คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตกลงกันเอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินด้วยการโอนชื่อในหลักฐานภาษีบำรุงท้องที่ มิใช่การโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน คู่สัญญาตกลงกันเองได้
โจทก์ได้ทำสัญญามัดจำซื้อขายที่ดินจำนวน 6 แปลง จากจำเลยในราคา 1,200,000 บาท โดยในวันดังกล่าวโจทก์ได้วางเงินมัดจำให้แก่จำเลยจำนวน 350,000 บาท และจะจัดการโอนที่ดินต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าในขณะซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการซื้อขายโดยการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยจดแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองต่อกัน ดังนั้น ข้อความในสัญญามัดจำที่ว่า "คู่ความตกลงกันว่าจะได้ทำพิธีโอนกรรมสิทธิ์กันต่อเจ้าพนักงาน" จึงหมายถึงการโอนที่ดินพิพาทต่อกันโดยเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองในหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ใบ ภ.บ.ท.5 โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานและส่งมอบการครอบครองกันนั่นเอง ซึ่งจำเลยก็พร้อมที่จะโอนที่ดินพิพาทโดยวิธีดังกล่าวนี้แล้ว แต่โจทก์เป็นฝ่ายไม่ยอมรับโอน ฉะนั้นจำเลยจึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ตกลงกันเอง มีผลเป็นหนี้ค้างชำระ แม้ฐานะเปลี่ยนแปลงก็ไม่อาจขอเปลี่ยนแปลงได้
การตกลงยอมความกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันเองโดยศาลมิได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น หากต่อมาปรากฏว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 ได้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลจะสั่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 นั้น ต้องเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูที่จะพึงต้องชำระในอนาคต จะสั่งย้อนไปเกี่ยวกับเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างชำระอยู่ก่อนแล้วหาได้ไม่
การที่บุคคลจะไม่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1595 นั้น มุ่งหมายสำหรับงวดกาลข้างหน้าเท่านั้น ส่วนการอุปการะเลี้ยงดูที่ค้างเกี่ยวอยู่ในครั้งอดีตนั้น ยังคงตกเป็นภาระในอันที่จะต้องรับผิดต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนการขายฝาก: ใช้สิทธิทางศาลหรือตกลงกันเองก็ได้ กำหนด 10 ปีเป็นเงื่อนไขการไถ่ ไม่ใช่อายุความ
การที่ผู้ขายฝากไปขอไถ่ถอนกันเอง และไปร้องขอไถ่ถอนต่ออำเภอก่อนครบ 10 ปี แต่ผู้ซื้อฝากไม่ยอมและหลบตัวไปเสียกลับมาต่อเมื่อเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ ถือว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่ถอนในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว จึงมาฟ้องศาล ขอไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากได้
การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากตามมาตรา 494 มิได้บังคับว่าต้องใช้สิทธิทางศาล อาจขอไถ่ถอนกันเองก็ได้ และกำหนดเวลา 10 ปีไม่ใช่อายุความฟ้องร้องเป็นเงื่อนไขแห่งเวลาสำหรับไถ่ถอนเมื่อผู้ซื้อฝากผิดเงื่อนไขสัญญาขายฝากจึงเกิดอายุ ความฟ้องร้องในเรื่องผิดสัญญา