พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง: การประเมินความเสียหายจากการตกแต่ง, ดอกเบี้ย, และการกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 421.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 142,246,247.พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6,18(3),21. โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน 2533โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(3)และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา 18(3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบจึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าอยู่นี้อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
มาตรา 421.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 142,246,247.พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6,18(3),21. โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน 2533โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(3)และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา 18(3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบจึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าอยู่นี้อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรหินอ่อน: หินอ่อนตกแต่งแล้วหรือยังไม่ตกแต่ง
หินอ่อนพิพาทมีผิวเรียบและหนาประมาณ 1.5 ถึง 3 เซนติเมตร เป็นรอยเว้าแหว่งเฉพาะที่ขอบเท่านั้น เห็นได้ว่ามิใช่เป็นการเลื่อยจากหินก้อนใหญ่ที่ระเบิดจากภูเขา หรือเลื่อยให้เป็นชิ้นใหญ่ ๆ หรือแผ่นหยาบ ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะดวกแก่การยกเคลื่อนย้ายไปยังโรงงาน แต่เป็นการเลื่อยที่ประณีตมีลักษณะเรียบตรง และไม่ปรากฏรอยคล่องเลื่อย ถือได้ว่าเป็นหินอ่อนที่ตกแต่งแล้วจัดอยู่ในพิพกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 68.02 หาใช่หินอ่อนที่ยังไม่ผ่านการตกแต่ง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 25.15 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช่าช่วง-ตกแต่ง-ค่าเสียหาย: การตกแต่งตามแบบผู้ให้เช่าเดิมไม่ถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ
จำเลยเช่าช่วงห้องทำการค้า เสียค่าตกแต่งไป 100,000 บาทโดยทำตามแบบที่ผู้ให้เช่าเดิมกำหนด ไม่มีข้อตกลงกับโจทก์ผู้เช่าเดิมไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าเช่าธรรมดา โจทก์เลิกสัญญาแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบห้องคืน ค่าเสียหายคือค่าเช่าที่โจทก์ควรได้รับในการเช่าห้องนั้น