พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุจำเป็นและดำเนินการโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอในการยื่นฎีกา ศาลไม่อนุญาตขยายเวลา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2545 แต่วันครบกำหนดฎีกาตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2545 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นฎีกาในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2545 และแม้จำเลยยื่นคำแถลงขอถ่ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 และได้รับเอกสารที่ขอถ่ายในวันที่ 27 มิถุนายน 2545 ก็ตาม แต่เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาแล้วปรากฏว่ายังมีเวลาเหลืออยู่อีก 18 วัน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่จะทำคำฟ้องฎีกายื่นต่อศาลได้ทัน ที่จำเลยอ้างเหตุในการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาว่า ทนายจำเลยได้ศึกษาข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์แล้วปรากฏว่ามีหลายประเด็นที่แตกต่างไปจากข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นซึ่งทนายจำเลยต้องทำรายงานเสนอคณะกรรมการบริษัทจำเลยพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกา ระยะเวลาที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอที่คณะกรรมการบริษัทจำเลยจะพิจารณาอนุมัติยื่นฎีกาและทนายจำเลยไม่สามารถจัดทำฎีกายื่นต่อศาลได้ทันนั้น ก็ไม่ปรากฏว่านับแต่วันที่จำเลยได้รับเอกสารที่ขอถ่ายจนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาคือวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 ทนายจำเลยได้ดำเนินการไปถึงไหน เรื่องอยู่ในขั้นตอนใด และมีข้อขัดข้องอย่างไรที่ทำให้ทนายจำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาภายในเวลาที่ยังเหลืออยู่อีก 6 วันได้ทัน ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินการโดยเร็ว แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่สิ้นสุด ศาลต้องพิพากษาล้มละลายตามมติเจ้าหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13 และ 153 กำหนดให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินเป็นการด่วนดังนั้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและจ.พ.ท. รายงานว่า เจ้าหนี้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามความในมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในมาตรา 6 ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่ง