พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่ตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สิน หนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯ เป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ตามระเบียบของทางราชการ คณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง หากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี หลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงาน ณ สถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้อง สมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง ทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ, การตรวจรับงาน, ความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่ราชการ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162 และ 341
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีหน้าที่ตรวจและควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญา แบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องแล้วให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ทราบพร้อมด้วยหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดยงานยังไม่แล้วเสร็จ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162(4) และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ สร้างความเสียหายแก่ราชการ มีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลังมีหน้าที่ตรวจและควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญาแบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจเห็นเป็นการถูกต้องแล้วให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อผู้มีอำนาจสั่งจ้างทราบพร้อมด้วยหลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดยงานยังไม่แล้วเสร็จเป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(4)และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานเท็จ เบิกจ่ายเงินเสียหาย
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 เป็นเจ้าพนักงานได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการตรวจ การจ้างการก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีหน้าที่ตรวจ และควบคุมการจ้างให้ดำเนินไปตามข้อกำหนดในสัญญา แบบแปลนและแผนผัง เมื่อตรวจ เห็นเป็นการถูกต้องแล้ว ให้รับมอบงานแล้วรายงานต่อ ผู้มีอำนาจสั่งจ้าง ทราบพร้อมด้วย หลักฐาน การที่จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 และจำเลยที่ 6 ได้ ทำหลักฐานใบตรวจรับงานจ้างเหมาแจ้งว่าจำเลยที่ 7 ได้ ก่อสร้างบ้านพักครูแล้วเสร็จตาม สัญญาจ้าง ทั้ง ๆ ที่เป็นความเท็จโดย งานยังไม่แล้วเสร็จ เป็นการรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162(4) และเป็นเหตุให้มีการเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างให้จำเลยที่ 7 รับไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับความเสียหายมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด และความรับผิดร่วมของเจ้าหน้าที่ตรวจรับงานบกพร่อง
โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้สร้างเขื่อนไม้อัดดินป้องกันน้ำท่วม ปรากฏว่าการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวบกพร่อง โจทก์ตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดคณะกรรมการชุดนี้ได้รายงานให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้ละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2518 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของ กทม. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยตรวจรับงานทั้งๆ ที่งานบกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้องจึงได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถ้าหากว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบความบกพร่องในการก่อสร้างดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างจะอ้างว่าการที่ได้ตรวจรับมอบงานนั้นก็เพราะเชื่อผู้ควบคุมงานก่อสร้างไม่ได้
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของ กทม. ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการควบคุมงานและกรรมการตรวจการจ้าง จำเลยตรวจรับงานทั้งๆ ที่งานบกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้องจึงได้จ่ายเงินให้ผู้รับจ้างไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถ้าหากว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบความบกพร่องในการก่อสร้างดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้างจะอ้างว่าการที่ได้ตรวจรับมอบงานนั้นก็เพราะเชื่อผู้ควบคุมงานก่อสร้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งและอาญาของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้รับจ้างเอกชน กรณีตรวจรับงานบกพร่อง ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 5 ข้อ 4 เกี่ยวกับการส่งมอบงานงวดที่ 3 อันเป็นงวดสุดท้าย คู่สัญญาทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างต้องมีการทดลองระบบทุกระบบที่ติดตั้งให้คณะกรรมการตรวจการจ้างรับว่าใช้ราชการได้ดี แต่ในการตรวจรับงานงวดที่ 3 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้ทำการทดลองทุกระบบ รวมทั้งไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าบกให้แก่เรือรบหลวงตามสัญญาอันจะทำให้ทราบว่าระบบไฟฟ้าบกใช้ราชการได้ดีหรือไม่ และต่อมาเมื่อมีการใช้ระบบไฟฟ้าบกแก่เรือรบหลวง ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ตามสัญญา เป็นเหตุให้เรือรบหลวง 5 ลำ ต้องเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ค่าบำรุงรักษา และค่าสึกหรอของเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าสูงกว่าการใช้ระบบไฟฟ้าบกเป็นเงิน 4,591,790.07 บาท นั้น เห็นได้ว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 5 ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกไม่ครบถ้วน และไม่มีประสิทธิภาพตามสัญญา อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา และเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุที่ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างทำของ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงเป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่บัญญัติให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี โดยสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องดังกล่าวมิใช่สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 601 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รับมอบงานจากจำเลยที่ 5 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้จากการที่จำเลยที่ 5 ผิดสัญญา การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 5 เพราะเหตุปฏิบัติผิดสัญญาต่อโจทก์ในวันที่ 25 กันยายน 2540 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 5 ให้ติดตั้งระบบไฟฟ้าบกก็เพื่อให้สามารถส่งกระแสไฟฟ้าจากภาคพื้นดินให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ ทำให้เรือรบหลวงนั้นไม่ต้องใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ต้องสิ้นเปลืองค่าน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องยนต์สึกหรอ และงานการติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามรูปแบบที่กำหนดตามสัญญาดังกล่าวก็มีรายละเอียดมาก ทั้งงานทั้งระบบก็มีมูลค่าค่าจ้างสูงถึง 5,600,000 บาท ย่อมมีเหตุผลที่โจทก์จะต้องตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ในการจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้าบกดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ โดยมีการกำหนดเป็นข้อสัญญาว่า ต้องมีการทดลองระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งทุกระบบ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจสอบและรับว่าใช้ราชการได้ดีด้วยนั้นเป็นข้อสำคัญที่จำเลยที่ 5 ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญานี้ โดยต้องทดลองในสภาพเช่นเดียวกับการใช้งานจริงตามวัตถุประสงค์ของสัญญาที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบนี้ให้แก่เรือรบหลวงด้วย มิใช่เพียงทดลองตรวจสอบระบบที่ติดตั้งโดยไม่ต้องทดลองจ่ายไฟฟ้าแก่เรือรบหลวงดังที่จำเลยที่ 5 ให้การแต่อย่างใด จำเลยที่ 5 มิได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าตามระบบที่ติดตั้งนี้ให้แก่เรือรบหลวงที่จอดเทียบท่าเทียบเรือแหลมเทียนว่าใช้งานได้เรียบร้อยดีหรือไม่ ย่อมเป็นการที่จำเลยที่ 5 ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อสัญญาดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาแล้ว
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 363/2537 ของศาลทหารกรุงเทพ ซึ่งกองทัพเรือโจทก์ในคดีนี้เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 โดยอัยการศาลทหารกรุงเทพดำเนินคดีแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาจึงเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีนี้ และปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์คดีนี้หรือไม่ จึงเป็นประเด็นโดยตรงที่โจทก์นำมาฟ้องในทางแพ่งเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีอาญาดังกล่าว และปรากฏตามคำพิพากษาคดีอาญาว่า มีการกล่าวอ้างและสืบพยานหลักฐานในปัญหาข้อเท็จจริงนี้แล้ว ซึ่งในที่สุดศาลทหารกรุงเทพก็ได้วินิจฉัยถึงสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าบกว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ต้องให้ผู้รับจ้างทดลองระบบทุกระบบรวมถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือด้วย และวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้รับจ้างไม่ได้ทดลองระบบทุกระบบต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจการจ้าง และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ได้ทดลองจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เรือ ทั้ง ๆ ที่ในวันตรวจรับงานมีเรือจอดที่ท่าเทียบเรือ การตรวจรับงานงวดที่ 3 ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้ทางราชการกองทัพเรือได้รับความเสียหาย และเมื่อคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งศาลทหารกรุงเทพได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพจึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในคดีนี้ และศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54 จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จงใจกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ตามคำฟ้อง
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการยื่นฟ้องคดีแพ่งคดีนี้ย่อมเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดอันมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 และ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสาม ไม่ใช่มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง แต่อย่างใด
ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่กรณีที่ต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาของศาลทหารกรุงเทพ หากแต่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในทางแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
จำเลยที่ 5 ไม่ได้ทดลองจ่ายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้าบกแก่เรือจริง แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ยังยอมรับมอบงานและรับรองว่างานถูกต้องตามสัญญาอันเป็นการเอื้อต่อการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 5 โดยมิชอบ จนเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในเรือรบหลวงในช่วงเวลาที่ต้องตรวจสอบเหตุบกพร่องของระบบไฟฟ้าบกที่จำเลยที่ 5 รับจ้างโจทก์ติดตั้ง อันมีเหตุแห่งความเสียหายและลักษณะแห่งความเสียหายเดียวกัน ย่อมมีผลให้มีจำนวนค่าเสียหายจำนวนเดียวกัน โดยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ไม่มีเหตุที่ควรกำหนดค่าเสียหายแตกต่างกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับที่จำเลย ที่ 5 ต้องรับผิดจากการผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ร่วมกันทำละเมิดต้องรับผิดร่วมกันอย่างลูกหนี้ร่วม แต่สำหรับจำเลยที่ 5 แม้ต้องรับผิดในหนี้จำนวนเดียวแต่เป็นหนี้เงินซึ่งมิใช่หนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ ทั้งมูลเหตุแห่งความรับผิดในมูลละเมิดและการผิดสัญญาก็แตกต่างกัน จำเลยที่ 5 จึงมิใช่ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 290
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2555)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง: การชำระค่าจ้าง, การตรวจรับงาน, การแก้ไขข้อบกพร่อง, และการเลิกสัญญาโดยปริยาย
การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานย่อมต้องระบุรายการของงานและข้อที่อ้างว่าเป็นความบกพร่องเพื่อที่คู่สัญญาจะได้นําไปพิจารณาแก้ไข และที่สัญญากำหนดให้การสั่งแก้ไขข้อบกพร่องของงานให้กระทำโดยจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรก็ด้วยเจตนาให้เป็นหลักฐานชัดเจนเพื่อป้องกันการโต้แย้งกันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง การทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงโจทก์ตามสัญญาจึงย่อมหมายถึงการส่งคำสั่งเป็นหนังสือให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่สัญญา ส่วนการส่งข้อความสนทนากันทางแอปพลิเคชันไลน์ หากจะให้ถือเป็นการออกคำสั่งในการแก้ไขงาน ก็ต้องปรากฏทางปฏิบัติที่ชัดแจ้งว่า คู่สัญญาประสงค์ให้ใช้คำสั่งเช่นนั้นได้
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญา แต่เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว พนักงานของจําเลยก็จัดทำใบขอให้จ่ายเงินเพื่อเสนอจําเลยให้อนุมัติจ่ายเงินแก่โจทก์ แต่จําเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ทำงานบกพร่องจึงยังไม่ชําระเงินโดยไม่โต้แย้งเรื่องการทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา พฤติการณ์ตามที่ปฏิบัติต่อกันดังกล่าวแสดงว่า โจทก์และจําเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์ส่งมอบงานแก่จําเลยแล้ว แต่จําเลยไม่ตรวจรับมอบงานตามสัญญา หรือจําเลยมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์แก้ไขงานที่ตรวจรับแล้วพบว่ามีความบกพร่องและจําเลยไม่ชําระค่างานแก่โจทก์ตามสัญญา โดยที่สัญญาว่าจ้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ย่อมมีสิทธิบรรเทาความเสียหายด้วยการไม่ทำงานในงวดต่อไปได้ หากไม่ได้รับค่าจ้างตามผลงานที่เกิดขึ้นจริง ส่วนการที่จําเลยต้องว่าจ้างบริษัท อ. เข้าดำเนินการแทนก็เป็นเหตุอันเนื่องมาจากจําเลยเป็นฝ่ายไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงก่อน โจทก์จึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในส่วนการริบเงินประกันนั้น ตามสัญญากำหนดว่าหากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ระบุไว้ จําเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรแก่โจทก์ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วจําเลยจึงจะมีสิทธิริบเงินประกันหรือหลักประกันที่โจทก์มอบให้ไว้แก่จําเลยได้ตามสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจําเลยบอกเลิกสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จําเลยจึงไม่มีสิทธิริบเงินประกันผลงานของโจทก์ตามสัญญา แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่เข้าทำงานในงวดต่อ ๆ ไปให้แล้วเสร็จตามสัญญา ส่วนจําเลยก็ไม่ชําระค่าจ้างและได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเข้าทำงานแทนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจําเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์และจําเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตรวจรับงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์โดยเจตนาทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162(4)
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจการจ้างโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จัดทำเอกสารและลงลายมือชื่อทำการตรวจรับงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว งวดที่ 10 และ 11 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 อันเป็นการรับรองเป็นหลักฐาน ซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (4) ประกอบมาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับพร้อมกัน โดยถือเอาคำฟ้องโจทก์ที่กล่าวหาจำเลยที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารตรวจรับงานโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน เป็นการกระทำความผิด และความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จและจะเป็นความผิดต่อเมื่อเจ้าพนักงานผู้นั้นลงลายมือชื่อรับรองในเอกสารดังกล่าว ตราบใดที่เจ้าพนักงานผู้นั้นยังไม่ได้ลงลายมือรับรองเอกสารแล้วความผิดยังไม่เกิดขึ้น สัญญาโครงการก่อสร้างถนน คสล. สายบวงสรวง - น้ำร้อน กำหนดอายุโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 8 มิถุนายน 2551 จึงไม่ใช่วันกระทำความผิด เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับรองเอกสารตรวจรับงาน ส่วนจำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ได้ทำหนังสือขอส่งมอบงานงวดที่ 10 และ 11 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้วก็ไม่มีผลทำให้เกิดการกระทำความผิดในวันที่ 8 มิถุนายน 2551 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 จำเลยที่ 3 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในใบตรวจรับงานจ้างเหมาว่า จำเลยที่ 6 ทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จ และได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงถือว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2551 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 จึงอยู่ภายในอายุความสิบปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
หนังสือส่งงานก่อสร้างว่า จำเลยที่ 6 ได้ทำงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เป็นความเท็จ ซึ่งความจริงงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่างานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายที่จำเลยที่ 6 ทำหนังสือส่งงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างต้องไม่รับตรวจงานจ้างดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กลับทำใบรับงานจ้างเหมาว่าผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จและได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 จึงเห็นสมควรจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงเป็นการทำเอกสารในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86
หนังสือส่งงานก่อสร้างว่า จำเลยที่ 6 ได้ทำงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เป็นความเท็จ ซึ่งความจริงงานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่างานงวดที่ 10 งวดที่ 11 และงวดสุดท้ายที่จำเลยที่ 6 ทำหนังสือส่งงานก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างต้องไม่รับตรวจงานจ้างดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กลับทำใบรับงานจ้างเหมาว่าผู้รับจ้างทำงานงวดที่ 10 และ 11 ถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาจ้างแล้วเสร็จและได้ส่งมอบงานถูกต้องเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2551 จึงเห็นสมควรจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างตามสัญญา ตามใบตรวจรับงานจ้างเหมา จึงเป็นการทำเอกสารในฐานะคณะกรรมการตรวจการจ้างรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ส่วนจำเลยที่ 3 ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานจึงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 162 (4) (เดิม) และมาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 86