พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนายจ้างในการสั่งตรวจร่างกายลูกจ้างที่ลาป่วย และการเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และได้รับอนุญาตให้ลาจนครบกำหนด และมาทำงานแล้ว ก็ตาม หากจำเลยสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่หรือใช้สิทธิลาป่วยไม่สุจริต ก็ชอบที่จะสั่งให้โจทก์ไปตรวจกับ แพทย์อื่นซึ่งจำเลยจัดให้เพื่อตรวจสอบว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ หากการตรวจปรากฏว่าโจทก์ป่วยจริงและใช้สิทธิ ลาป่วยโดยสุจริตก็จะเป็นผลดีแก่โจทก์ คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานที่มีเหตุผลชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โจทก์ต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกรณีไม่ร้ายแรง จำเลยได้มีหนังสือตักเตือนโจทก์ และยืนยันคำสั่งให้โจทก์ปฏิบัติตามโจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงลงโทษให้พักงานโจทก์ 11 วัน และยืนยันให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอีก เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีสิทธิออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย จึงเป็นคำสั่งที่ ชอบด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และเป็นการปฏบัติถูกต้องตามขั้นตอนของข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วและคำสั่งดังกล่าวถือได้ว่าไม่ใช้คำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
เมื่อจำเลยปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนในการลงโทษตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างกรณีพักงานให้แก่โจทก์ ส่วนเรื่องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น โจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และไม่เข้าด้วยกรณีตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกระทำความผิด และเพราะฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย โดยที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนแล้ว ซึ่งมีผลไม่เกินหนึ่งปีนับแต่โจทก์ได้รับทราบหนังสือเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) และข้อ 45 จำเลยจึง ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นทางการแพทย์โดยไม่ตรวจร่างกาย: ไม่เป็นละเมิดหากให้ความเห็นโดยสุจริตและเป็นกลาง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติอย่างไรในการที่จะต้องตรวจร่างกายหรือจิตใจของโจทก์เสียก่อนจึงจะให้ความเห็นได้ และมิได้บรรยายว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้ความเห็นเป็นผลร้ายโดยตรงแก่โจทก์การที่จำเลยซึ่งเป็นแพทย์ได้ให้ความเห็นอย่างเป็นกลางในวิชาความรู้ทางการแพทย์ และมิได้ยืนยันเป็นเด็ดขาดว่าโจทก์เป็นโรคชนิดใด ถือได้ว่าจำเลยให้ความเห็นโดยสุจริตไม่เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเป็นเท็จอันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อการกระทำของจำเลยตามฟ้องโจทก์ไม่เป็นละเมิด ศาลก็พิพากษายกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่จำต้องรับฟังพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2719/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานข่มขืนจากการตรวจร่างกายและพยานหลักฐานทางการแพทย์
แม้จะได้ความว่าจำเลยถลกกระโปรงและถอด กางเกงในของผู้เสียหาย และจำเลยลงเหนือเข่า โดยจำเลยนอนทับผู้เสียหายและใช้เข่าแยกขา ผู้เสียหายออกก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงจากการที่แพทย์ตรวจร่างกาย ของผู้เสียหายในวันเกิดเหตุว่า ไม่ปรากฏรอยช้ำของอวัยวะเพศไม่พบรอยฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี และไม่พบเชื้อ อสุจิในช่องคลอดของผู้เสียหาย ดังนี้ ย่อมแสดงว่าอวัยวะเพศของจำเลยยังมิได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดเพียงพยายามข่มขืนกระทำชำเราเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การภาคทัณฑ์แพทย์จากข้อเท็จจริงการจ่ายยาโดยมิได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด การกระทำเข้าข่ายขาดความรับผิดชอบและอาจเป็นเหตุเลื่อมเสียเกียรติศักดิ์
การสอบสวนของแพทยสภาจำเลยจะชอบด้วยกระบวนการสอบสวนหรือไม่ ต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาปรับเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ในคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นการสอบสวนชอบหรือไม่ จำเลยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่ากระบวนการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลย จึงไม่ชอบเพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยอาจจะนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเอง จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย
โจทก์ไม่ได้ตรวจร่างกาย ป. ก่อนที่ ส. จะจ่ายมา เมื่อยาดังกล่าวเป็นไดอาซีแพมหรือแวเลี่ยมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 และเออโกตามีน ทาร์เตรต ซึ่งเป็นยาอันตราย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้และอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ การที่คณะกรรมการของแพทยสภาจำเลยเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์เป็นอันตรายต่อสังคมทั่วไปและเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทย์สภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 2 และมีมติภาคทัณฑ์โจทก์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 39 (3) จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบ
โจทก์ไม่ได้ตรวจร่างกาย ป. ก่อนที่ ส. จะจ่ายมา เมื่อยาดังกล่าวเป็นไดอาซีแพมหรือแวเลี่ยมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 และเออโกตามีน ทาร์เตรต ซึ่งเป็นยาอันตราย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้และอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ การที่คณะกรรมการของแพทยสภาจำเลยเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวของโจทก์เป็นอันตรายต่อสังคมทั่วไปและเป็นพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับแพทย์สภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวด 1 ข้อ 2 และมีมติภาคทัณฑ์โจทก์ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 มาตรา 39 (3) จึงเป็นดุลพินิจที่ชอบ