คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตรวจสอบข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขับไล่ที่ดิน: เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งมอบการครอบครอง
ที่ดินพิพาทมีสภาพเป็นที่ดินที่มีการปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เท่านั้นไม่มีต้นไม้อื่นหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินพิพาท ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่จำเลยและบริวารจะต้องอยู่ครอบครองตลอดเวลา เมื่อทำการปลูกต้นยูคาลิปตัสเสร็จแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมาเฝ้าดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ผู้แทนโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปที่ที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดี ตามรายงานที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่พบจำเลยหรือบุคคลใดอยู่ในที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีควรจะต้องสอบถามจำเลยหรือกระทำการอย่างใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแน่นอน การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรับฟังคำแถลงของผู้แทนโจทก์ซึ่งแถลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นชั่วขณะต่อหน้าแล้วด่วนชี้ขาดว่าทรัพย์ที่ต้องจัดการตามคำพิพากษานั้นไม่มีผู้ใดอยู่อาศัยจึงมอบการครอบครองทรัพย์นั้นให้แก่โจทก์ในทันทีไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งจะให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลมีผลบังคับเด็ดขาดให้เสร็จสิ้นไป และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปยึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้บันทึกว่า "จำเลยได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วยว่าตนยังไม่ได้ออกไปจากที่ดินพิพาทโดยปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดินพิพาท" อันแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ตลอดเวลาจำเลยและบริวารมิได้ย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทนี้เลย การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบันทึกมอบการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ จึงเป็นการมีคำสั่งโดยผิดหลงในข้อเท็จจริง คดีจึงต้องฟังว่า จำเลยและบริวารยังมิได้ขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา ตราบใดที่จำเลยและบริวารยังอยู่บนที่ดินของโจทก์ ยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้โจทก์จะเคยร้องขอบังคับคดีมาแล้วไม่เป็นผลก็ขอให้บังคับคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความบกพร่องในการบริการโทรศัพท์ การตัดฟิวส์โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่โจทก์ค้างชำระ เลยงวดการชำระหนี้หลายงวด และได้มีการชำระในงวดหลังหลายงวด บางงวดก็นานมากแล้วนอกจากนี้ยังเคยปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการจากโจทก์ผิดพลาดมาก่อนถึง 2 ครั้ง ย่อมเป็นเหตุอันควรที่โจทก์จะสงสัยว่าได้ชำระไปแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะโต้แย้งและขอตรวจสอบได้. จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาด เมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4 เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์ มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์ เหตุที่มีการปลดฟิวส์ จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้าง ไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่าย ซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4 พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์ โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความเท็จเกี่ยวกับการสัมปทานที่ดิน: ผู้ว่าฯ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดว่าได้กระทำเอกสารและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จในเรื่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานจากกระทรวงมหาดไทยให้เข้าไปทำการเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องที่แห่งหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์สิทธิและสอบสวนเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอสัมปทานคือนายอำเภอท้องที่มิใช่จำเลยเรื่องราวที่นายอำเภอสอบสวนเสนอความเห็นต่อจำเลยและจำเลยเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีถือไม่ได้ว่าเป็นความเท็จถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จและความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นในภายหลังซึ่งมิใช่การกระทำของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ปรากฏในสำนวนฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จโจทก์มีอำนาจฟ้องจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารราชการ (รายงานประจำวัน) ไม่ใช่เอกสารมหาชน หากไม่มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
เอกสารใดจะเป็นเอกสารมหาชนหาได้ถือเอาแต่การที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นตามอำนาจหน้าที่ของตนไม่ แต่ข้อความในเอกสารนั้นต้องพาดพิงถึงประชาชนในทางใดทางหนึ่ง ทั้งต้องกระทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเอกสารนั้นได้ ด้วยการตรวจสอบหรืออ้างอิงข้อเท็จจริงจากเอกสารดังกล่าว แต่รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นเพียงเอกสารราชการที่เจ้าพนักงานตำรวจทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่ามีการแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนอ้างอิงข้อเท็จจริงในเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นเอกสารมหาชน