทนการทำงานของกรรมการดังที่โจทก์อุทธรณ์ ก็ถือว่าโจทก์ประกอบกิจการตามปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
โจทก์ให้บริษัท พ. และบริษัท จ. กู้ยืมเงินไปก่อนที่โจทก์จะเข้าถือหุ้นในบริษัททั้งสองเกินร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมด โจทก์กับบริษัททั้งสองจึงมิใช่บริษัทในเครือเดียวกันตามความหมายของบริษัทในเครือเดียวกันดังที่ระบุในข้อ 2 วรรคสอง ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 26/2534 โจทก์จึงมิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของลูกหนี้รายบริษัท พ. และบริษัท จ. มาคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้, การลดอัตราดอกเบี้ย, และการสละอายุความของหนี้
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้เท่านั้น แม้ว่าสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้ ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้นจำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนและให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุน ไม่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่องด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งว่า
++ โจทก์ได้ยืมเงินจากบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) เพื่อซื้อที่ดินให้เช่า หลังจากบริษัทเอสโซ่เช่าที่ดินจากโจทก์แล้ว โจทก์ได้จ่ายดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินดังกล่าวให้บริษัทเอสโซ่และได้นำดอกเบี้ยนั้นไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็นเงิน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาท และ3,150,823 บาท ตามลำดับ บริษัทเอสโซ่หักเงินของโจทก์ไว้เป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายจากค่าเช่าซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์และได้นำส่งชำระให้จำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำนวน 340,299.05 บาท 4,042,032.83 บาทและ 9,269,739.75 บาท ตามลำดับ
++ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีดังกล่าวจากจำเลย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 วันที่ 1 กรกฎาคม2536 และวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามลำดับ
++ ต่อมาในวันที่ 23 กันยายน2535 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 จำนวน340,299.05 บาท และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2537 จำเลยแจ้งคืนภาษีให้แก่โจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 จำนวน 4,042,032.83 บาท
++ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2538 จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ส่งคืนเงินสองจำนวนดังกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับภาษีคืนตามที่ยื่นคำร้องไว้โจทก์จึงคืนเงินสองจำนวนนั้นให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2538
++ ส่วนภาษีซึ่งโจทก์ขอคืนในรอบระยะเวลาบัญชี 2536จำเลยออกหนังสือลงวันที่ 11 มกราคม 2539 แจ้งไม่คืนให้โจทก์ และเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการว่ามีกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ถึง 2536 จำนวน 405,000.53 บาท 2,299,305.17 บาทและ 3,150,823 บาท ตามลำดับ แต่โจทก์มีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) จำนวน 8,719,864.61 บาท123,445,339.03 บาท และ 171,976,301 บาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วเป็นจำนวน 9,124,865.14 บาท 125,744,644.20 บาทและ 175,127,124 บาท ตามลำดับ คิดเป็นค่าภาษีจำนวน 3,193,702.80บาท 37,723,393.26 บาท และ 52,538,137.20 บาท ตามลำดับโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 482,049.05 บาท 4,731,824.33บาท และ 10,214,986.65 บาท ตามลำดับ ดังนั้น จึงต้องชำระหนี้อีกจำนวน 2,711,653.75 บาท 32,991,568.93 บาท และ42,323,150.55 บาท ตามลำดับ เบี้ยปรับจำนวน 2,711,653.75 บาท32,991,568.93 บาท และ 42,323,150.55 บาท ตามลำดับ และเงินเพิ่มจำนวน 1,382,943.41 บาท 10,887,217.75 บาท และ12,062,097.91 บาท ตามลำดับ รวมเป็นเงินภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 6,806,250.91 บาท 76,870,355.61 บาท และ96,708,399 บาท ตามลำดับ
++ นอกจากนี้ โจทก์ยังยื่นประมาณการกำไรสุทธิรอบระยะเวลาหกเดือนของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2536 ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มจำนวน 26,874.69 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 134,373.45 บาทสำหรับเบี้ยปรับลดให้ร้อยละห้าสิบคงเหลือจำนวน 67,186.73 บาท
++ รวมเป็นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับจำนวน 94,061 บาท ปรากฏตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 1016/2/100641 ที่ 1016/2/100640ที่ 1016/2/100826 และที่ 1016/2/100825 เอกสารหมาย จ.1แผ่นที่ 57 ถึง 60
++ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ปรากฏตามอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 61 ถึง 143
++ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ ปรากฏตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เลขที่สภ.1(กม.3)/2540/166 เลขที่ สภ.1(กม.3)/2540/167 และเลขที่241/2540/สภ.1(กม.4) เอกสารหมาย จ.1 แผ่นที่ 149 ถึง 152
++
++คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่สามารถนำที่ดินออกให้เช่าได้เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
++
++ เห็นว่า การกู้ยืมเงินมาเพื่อจ่ายค่าซื้อที่ดิน เงินที่กู้ยืมมานั้นเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนของโจทก์ เมื่อเงินที่กู้ยืมมานั้นมีภาระต้องเสียดอกเบี้ย ดอกเบี้ยของเงินที่กู้ยืมมาจึงเป็นรายจ่ายต่อเนื่องของรายจ่ายค่าซื้อที่ดินอันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน และจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์หาได้ไม่
++ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี (5)
++ ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มนั้น
++ เห็นว่าแนวปฏิบัติที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการยื่นแบบแสดงรายการในคดีนี้มาจากแนวความคิดในหลักการทางบัญชีซึ่งแตกต่างจากประมวลรัษฎากรดังได้ความตามคำเบิกความของนางสาวประไพ อารยะรังสฤษฏ์ รองอธิบดีของจำเลย พยานจำเลยเบิกความรับว่า ที่จำเลยวางแนวปฏิบัติมิให้ถือดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นรายจ่าย ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 12/2528 ลงวันที่ 18กรกฎาคม 2528 ตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 45 และ 46 นั้นได้รับการทักท้วงไม่เห็นด้วยจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยตามเอกสารหมาย ล.5 แผ่นที่ 89 ถึง 91 กรณีจึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาจะเลี่ยงภาษี
++ ประกอบกับนางสาวอุไรวัลก์สกุลวานิชธนา พยานจำเลย ผู้พิจารณาและควบคุมการทำรายงานพิจารณาอุทธรณ์เบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ว่าโจทก์มิได้มีเจตนาเลี่ยงภาษีและได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีเป็นอย่างดี
++ ดังนั้น กรณีจึงมีเหตุลดเบี้ยปรับให้โจทก์ ที่ศาลภาษีอากรกลางลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่งนั้นสมควรแล้ว
++ ส่วนเงินเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายศาลจึงไม่อาจงดหรือลดได้ ++
++ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ในกรณีที่โจทก์ยื่นประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีก 1 เท่า จากจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี นั้น
++ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20 ที่จำเลยอ้างขึ้นมาเพื่อให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปในการเรียกเบี้ยปรับแต่กรณีการยื่นรายการและชำระภาษีโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควร มีประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ผู้ที่กระทำผิดเงื่อนไขเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด
++ ดังนั้น แม้จะมีการออกหมายเรียกโจทก์เพื่อมาทำการไต่สวนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19แล้วทำการประเมินตามมาตรา 20 ก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็ไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 ได้อีก ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินไม่ใช่รายจ่ายลดหย่อนภาษี ต้องแยกจากดอกเบี้ยก่อสร้างอาคาร
++ เรื่อง ภาษีอากร ++
ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาด้วยเงินกู้เป็นทรัพย์สินที่เป็นทุนรอนของโจทก์ เงินที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดินย่อมเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป. รัษฎากรมาตรา 65 ตรี (5) เพราะเป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง และดอกเบี้ยของเงินกู้ดังกล่าวแม้จะไม่เป็นรายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ก็เป็นรายจ่ายที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ถือว่าเป็นรายจ่ายต่อเนื่องที่เป็นผลให้โจทก์ได้รับเงินกู้จากสถาบันการเงินมาซื้อที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของค่าซื้อที่ดินซึ่งเป็นต้นทุน หาใช่ค่าใช้จ่ายธรรมดาในการดำเนินธุรกิจการค้าหากำไรของโจทก์ไม่ ดอกเบี้ยอันเกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าหรือปลูกอาคารให้ผู้อื่นเช่า จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับค่าซื้อที่ดิน โจทก์ไม่อาจนำดอกเบี้ยดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 65 ตรี (5) ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อมานั้นจะอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้แล้วหรือไม่โจทก์ไม่อาจอ้างมาตรฐานการบัญชีหรือความเห็นของนักวิชาการบัญชีมาลบล้างถ้อยคำในบทบัญญัติ มาตรา 65 ตรี (5) ดังกล่าวซึ่งมีความหมายชัดเจนในตัวอยู่แล้วได้
แม้ที่ดินกับอาคารจะเป็นอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่สภาพและหลักเกณฑ์ในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสองประเภทนี้หาเหมือนกันไม่กล่าวคือ สภาพของอาคารย่อมสึกหรอและเสื่อมราคาไปตามกาลเวลา ส่วนสภาพของที่ดินนั้นไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ และ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527มาตรา 4 ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของอาคารหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของอาคารได้เป็นปี ๆ ไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่ยอมให้นำมูลค่าต้นทุนของที่ดินมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา จึงนำดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมาเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อก่อสร้างอาคารไม่ได้
แม้ในหนังสือแจ้งภาษีเงินได้จะระบุแต่เพียงว่า โจทก์คำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินสูงไป 55,593.91 บาท โดยไม่มีรายละเอียดก็ตาม แต่หากโจทก์สงสัย โจทก์ก็สามารถสอบถามเจ้าพนักงานประเมินได้ อีกทั้งจำเลยก็ได้กล่าวถึงที่มาหรือเหตุผลของการประเมินดังกล่าวในคำให้การจนศาลภาษีอากรกลางได้ตั้งเป็นประเด็นว่าโจทก์ได้นำเอาดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมารวมเข้ากับดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้เพื่อก่อสร้างอาคารและถือเป็นต้นทุนของราคาอาคารเป็นเหตุให้การคำนวณค่าเสื่อมราคาอาคารสูงเกินจริงหรือไม่ แต่โจทก์ก็คงนำสืบแต่เพียงว่าโจทก์คำนวณค่าเสื่อมราคาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ. ออกตามความในป.รัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 ถูกต้องแล้ว มิได้นำสืบว่า โจทก์มิได้นำเอาดอกเบี้ยจำนวนของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินมารวมเข้ากับดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้เพื่อก่อสร้างอาคารหรือนำสืบว่าต้นทุนของราคาอาคารที่โจทก์นำมาเป็นฐานคำนวณค่าเสื่อมราคานั้นถูกต้องแล้วอย่างใดแต่จำเลยนำสืบฟังได้ว่า โจทก์นำดอกเบี้ยของเงินกู้เพื่อซื้อที่ดินของปี 2531 จำนวน159,420.24 บาท และปี 2532 จำนวน 33,768.70 บาท ไปลงบัญชีเป็นงานระหว่างก่อสร้างหรืองานระหว่างทำซึ่งเป็นบัญชีต้นทุนอาคารทำให้ราคาต้นทุนอาคารของโจทก์สูงเกินจริง เป็นเหตุให้ค่าเสื่อมราคาที่โจทก์คำนวณจากราคาต้นทุนดังกล่าวสูงเกินไปเป็นจำนวน 55,593.91 บาท การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อที่ดินเพื่อปล่อยเช่าเป็นรายจ่ายลงทุนต้องห้ามทางภาษี แต่ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากมีเหตุสมควร
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(5) ไม่ยอมให้นำรายจ่าย อันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิการที่โจทก์กู้ยืมเงินมาเพื่อซื้อที่ดินนั้น ที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ย่อมตกเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ซึ่งเป็นทุนรอนของโจทก์เพื่อ ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการของโจทก์ต่อไป เงินกู้ยืมที่โจทก์จ่ายเป็นค่าซื้อที่ดิน จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการ ลงทุนต้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 65 ตรี(5) เพราะเป็น รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรงส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกู้ยืมดังกล่าว แม้จะไม่ใช่รายจ่ายที่ทำให้โจทก์ได้ที่ดินมาโดยตรง แต่ดอกเบี้ยนั้นก็เกิดจากการกู้ยืมเงินมาซื้อที่ดิน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรกที่กู้ยืมเงิน มาจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จ ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นผล โดยตรงที่ต่อเนื่องจากการกู้ยืมเงินของโจทก์ จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าซื้อที่ดินอันเป็นต้นทุน ดังนั้นดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากการ กู้ยืมเงินของโจทก์มาซื้อที่ดินเพื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเช่นเดียวกับเงินกู้ยืมที่โจทก์นำไปซื้อที่ดิน แม้ตามประมวลรัษฎากรจะให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากร วางระเบียบในการงดหรือลดเบี้ยปรับได้ ระเบียบดังกล่าวก็เป็น เพียงข้อกำหนดที่ให้เจ้าพนักงานประเมินยึดถือปฏิบัติตามเท่านั้นหาได้มีบทกฎหมายใดให้ศาลจำต้องถือตามไม่ ดังนั้น หากศาลเห็นว่า ผู้ถูกประเมินให้เสียภาษีมีเหตุสมควรตามกฎหมายที่จะไม่ต้อง เสียเบี้ยปรับหรือเสียเบี้ยปรับน้อยลง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับนั้นได้ โจทก์ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีในการตรวจสอบภาษีประกอบกับกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ อีกทั้งการที่โจทก์ตีความข้อกฎหมายดังกล่าวก็เป็นไปตาม หลักการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปและมาตรฐานการบัญชีของสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงเสียภาษีนั้น ยังฟังได้ไม่ถนัด ที่ศาลภาษีอากร พิพากษาลดเบี้ยปรับให้โจทก์ร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย ย่อมเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ส่วนเงินเพิ่มนั้นเกิดขึ้น จากโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ซึ่งได้กำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้วไม่อาจที่จะงดหรือลดลงได้ ศาลจึงไม่งดหรือลดเงินเพิ่มส่วนนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้, สัญญาค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นไปตามสิทธิที่ธนาคารโจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2524ข้อ2 ฉะนั้นแม้จะถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนและจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระคืนแก่โจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น หนังสือค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบในจำนวนเงินที่กู้ 3,220,000 บาท แทนกัน แต่สัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับได้ระบุจำนวนเงินกู้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 3,220,000 บาทเช่นนี้เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่แบ่งส่วนความรับผิดกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมข้ามประเทศ: เจตนารมณ์กฎหมายและการยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทปิโตรเลียม
ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2) มีเจตนารมณ์มุ่งเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะเป็นเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยในกรณีของโจทก์คดีนี้ บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นได้กู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นเพื่อส่งมาใช้จ่ายในกิจการของบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยโดยเฉพาะ และเมื่อโจทก์สาขาในประเทศไทยประกอบกิจการมีรายได้แล้วก็จัดส่งไปให้บริษัทโจทก์ที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้น จึงเห็นได้ว่าเงินที่สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นให้กู้ยืมมานั้นก็เพื่อนำมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ในประเทศไทย เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินดอกเบี้ยดังกล่าวตามเจตนารมณ์ของ ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)โดยไม่ต้องคำนึงว่าเงินดอกเบี้ยนี้บริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยเป็นผู้ส่งไปชำระให้แก่สถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมนั้นโดยตรง หรือบริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นชำระไปก่อนแล้วบริษัทโจทก์สาขาในประเทศไทยจึงส่งคืนไปให้บริษัทโจทก์ในประเทศญี่ปุ่นเพราะไม่ว่าจะชำระโดยวิธีใดก็เป็นการเอาเงินที่ได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ไปชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ยืมนั่นเอง
เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ.2514 มีว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบกิจการปิโตรเลียมตามอัตราและวิธีการพิเศษต่างหากจากภาษีเงินได้ที่เก็บตามป.รัษฎากร ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า เหตุที่มาตรา 13 บัญญัติให้บริษัทจำกัดหรือนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัด ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรและภาษีอากรตามกฎหมายอื่นก็เพราะบริษัทหรือนิติบุคคลดังกล่าวต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 อยู่แล้ว และบริษัทหรือนิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวจะต้องเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบกิจการปิโตรเลียมดังที่ปรากฏในเหตุผลแห่งการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ ดังนี้ บริษัทหรือนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 จะต้องเป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 คือ ต้องเป็นบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม กล่าวคือ (1) ได้รับสัมปทานหรือมีส่วนได้เสียร่วมกันในสัมปทาน หรือ (2) ซื้อน้ำมันดิบที่บริษัทตาม (1) เป็นผู้ผลิตเพื่อส่งน้ำมันดิบนั้นทั้งหมดออกนอกราชอาณาจักร แต่คดีนี้ได้ความว่า สถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินนั้น มิใช่เป็น "บริษัท" ตามคำจำกัดความในมาตรา 4 แต่อย่างใด สถาบันการเงินดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร เพราะมิฉะนั้นแล้วบริษัทหรือนิติบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เมื่อมีเงินได้จากบริษัทตามกฎหมายปิโตรเลียมแล้วก็จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามป.รัษฎากรหรือภาษีอากรตามกฎหมายอื่น เท่ากับไม่ต้องเสียภาษีใด ๆ เลยซึ่งกฎหมายย่อมไม่มีเจตนารมณ์เป็นเช่นนั้น ดังนั้นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริษัทโจทก์กู้ยืมเงินจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 (2)
of 2