คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดำเนินคดีซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย: การดำเนินคดีซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ต้องเป็นการฟ้องร้องระหว่างคู่ความเดียวกัน
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 เป็นการห้ามศาลไม่ให้ดำเนินคดีนั้นต่อไปอีกจะเป็นทั้งคดีหรือเฉพาะแต่ประเด็นใดประเด็นหนึ่งก็ได้ซึ่งต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีนี้โจทก์จำเลยยังไม่เคยดำเนินคดีฟ้องร้องว่ากล่าวกันให้อีกฝ่ายหนึ่งรับผิดแต่อย่างใด กรณีจึงไม่เข้าตามมาตรา 144 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีซ้ำ และองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร: การพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ และความรู้เกี่ยวกับที่มาของทรัพย์สิน
แม้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจะเคยมีความเห็นว่าไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 145 , 146 ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีกเว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ การดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่เป็นการไม่ชอบ
ทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะพิเศษ เช่น นาฬิกามีรูปเป็นหัวงู บางชิ้นมีรูปชาวอิสลามอยู่ที่หน้าปัดเป็นของที่มีราคาแพง และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด จำเลยมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่า จำเลยซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด ทั่วไป และในฐานะดังกล่าวจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยทราบว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ที่จำเลยรับซื้อไว้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติดภายใต้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟู และถูกดำเนินคดีซ้ำ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 นั้น ผู้ที่จะถูกส่งตัวไปเข้ารับการฟื้นฟูคือบุคคลตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 จำเลยกระทำผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ข้อ 1 ก. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2553 ก่อนการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1 ข. ในระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2555 นั้น จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แต่จำเลยรายงานตัวไม่ครบตามกำหนดนัดถือว่าไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจจับจำเลยเข้าไปไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูและให้มีอำนาจลงโทษตาม มาตรา 32 แต่เมื่อได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามฟ้อง ข้อ 1 ก. และยังถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1 ข. ว่าผลการฟื้นฟู ไม่เป็นที่น่าพอใจในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน และถือว่าจำเลยอยู่ระหว่างต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอื่นซึ่งมีโทษจำคุกไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ต่อไป โดยยังไม่ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามฟ้องข้อ 1 ข. เช่นกัน