พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อตกลงกันไม่ได้ การรับเงินมัดจำมีเงื่อนไข สัญญาไม่ผูกพัน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2ถึงที่5เมื่อวันที่15กรกฎาคม2532โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่1เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง3แปลงพบจำเลยที่1กับจำเลยที่4เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน10,000บาทให้จำเลยที่1ไว้และจำเลยที่1ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่2กลับมาได้ปรึกษาและสอบถามแล้วเห็นว่ายังไม่ควรขายตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืนดังนี้แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน10,000บาทที่จำเลยที่1รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่1และที่4จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อนเมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่1ได้แจ้งปฎิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้นจำเลยที่1และที่4จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างปิดงานเมื่อข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ และการดำเนินกิจการต่อไปได้
บริษัทจำเลยและสหภาพแรงงานฯ ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ด้วยได้แจ้งข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อกัน แม้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยแล้วก็ไม่สามารถตกลงกันได้ จำเลยได้เสนอข้อตกลงไปยังลูกจ้างโดยตรง ลูกจ้างจำนวน 623 คน เห็นด้วยจึงทำสัญญาตามข้อเสนอของจำเลย โจทก์และลูกจ้างประมาณ 90 คน ไม่เห็นด้วยและไม่ยอมทำสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนได้โดยชอบและไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ในระหว่างปิดงาน
การปิดงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 5 มิได้บังคับว่านายจ้างต้องหยุดหรือปิดกิจการทั้งหมดและจะให้ลูกจ้างอื่นทำงานต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการไปตามปกติหรือมีสิทธิให้พนักงานอื่นเข้าทำงานต่อไปได้
การปิดงานตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 5 มิได้บังคับว่านายจ้างต้องหยุดหรือปิดกิจการทั้งหมดและจะให้ลูกจ้างอื่นทำงานต่อไปไม่ได้ ฉะนั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินกิจการไปตามปกติหรือมีสิทธิให้พนักงานอื่นเข้าทำงานต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประมูลเช่าทรัพย์สิน: สัญญาเช่ายังไม่สมบูรณ์หากตกลงเงื่อนไขสำคัญไม่ได้
จำเลยจัดให้มีการประมูลด้วยวาจาให้เช่าอาคารซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โจทก์เป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอค่าธรรมเนียมการเช่าให้แก่จำเลยสูงสุด ปรากฏว่าตามเงื่อนไขการประมูลการเช่า ผู้เสนอราคาสูงสุดอาจมิใช่เป็นผู้ได้เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยเพราะจำเลยอาจยกเลิกการประมูลการเช่าเสียได้ และตามประกาศเปิดประมูลการเช่าก็ถือว่าเป็นเพียงคำชี้ชวนซึ่งระบุเงื่อนไขไว้เพียงสังเขปมิได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเมื่อโจทก์ผู้ยื่นคำเสนอเข้าประมูลเป็นผู้ประมูลในราคาสูงสุดและจำเลยได้สนองรับคำเสนอของโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยจะได้ตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขรายละเอียดและเข้าทำสัญญากันอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาเมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียดซึ่งโจทก์จำเลยถือว่าเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นกรณีจึงถือได้ว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปิดงาน-นัดหยุดงาน: ข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ นายจ้าง/ลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ว่าข้อขัดแย้งนั้นจะเกิดจากฝ่ายใดเป็นฝ่ายแจ้งหรือข้อเรียกร้อง ถ้าได้ดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วแต่มิอาจตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้น นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานหรือนัดหยุดงานได้แล้วแต่กรณี ไม่ใช่จะมีสิทธิเฉพาะฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุได้ หากตกลงค่าเช่าไม่ได้ สัญญาเช่าไม่เกิดขึ้น ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาเช่าซึ่งระบุว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้วหากผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไป ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีก และค่าเช่าจะได้ตกลงกันภายหลังนั้น เป็นเพียงผู้ให้เช่าให้โอกาสผู้เช่าที่จะต่อสัญญาเช่าได้อีก ในเมื่อตกลงค่าเช่ากันเรียบร้อยแล้ว และไม่มีพันธะผูกพันผู้ให้เช่าว่าจะเรียกร้องค่าเช่ามากน้อยเพียงใด เมื่อผู้ให้เช่ากำหนดอัตราค่าเช่าแล้ว ผู้เช่าไม่สนองรับ ก็เป็นอันตกลงค่าเช่ากันไม่ได้ สัญญาเช่าต่อไปย่อมไม่เกิด
เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าแล้วและสัญญาเช่าต่อไปไม่เกิด เพราะตกลงอัตราค่าเช่ากันไม่ได้ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับผู้เช่าได้ และถือไม่ได้ว่าผู้ให้เช่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาเช่าแล้วและสัญญาเช่าต่อไปไม่เกิด เพราะตกลงอัตราค่าเช่ากันไม่ได้ผู้ให้เช่าย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับผู้เช่าได้ และถือไม่ได้ว่าผู้ให้เช่าใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีหุ้นส่วนเลิก: สิทธิฟ้องศาลแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อตกลงกันเองไม่ได้
การชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1061 จะตกลงกันให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดด้วยกันเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้ หรือจะตกลงกันให้แต่งตั้งบุคคลใดอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีก็ได้ ในการตกลงกันแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าว ก็ชอบที่จะต้องนำคดีมาสู่ศาลขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีต่อไป อันเป็นการใช้สิทธิทางศาล ไม่ใช่ว่าจะต้องร่วมกันจัดตั้งผู้ชำระบัญชีโดยคะแนนเสียงข้างมากเสมอไป
ที่กฎหมายระบุไว้ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากนั้น มีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงให้มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกันเองได้ ก็ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากเท่นั้น ซึ่งถ้าไม่ตกลงหรือตกลงกันไม่ได้ที่จะให้มีการแต่งตั้งโดยคะแนนเสียงข้างมาก ก็ชอบที่จะมาขอให้ศาลแต่งตั้งได้
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลตั้ง ล. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยให้การว่าโจทก์จะตรงมาฟ้องศาลขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีไม่ได้ และหากศาลเห็นสมควรตั้งผู้ชำระบัญชีก็ควรตั้งคนกลางที่เหมาะสมเช่นหัวหน้ากองหมาย ฯลฯ เป็นต้น เมื่อศาลตั้งหัวหน้ากองหมาย ซึ่งโจทก์ก็แสดงว่าพอใจแล้ว จำเลยจะว่าไม่สมควรหรือพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่ได้
ที่กฎหมายระบุไว้ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากนั้น มีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงให้มีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกันเองได้ ก็ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากเท่นั้น ซึ่งถ้าไม่ตกลงหรือตกลงกันไม่ได้ที่จะให้มีการแต่งตั้งโดยคะแนนเสียงข้างมาก ก็ชอบที่จะมาขอให้ศาลแต่งตั้งได้
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลตั้ง ล. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยให้การว่าโจทก์จะตรงมาฟ้องศาลขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีไม่ได้ และหากศาลเห็นสมควรตั้งผู้ชำระบัญชีก็ควรตั้งคนกลางที่เหมาะสมเช่นหัวหน้ากองหมาย ฯลฯ เป็นต้น เมื่อศาลตั้งหัวหน้ากองหมาย ซึ่งโจทก์ก็แสดงว่าพอใจแล้ว จำเลยจะว่าไม่สมควรหรือพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินร่วม (ที่ดิน) โดยศาลเมื่อตกลงกันไม่ได้ ศาลมีอำนาจแบ่งตามส่วนโดยมิชักช้า
ที่ดินหลายโฉนดแต่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน แต่ละโฉนดเป็นของเจ้าของร่วมสองคนเมื่อศาลเห็นว่าการแบ่งที่ดินอาจทำได้โดยไม่เสียหายศาลอาจสั่งให้แบ่งให้เจ้าของร่วมคนหนึ่งได้ที่ดินโฉนดหนึ่งทั้งโฉนด และให้อีกคนหนึ่งได้อีกสองโฉนดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขายฝิ่นและการเสนอราคาต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตต์เมื่อราคาตกลงกันไม่ได้
ในสัญญาซื้อขายฝิ่นมีข้อความว่า ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันว่าราคาฝิ่นที่กำหนดไว้ในสัญญานั้นฉะเพาะฝิ่นที่บริสุทธิ์เท่านั้น ถ้าคุณภาพหรือความบริสุทธิ์ของฝิ่นเลวไปกว่านั้น ผู้ขายให้ลดราคาลงตามส่วนโดยจะยอมรับเงินค่าฝิ่นเท่าที่ผู้ซื้อจะจ่ายให้ แล้วให้เสนอเรื่องต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตต์เป็นผู้วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออธิบดีวินิจฉัยชี้ขาดกำหนดราคาให้เท่าใด ผู้ขายยินยอมรับคำวินิจฉัยเป็นยุตติเด็ดขาด ดังนี้ศาลฎีกาแปลสัญญาว่า ถ้าคณะกรรมการ (ผู้ซื้อ) และโจทก์ (ผู้ขาย) ตกลงราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพกันได้แล้วเรื่องก็ไม่มีปัญหาถึงอธิบดีกรมสรรพสามิตต์จะต้องมีการเสนอรับคำวินิจฉัยของอธิบดีก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ตกลงกันในเรื่องราคาฝิ่นที่เสื่อมคุณภาพนั้นเท่านั้น
คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์ (ผู้ขาย) ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฎว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังซึ่งเป็นทางราชการนั้นจะนำมาประกอบการแปลสัญญาเป็นการผูกมัดโจทก์ (ผู้ขาย) ซึ่งเป็นคนนอกและไม่ปรากฎว่าได้ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนี้หรือรู้เห็นคำสั่งนี้ด้วยไม่ได้