คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดูถูก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจากความขัดแย้งเรื่องทรัพย์สินและการดูถูก
ผู้ตายกับจำเลยเคยมีสาเหตุกันเนื่องจากผู้ตายแบ่งเงินจากการขายรถจักรยานยนต์ที่ลักมาให้จำเลยน้อยและพูดจาดูถูกจำเลยเสมอ วันเกิดเหตุผู้ตายกับจำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ไปด้วยกันเนื่องจากจำเลยลวงผู้ตายว่ามีผู้สนใจจะซื้อรถจักรยานยนต์เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยใช้อาวุธปืนที่พาติดตัวไปยิงผู้ตายในลักษณะจ่อยิงด้านหลัง แล้วลากศพไปทิ้งไว้ในป่า และนำรถจักรยานยนต์ไปซ่อนไว้ ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยทะเลาะกับผู้ตาย เช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้วางแผนตระเตรียมการที่จะฆ่าผู้ตายไว้ล่วงหน้าแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6671/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะจากคำดูถูกและทำร้ายร่างกาย ศาลลดโทษจากเหตุผลพิเศษ
ผู้ตายและจำเลยเป็นสามีภรรยากัน ก่อนเกิดเหตุผู้ตายด่าโคตรพ่อโคตรแม่จำเลย ว่าจำเลยเป็นกะหรี่ บุคคลผู้ต่ำต้อยยากจนไล่จำเลยออกจากบ้านและใช้ไม้ขว้างจำเลย การที่ผู้ตายด่าว่าจำเลยในลักษณะดูถูกเหยียดหยาม ทั้งด่าไปถึงบุพการีของจำเลยและใช้ไม้ขว้างแสดงกิริยาคุกคามทำร้ายจำเลยเช่นนั้น ย่อมทำให้จำเลยรู้สึกแค้นเคืองเป็นอย่างมากเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทโดยการใช้คำดูถูกเหยียดหยามและการเพิกถอนการให้เนื่องจากเนรคุณ
หากจำเลยกล่าวขึ้นมึงกูต่อโจทก์ผู้เป็นบิดา ไม่นับถือโจทก์ว่าเป็นบิดาเปรียบโจทก์ว่าเป็นสุนัขและว่าโจทก์เป็นคนเลวไม่มีศีลธรรม จะฟ้องให้ต้องโทษถึงจำคุกจริงดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง ย่อมทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องเพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูถูกเจ้าพนักงานกับการหมิ่นประมาทตามมาตรา 116: การตีความคำว่า 'เซ่อ' และ 'บ้า'
กล่าวหาเจ้าพนักงานว่าเซ่อและบ้าเช่นนี้ต้องมีผิดตาม ม.116 ตามม.116 เป็นเรื่องดูถูก ไม่ใช่เรื่องใส่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชกต่อยพยานในศาล ไม่ถือเป็นการดูถูกหรือหมิ่นประมาทศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยชกต่อยพะยานในศาลขณะที่ผู้พิพากษายังไม่ได้ออกนั่งพิจารณา ไม่เรียกว่าเป็นการดูถูกหรือหมิ่นประมาทศาลตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ม.136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน/ผู้พิพากษา แม้พ้นหน้าที่ก็ผิดได้ การกล่าวใส่ร้ายด้วยถ้อยคำที่ดูถูกและใส่ความเข้าข่ายความผิด
กล่าววาจาใส่ร้ายหมิ่นประมาทผู้พิพากษาเพราะเหตุที่ได้กระทำการตามหน้าที่ แม้จะกล่าวเมื่อพ้นจากที่ได้กระทำตามหน้าที่แล้ว ก็ต้องมีผิดตาม ม.116 ทั้งเป็นผิดตาม ม.282 ด้วย แต่ไม่เป็นผิดตาม ม.136 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง หน้าที่นำสืบ คำกล่าวที่เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ม.282 นั้น เพียงแต่อาจทำให้เจ้าทุกข์เสียขื่อเสียงหรือทำให้คนทั้งหลายดูหมิ่นหรือเกลียดชังก็ต้องเป็นผิดฐานนี้ โจทก์หาจำต้องสืบว่าเจ้าทุกข์ได้รับความเสียชื่อเสียงอย่างใดไม่ กล่าวใส่ร้ายว่าผู้พิพากษากินไข่ โจทก์นำสืบว่าหมายความถึงกินินบนจำเลยต้องมีผิดฐานหมิ่นประมาทกะทงโทษ กล่าวคำหมิ่นประมาท 2 คราวแต่ละคราวเป็นผิดตาม ม.116-282 ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในบทที่หนักตามมาตรา 282 -70-71 ได้ ฎีกาอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงเจตนาหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นผู้อื่น: การใช้คำว่า 'ตอแหล' เป็นการดูถูกเหยียดหยาม และประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอายการวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไร เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "ตอแหล" ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหาย จึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393
การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่ได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นหมิ่นประมาทและเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันว่าส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นแห่งคดี เมื่อจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเป็นเหตุยกเว้นความผิดของจำเลย จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นแห่งคดีและโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การกระทำที่จะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นจำต้องกระทำการนั้น เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำเนื่องจากเชื่อโดยสุจริตว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้งจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 200 บาท ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามฟ้องต่อผู้เสียหายนั้น มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและป้องกันชื่อเสียงของตนที่ถูกใส่ร้าย การตกอยู่ในวงล้อมของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและมีการตามเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้เข้ามาอีก ทำให้จำเลยตกอยู่ในสภาวะคับขันนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการอ้างข้อเท้จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22