คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีต่อบริวารจำเลยหลังสัญญาประนีประนอม และการดำเนินการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ตามสัญญายอมระหว่างโจทก์กับจำเลยมีใจความสำคัญว่า จำเลยจะขนย้ายบริวารออกไปจากที่ดินที่เช่าและส่งมอบที่ดินคืนแก่โจทก์ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2539 ดังนี้ เมื่อล่วงพ้นเวลาดังกล่าวและยังมีผู้อาศัยในสิ่งปลูกสร้างใน ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่ขอให้บังคับคดีแก่ผู้อยู่อาศัยในสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวในฐานะบริวารของจำเลยได้ ส่วนการที่โจทก์สามารถใช้สิทธิตามสัญญายอมอีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์อาจเข้าร่วมหรือรับสิทธิของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่บุคคลอื่นออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่มีเหตุผลใดที่จะจำกัดสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้บังคับคดีในคดีนี้ เมื่อศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีนี้กับศาลชั้นต้นในคดีอีก 3 สำนวน ที่จำเลยได้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องที่ 1 กับพวก และบุคคลอื่นให้ออกจากอาคารในที่ดินของโจทก์ก็คือศาลชั้นต้นศาลเดียวกัน จึงชอบที่โจทก์จะขอออกหมายบังคับคดีในคดีนี้ได้ เมื่อมีผู้ร้องที่ 1 กับพวก ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าตนมิใช่บริวารของจำเลย ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไต่สวนและมีคำสั่งไปตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการแจ้งผลการส่งหมายนัด: ความรับผิดของจำเลยในการดำเนินการตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ว่า "รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 สำเนาให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำส่งใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และมีข้อความประทับไว้ด้วยว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 9 เมษายน 2544 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และทนายจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
แม้ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลและความผิดฐานดำเนินการสถานพยาบาล จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน แต่กฎหมายได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดในกรณีทั้งสองแยกจากกัน ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลและใบอนุญาตดำเนินการสถานพยาบาลก็แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่าในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ ซึ่งหากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต มีลักษณะการกระทำและเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
พระราชบัญญัติสถานพยาบาลฯ ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลกับฐานดำเนินการสถานพยาบาลไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาลเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีก็แตกต่างกัน แสดงให้เห็นได้ชัดว่า ในแต่ละฐานความผิดดังกล่าวต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไปการกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติการกระทำอันเป็นความผิดไว้แยกจากกัน คือ ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่งอีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตในสองกรณีแตกต่างกัน แสดงว่าในแต่ละฐานความผิดต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการดำเนินการตามกระบวนพิจารณา แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดเวลาให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลมิใช่เป็นการขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23อันจะทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและจะต้องทำก่อนสิ้นระยะเวลานั้นศาลมีอำนาจโดยทั่วไปที่จะกำหนดระยะเวลาได้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมิได้มีผลทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นหรือสิทธิในการวางเงินค่าธรรมเนียมต้องสะดุดหยุดอยู่จนกว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นไม่ หากศาลฎีกามีคำสั่งเป็นอย่างอื่นย่อมลบล้างคำสั่งของศาลชั้นต้นไปในตัว ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องรอฟังคำสั่งของศาลฎีกาก่อนมิฉะนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นก็จะไร้ผล การที่จำเลยจะรอคำสั่งของศาลฎีกาโดยที่มิได้ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นก่อนจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี: แม้เกิน 10 ปี แต่ยังดำเนินการได้ หากมีอุปสรรคจากกระบวนการ
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด10 ปี ไม่
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีก็ถูกจำเลยยื่นคำร้องขอ อุทธรณ์และฎีกาในชั้นบังคับคดีตลอดมาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จได้ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดที่ดินตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับผลตามคำพิพากษาไว้แล้ว ดังนั้น แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายภายในกำหนด ศาลต้องพิจารณาถึงความขวนขวายของโจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วันถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ แต่จำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงยื่นคำแถลงขอให้ศาลอื่นช่วยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์ชำระค่าส่งเป็นตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปให้ ศาลชั้นต้นสั่งจัดการให้และมีหนังสือถึงศาลอื่นขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนซึ่งมิได้ระบุว่าโจทก์จะไปนำส่ง จึงเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นไม่บังคับให้โจทก์ต้องไปนำส่ง การที่โจทก์ไปติดตามขอทราบผลการส่งหมายถึง 5 ครั้ง และได้รับแจ้งว่าสำนวนไม่อยู่บ้าง สำนวนเสนอผู้พิพากษาบ้างแม้ในวันที่โจทก์ไปยื่นคำร้องคำขอและคำแถลงต่าง ๆ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นสำนวนจนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม 2539 โจทก์จึงทราบผลการส่งหมาย หลังจากนั้นโจทก์ไปขอหลักฐานไว้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายใหม่ โดยจะยื่นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่25 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตั้งแต่วันรับคำฟ้อง ครั้นเมื่อถึงวันนัดหมายโจทก์จึงทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ขวนขวายติดตามคดี โจทก์มิได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการดำเนินคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายในกำหนดเวลาสิบปี: การดำเนินการขอให้บังคับคดีถือเป็นไปตามกฎหมาย แม้การบังคับคดีจะล่าช้า
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี: การยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีถือเป็นการดำเนินการภายในกำหนดเวลา แม้การบังคับคดีจะเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการ ดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลา สิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดี เกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้ บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว
of 6