คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8969/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: พิจารณาพฤติการณ์พิเศษและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี แต่เป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลย ซึ่งผลการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย จึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5 ) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีและอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่ความในคดีเดิมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงหาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอนาถา: ต้องยื่นภายใน 7 วันนับจากคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่นับจากกำหนดวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่ 19กรกฎาคม 2547 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสาบานตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องทำด้วยตนเอง ห้ามมอบอำนาจ
ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง กำหนดให้ผู้ฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาต้องสาบานตัวด้วยตนเอง จึงมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาสาบานตัวแทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีและการทิ้งฟ้อง: การแถลงเจตนาประนีประนอมและการดำเนินการของโจทก์
การที่ทนายโจทก์แถลงว่า หากการเจรจาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้ ทนายโจทก์ก็จะติดต่อนัดหมายให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลด้วยตนเองเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องเมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยแม้ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงให้ศาลทราบแล้วถึงเหตุที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลก็เพราะผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ได้พิจารณาข้อเสนอของฝ่ายจำเลยที่ขอชำระหนี้เพียง 600,000 บาท โดยขอผ่อนชำระเป็นรายเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 48 เดือน แล้ว ไม่อาจตกลงกันได้จึงไม่ขอมาศาล เมื่อคดีไม่สามารถตกลงกันได้ การที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงรายละเอียดให้ศาลทราบด้วยตนเองตามที่ทนายโจทก์แถลงไว้ในนัดที่แล้วก็ตาม แต่ทนายโจทก์ก็ได้แถลงรายละเอียดการเจรจาที่ไม่สามารถตกลงกันให้ศาลทราบแล้ว ซึ่งหากผู้มีอำนาจตัดสินใจฝ่ายโจทก์มาศาลก็คงแถลงดังที่ทนายโจทก์แถลงเมื่อตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ซึ่งทนายโจทก์มาศาลแล้วศาลสามารถสืบพยานจำเลยต่อไปได้ ดังนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดอันจะถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการพิจารณาคดีอาญา: ความผิดต้องกระทำในราชอาณาจักร หรือผลกระทบต้องเกิดในราชอาณาจักร จึงจะดำเนินคดีได้
การจะถือว่าความผิดใดได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ต้องปรากฏว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดในราชอาณาจักรที่บริเวณ ตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรและผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 แต่อย่างใด จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี จำเลยไม่ต้องคืนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้จัดการขัดขวางการดำเนินคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของห้าง โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างมีอำนาจกระทำการแทนห้าง เพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายเนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจร่วมกับผู้ร้องเพื่อดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากการที่ผู้อื่นฉ้อโกงห้างทำให้ห้างเสียหาย แม้คำร้องขอของผู้ร้องจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 73 เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาวินิจฉัยคดีได้ดังนั้นหากได้ความจริงตามคำร้องขอศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6726/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากการเพิกเฉยไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาล
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินต้นแต่ละช่วงเวลาจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ทั้งในส่วนของต้นเงินและดอกเบี้ยของเงินต้นแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวนับถึงวันฟ้องด้วย แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเฉพาะตามทุนทรัพย์ในส่วนของต้นเงินยังขาดในส่วนของดอกเบี้ย เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลที่ขาดอยู่จากจำเลยให้ครบถ้วน และศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระ กรณีถือได้ว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้
บริษัท น. ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวจากบริษัท ร. ผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทุกอย่างทั่วโลกจากเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิในภาพยนต์พิพาทแต่ผู้เดียวในประเทศไทย เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยนำเอาแถบบันทึกภาพและเสียงภาพยนต์หรือวีดีโอเทปของภาพยนต์พิพาท ออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ภาพยนต์พิพาทซึ่งบริษัท น. มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย บริษัท น. จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้
of 26