คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดูหมิ่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นด้วยถ้อยคำหยาบคายและการเปรียบเทียบเป็นสัตว์ต่อหน้าบุคคลที่สาม
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่น: การตีความถ้อยคำ 'ขี้ข้า' บริบทการใช้งานและเจตนาของผู้กล่าว
คำว่า "ดูหมิ่น" ตาม ป.อ. มาตรา 393 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยามทำให้อับอายเป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำที่กล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่น: คำกล่าวอ้างถึงการใช้งานผู้อื่น มิใช่การเหยียดหยามโดยตรง
คำว่า "ดูหมิ่น" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำดังกล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำกล่าวของจำเลยในที่ประชุมกรรมการโรงเรียนซึ่งผู้เสียหายเป็นประธานการประชุมที่ว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียน รวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เป็นการพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและครูในโรงเรียนว่าถูกผู้เสียหายใช้งานเยี่ยงคนรับใช้ แม้จำเลยใช้คำว่า "ขี้ข้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพมากล่าวในที่ประชุม แต่เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึง ตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากผู้รับมีพฤติกรรมเนรคุณต่อผู้ให้ โดยการใช้คำพูดดูหมิ่นเหยียดหยามและอกตัญญู
โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจำเลย ได้ยกที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยโอนที่ดินบางส่วนให้แก่ พ. โจทก์จึงไปพบจำเลยเพื่อขอให้จำเลยคืนที่ดินดังกล่าวให้แก่ ช. และ ส. ซึ่งเป็นพี่น้องของจำเลย จำเลยด่าโจทก์ว่า "อีเฒ่า มึงไม่มีศีลธรรม ไม่ยุติธรรม ยกที่ดินให้กูแล้วมึงยังจะให้กูแบ่งที่ดินให้คนอื่นอีก" ดังนี้ การที่จำเลยเรียกโจทก์ว่าอีเฒ่าและขึ้นมึงกูกับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเป็นการแสดงถึงความดูหมิ่นเหยียดหยาม และไม่ให้ความเคารพผู้ให้กำเนิด ทั้งการกล่าวว่าโจทก์ไม่มีศีลธรรม เป็นการกล่าวหาว่าโจทก์เป็นคนประพฤติไม่ดี ไม่ชอบ อันเป็นการลบหลู่และอกตัญญูต่อมารดาผู้มีพระคุณ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้
ที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งโจทก์มีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อโจทก์ยกให้จำเลยจึงเป็นการสละเจตนาการครอบครอง การครอบครองของโจทก์ผู้ให้ย่อมสิ้นสุดลง จำเลยผู้รับย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครอง แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกที่ดินดังกล่าวคืนได้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ว่าที่ดินดังกล่าวจะได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นที่ดินมีโฉนดไปแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7353/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาซ้ำ ความเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับบริษัท
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้แบ่งพนักงานหรือลูกจ้างไว้เป็น 2 ประเภท คือประเภทผู้บังคับบัญชากับประเภทพนักงานธรรมดา โดยถือเอาระดับตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานเป็นเกณฑ์ พนักงานที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานในงานทุกส่วนถือว่าเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งสิ้น มิได้ถือว่าผู้ที่มีอำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งการพนักงานคนใดจะเป็นผู้บังคับบัญชาเฉพาะของพนักงานคนนั้นเท่านั้น เมื่อ ก. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการอาคาร มีระดับเป็นหัวหน้างานในอาคาร ก. จึงเป็นผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านี้โจทก์เคยดูหมิ่น พ. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์และจำเลยได้ตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่ต่อมาโจทก์กล่าวดูหมิ่น ก. เกี่ยวกับการทำงานอีกจึงเป็นการดูหมิ่นผู้บังคับบัญชาอันเป็นการทำผิดซ้ำคำเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(4) จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่เจ้าพนักงานและการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ศาลยกฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้เสียหายเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่พิพาทกันในเขตปกครองท้องที่ ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานที่ดินทำการชี้เขตรังวัดที่ดินที่พิพาทกัน ณ เขตรับผิดชอบอันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหาย ไปร่วมรังวัดที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีเจ้าพนักงานที่ดินไปร่วมรังวัดที่ดินด้วยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าว ในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
การที่ศาลชั้นต้นฟังว่า ผู้เสียหายไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจำเลยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นผู้เสียหายเพราะได้กระทำการตามหน้าที่พิพากษาลงโทษจำเลย เป็นการพิพากษาโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่มิได้ กล่าวในฟ้อง ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยโดยเห็นว่า การที่ผู้เสียหายไปรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งนั้น ไม่ใช่การปฏิบัติการตามหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านหรือเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457มาตรา 10,27 และพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถือว่า ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า ผู้เสียหายไปเป็นพยานในการรังวัดที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาทของราษฎรในทางแพ่งเป็นการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเจ้าพนักงานนั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะหลังถูกดูหมิ่น: ลดโทษจากทำร้ายร่างกายเป็นปรับ
ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย2 ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดดูหมิ่น-หมิ่นประมาทจากการเบิกความเท็จต่อศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 136, 326, 90และ 91 คำฟ้องที่โจทก์บรรยายไว้มีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5)แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว ทั้งฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งถ้อยคำเบิกความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทและดูหมิ่นไว้เพียงพอ ที่จะทำให้จำเลยที่ 2เข้าใจข้อหาทั้งสองได้ดี โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องแยกว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาหมิ่นประมาทและส่วนใดเป็นความผิดในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
จำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานของจำเลยที่ 1 ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาว่า ในขณะที่โจทก์ทำหน้าที่สืบสวนหามูลคดีในเรื่องที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ถูก ด. กับพวก ร้องเรียนกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันข่มขู่ให้จำเลยให้การปรักปรำ ด. โดยโจทก์ได้เรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เพื่อเป็นการตอบแทนในการปั้นพยานอันเป็นการสร้างพยานหลักฐานที่ไม่เป็นความจริงให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ความจริงโจทก์ไม่เคยเรียกร้องเงินจำนวน 30,000 บาทจากจำเลยที่ 1 ตามที่จำเลยที่ 2 เบิกความ การที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ถูกสอบสวนเอาความผิดทางวินัยในเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ เพราะกรณีเช่นนี้ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 อาจจะรอผลการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ก็ได้ ดังนั้น ถ้อยคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใส่ความโจทก์ โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโจทก์ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตาม ป.อ. มาตรา 329 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดที่ไม่สุภาพต่อหน้าธารกำนัล ไม่ถึงขั้นดูหมิ่น ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำความผิดอาญา
สาเหตุที่โจทก์พูดว่าจำเลยนั้น เนื่องจากโจทก์ไม่พอใจที่จำเลยไม่จ่ายเงินรางวัล (tip) ให้แก่โจทก์ จึงเกิดมีการทะเลาะโต้เถียงกัน แล้วโจทก์จึงพูดว่าจำเลยเป็นนายจ้างที่ใช้ไม่ได้ พูดจากลับกลอก เดี๋ยวว่าให้เดี๋ยวว่าไม่ให้นั้น เป็นเพียงคำพูดที่ไม่สุภาพ ไม่ถึงกับเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าต่อหน้าธารกำนัลถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นทางวาจา: ถ้อยคำท้าทายไม่ได้เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136
การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 คือ "ดูหมิ่น" ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทให้อับอาย ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อสิบตำรวจตรี ข.ว่า "แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย" เห็นได้ว่าเป็นการกล่าวท้าทายให้สิบตำรวจตรี ข.ออกมาต่อสู้กับจำเลย อันเป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจำเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้สิบตำรวจตรี ข.อับอาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 136
of 12