พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปได้ หากเงื่อนไขไม่สำเร็จผล ทำให้คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไป โจทก์ฟ้องซ้ำได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกับคดีหลัง แต่คดีก่อนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีหลังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นคดีหนึ่งซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นกัน จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีหลัง โจทก์จึงฟ้องคดีหลังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเกินกำหนดระยะเวลาใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การขอบังคับคดีจึงเป็นอันตกไป
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงร่วมเดินรถด้วยกันโดยจะนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตบริษัทละเท่าๆ กัน เมื่อกรมการขนส่งทางบกออกใบอนุญาตให้จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางซึ่งสิ้นอายุวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 การที่โจทก์ที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยบรรจุรถยนต์โดยสารของโจทก์ทั้งสองเข้าร่วมเดินรถเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เป็นการขอบังคับคดีที่ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยต้องรับผิด ศาลจึงไม่อาจบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าชี้ขาดคดีต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลง หากเงื่อนไขไม่เป็นไปตามนั้น คำท้าเป็นอันตกไป ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
โจทก์และจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้สั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทำแผนที่พิพาทหากพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทแล้วปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8049หรือนอกเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วโจทก์ยอมแพ้แต่ถ้าหากที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033แล้วจำเลยยอมแพ้โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานต่อไปต่อมาเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้วไม่สามารถให้ความเห็นได้ว่าที่พิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินแปลงใดเนื่องจากไม่สามารถรังวัดปูโฉนดได้เพราะที่ดินตามโฉนดเดิมไม่มีระวางโยงยึดและหมุดหลักที่แน่นอนจึงยังถือไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่าที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดศาลจึงยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้เป็นไปตามคำท้าของโจทก์และจำเลยได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นตรวจดูแผนที่พิพาทและระวางแผนที่อีกครั้งหนึ่งแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานแล้วพิพากษาโดยนำตำแหน่งของที่พิพาทมาเปรียบเทียบกับระวางแผนที่แล้ววินิจฉัยว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่8033ให้จำเลยแพ้คดีตามคำท้าจึงเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าคำท้าของโจทก์จำเลยย่อมเป็นอันตกไปศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการชี้สองสถานหากจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับของพินัยกรรมและการตกไปของเงื่อนไขเนื่องจากเหตุการณ์ไม่สมบูรณ์
ข้อความในพินัยกรรมข้อ 1 ระบุว่า แม้ พ.และ ล.จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรม หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียว แต่พินัยกรรมข้อ 2 ระบุว่า "แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้" การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ 2 ด้วย ทั้งพินัยกรรมข้อ 2 ข.ระบุว่า หาก พ.ตายก่อน ล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมด แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรม ข้อ 2 เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วย มิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ 1 อยู่แล้ว และพินัยกรรมข้อ 2 ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ ล.ถึงแก่ความตายภายหลังอีก พินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ 2 เท่านั้น หาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ 1 มีผลบังคับเป็นหลักไม่
เมื่อบุตรของโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมา และ ล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับ พ.ได้ถึงแก่ความตายก่อน พ.ข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อ 2 ค.ที่ระบุให้ ล.ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่ จึงเป็นอันตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(2) เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ เมื่อ ล.ตายก่อน พ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ 2 ก. ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้ พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ 2 ข. ที่ พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้า พ.ตายก่อน ล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมด จึงตกไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698 (2) โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของ พ.ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ.ได้
เมื่อบุตรของโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมา และ ล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับ พ.ได้ถึงแก่ความตายก่อน พ.ข้อกำหนดพินัยกรรม ข้อ 2 ค.ที่ระบุให้ ล.ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่ จึงเป็นอันตกไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1698(2) เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ เมื่อ ล.ตายก่อน พ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ 2 ก. ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้ พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ 2 ข. ที่ พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้า พ.ตายก่อน ล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมด จึงตกไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1698 (2) โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของ พ.ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับของพินัยกรรม: ลำดับเงื่อนไขและการตกไปของข้อกำหนดเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ
ข้อความในพินัยกรรมข้อ1ระบุว่าแม้พ.และล. จะได้แสดงเจตนายกทรัพย์สินของตนที่มีอยู่ขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวแต่พินัยกรรมข้อ2ระบุว่า"แต่พินัยกรรมนี้ให้เงื่อนไขดังนี้"การยกทรัพย์สินให้โจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1จึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมข้อ2ด้วยทั้งพินัยกรรมข้อ2ข.ระบุว่าหากพ.ตายก่อนล. ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนี้ทั้งหมดแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมที่ประสงค์ให้พินัยกรรมข้อ2เป็นเนื้อหาของพินัยกรรมด้วยมิฉะนั้นแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องระบุอีกเพราะมีข้อกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ตามพินัยกรรมข้อ1อยู่แล้วและพินัยกรรมข้อ2ข. ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงไม่มีทรัพย์ตามพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่โจทก์ในกรณีที่ล. ถึงแก่ความตายภายหลังอีกพินัยกรรมดังกล่าวจึงมีเนื้อหาและผลบังคับตามข้อกำหนดในพินัยกรรมข้อ2เท่านั้นหาใช่ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ1มีผลบังคับเป็นหลักไม่ เมื่อบุตรของโจทก์อุ้มท้องอยู่ในขณะที่มีการทำพินัยกรรมได้แท้งก่อนที่จะคลอดออกมาและล.ผู้ทำพินัยกรรมร่วมกับพ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนพ. ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ2ค.ที่ระบุให้ล. ยกทรัพย์ให้บุตรโจทก์ที่โจทก์อุ้มท้องอยู่ถ้าได้คลอดออกมามีชีวิตอยู่จึงเป็นอันตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)เพราะเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้เมื่อล. ตามก่อนพ.พินัยกรรมจึงมีผลบังคับตามข้อ2ก.ที่ระบุให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งแบ่งให้พ. ข้อกำหนดพินัยกรรมที่เหลือในข้อ2ข. ที่พ.แสดงเจตนาไว้ว่าถ้าพ.ตายก่อนล.ให้โจทก์ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมทั้งหมดจึงตกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1698(2)โจทก์จึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะผู้รับทรัพย์มรดกของพ. ตามพินัยกรรมมาฟ้องจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของพ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: เมื่อฟ้องเดิมตกไปแล้ว การฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้จะเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเดิมของโจทก์ถูกยกฟ้องเสียแล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไปด้วยจึงไม่มีคำฟ้องใดที่ศาลอีก จำเลยอุทธรณ์เฉพาะฟ้องแย้งไม่ได้ เพราะฟ้องโจทก์ถูกยกเสียแล้วศาลก็ต้องยกอุทธรณ์ของจำเลยเสีย ดังนี้ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำให้สิทธิเรียกร้องทางศาลเป็นอันตกไป
ผู้เสียหายให้จำเลยกู้ยืมเงิน 10,000 บาท โดยจำเลยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือให้ไว้นั้น เป็นการยืมเงินเกิน 50 บาท โดยมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
ฉะนั้น ผู้เสียหายจึงไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลกับจำเลยได้ตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14729/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ตกไปพร้อมคำฟ้องเดิม ศาลต้องพิจารณาต่อไปตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสามบัญญัติว่า "จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก" บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจจำเลยจะฟ้องโจทก์มาในคำให้การได้ ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้งคดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิมคงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้นหามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13357/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปเนื่องจากคู่ความผ่อนผันและไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้
เมื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความโดยตลอดแล้ว แสดงให้เห็นเจตนาว่าโจทก์ประสงค์จะนำที่ดินทั้งหมดกลับมาขายด้วยตนเอง แต่ใช้วิธีทยอยไถ่ถอนที่ดินจากธนาคารทีละจำนวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายผ่อนผันเวลาให้แก่กันเช่นนี้ จะอ้างว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ หากจำเลยทั้งสามผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ แต่โจทก์หาได้ดำเนินการไม่ และการที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ซึ่งที่ดินดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญของข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยทั้งสามเป็นการพ้นวิสัยไปด้วย คู่ความทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้ และสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เช่นนี้ คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม