คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดุลพินิจลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อข้อโต้แย้งใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลล่าง และการใช้ดุลพินิจลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้สมฟ้องศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาที่ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่ชัดแจ้งพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ การที่จำเลยเพิ่งหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจลงโทษหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษจำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำผิดหลายกรรมให้เรียงกระทงลงโทษ 2 กระทง โดยลงโทษกระทงละ1 ปี รวม 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเบาลงหรือขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจลงโทษในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ละกระทงไม่เกินห้าปี การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยสมควรได้รับโทษเพียงกรรมเดียวจะเป็นฐานจำหน่ายเฮโรอีน หรือฐานมีเฮโรอีนไว้เพื่อจำหน่ายก็ได้ กับขอให้ลงโทษในสถานเบาด้วยนั้น เป็นการฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเทียบเคียงสำนวนคดีอื่นเพื่อใช้ดุลพินิจลงโทษ และความชอบธรรมในการลดโทษซ้อน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 581 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เฉพาะอันตราโทษ เป็นจำคุก 3 เดือน และให้รอการลงโทษไว้ภายในกำหนด 2 ปี เป็นการแก้ไขมาก โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงได้
การใช้ดุลพินิจในการลงโทษ ศาลอาจจะพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ศาลเคยถือกำหนดในการวางโทษเพื่อเทียบเคียงหยั่งความหนักเบาของโทษได้ ศาลจึงย่อมจะนำสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณาได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11981/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาเกี่ยวกับดุลพินิจลงโทษ
ป.อ. มาตรา 285 เป็นเหตุฉกรรจ์หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก ประกอบมาตรา 285เป็นลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก แม้จะแก้โทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่ง, การใช้ดุลพินิจลงโทษ, และการแก้ไขคำพิพากษา
แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณาจะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า เข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่นั้นยังคงเป็นอำนาจของศาลยุติธรรม มิใช่คู่ความมีคำโต้แย้งแล้วต้องส่งไปทุกกรณี จำเลยยื่นคำร้องว่า ป.อ. มาตรา 177 และ ป.วิ.อ. มาตรา 182, 188, 190 และมาตรา 192 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 3, 4, 5, 25, 26, 27, 29 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ และมาตรา 188 โดยไม่ปรากฏเหตุผลแห่งการโต้แย้ง จึงเป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในเรื่องการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับบทกฎหมาย การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน และการตีความกฎหมาย หาใช่โต้แย้งบทมาตราแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์นายหนึ่งมิได้ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาให้ครบองค์คณะนั้น ก็มิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญอันจะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอีกเช่นกัน คำโต้แย้งของจำเลยไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 212 ที่ศาลฎีกาจะต้องส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย