พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: การตรวจสอบทรัพย์สินโดยเลขาธิการในกรณีเร่งด่วนชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 18, 19, 21, 22, 23
แม้การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่กรรมการแต่งตั้งก็ตาม แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านในคดีนี้ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ออกคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินและมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ด้วยเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและทำบันทึกการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนมีความเห็นขอให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กับคณะอนุกรรมการประจำคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีมติเห็นชอบตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอ ต่อมาคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดกับมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน ทั้งได้ส่งคำวินิจฉัยและขอให้พนักงานอัยการได้พิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่ได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบแม้การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านจะไม่ปรากฏรายชื่อของคณะอนุกรรมการหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการหรือผู้ร้องมิได้นำคณะอนุกรรมการมาเบิกความยืนยันว่าการตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งก็ตาม ก็หาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายต้องเสียไปไม่ ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้
แม้การดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่กรรมการแต่งตั้งก็ตาม แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านในคดีนี้ เลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้ออกคำสั่งให้ตรวจสอบทรัพย์สินและมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ด้วยเหตุมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทรัพย์สิน ยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านและทำบันทึกการพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนมีความเห็นขอให้คณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาวินิจฉัย เพื่อมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน กับคณะอนุกรรมการประจำคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีมติเห็นชอบตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอ ต่อมาคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำวินิจฉัยว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติดกับมีคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สิน ทั้งได้ส่งคำวินิจฉัยและขอให้พนักงานอัยการได้พิจารณายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินแล้ว ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งและตามที่ได้รับมอบหมาย จากเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบแม้การตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านจะไม่ปรากฏรายชื่อของคณะอนุกรรมการหรือความเห็นของคณะอนุกรรมการหรือผู้ร้องมิได้นำคณะอนุกรรมการมาเบิกความยืนยันว่าการตรวจสอบทรัพย์สินดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินแต่งตั้งก็ตาม ก็หาทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายต้องเสียไปไม่ ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลมีคำสั่งริบทรัพย์สินตามคำร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัวจากหนังสือทวงถามและการตรวจสอบทรัพย์สิน แม้มีระยะเวลาห่าง แต่ไม่มีทรัพย์สินเพิ่ม
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2531และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2532 เป็นการที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันแล้ว แม้หนังสือทวงถามครั้งที่สามและครั้งที่สี่ที่โจทก์ส่งให้จำเลยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 จะเป็นการส่งโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะจำเลยได้ย้ายออกไปจากบ้านที่ได้ส่งหนังสือแล้ว และมีระยะเวลาห่างจากการส่งหนังสือทวงถามในครั้งแรกและครั้งที่สองเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น แต่อย่างใด กรณีถือได้ว่าจำเลยต้องข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินในที่ดินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อทราบจำนวนที่แท้จริงที่ต้องจ่ายค่าทดแทนการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่คนอื่นโดยไม่ออกไปดูที่ดิน จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง หากจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเวลาไปตรวจสอบก็จะต้องไม่ลงชื่อร่วมกับอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินคนอื่นการที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อในใบตรวจสอบเป็นสาเหตุให้โจทก์เชื่อว่าราษฎรมีทรัพย์สินตามเอกสารดังกล่าวและจ่ายเงินค่าทดแทนตามที่อนุกรรมการเสนอเรื่องไปความเสียหายของโจทก์ที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ราษฎรเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1กับบุคคลอื่นให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์หรือฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ: ความประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบทรัพย์สินและการรับผิดร่วม
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จึงมีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อให้ทราบถึงจำนวนเงินที่แท้จริงที่โจทก์จะต้องจ่ายค่าทดแทนและค่ารื้อย้ายทรัพย์สินการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานของเจ้าหน้าที่คนอื่นแล้วร่วมลงชื่อ โดยมิได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และเป็นสาเหตุให้โจทก์จ่ายเงินค่าทดแทนทรัพย์สินของราษฎรตามที่คณะอนุกรรมการเสนอเรื่องไป ความเสียหายที่โจทก์จ่ายเงินทดแทนเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้ คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์คดีนี้ได้สอบสวนมีความเห็นว่า จำเลยทั้งหกเป็นผู้กระทำละเมิด ควรลงโทษทางวินัยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งหก ได้เสนอเรื่องราวตามลำดับชั้นจนถึงอธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2527 ในวันเดียวกันอธิบดีกรมโจทก์เห็นว่ายังไม่มีการเสนอเรื่องผ่านรองอธิบดีเป็นการผิดขั้นตอน จึงมีคำสั่งให้เสนอรองอธิบดีพิจารณาเรื่องก่อน รองอธิบดีเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมโจทก์เมื่อวันที่3 กุมภาพันธ์ 2527 และอธิบดีกรมโจทก์มีบันทึกเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2527 เมื่อปรากฏว่าในวันที่อธิบดีกรมโจทก์มีคำสั่งให้เสนอเรื่องต่อรองอธิบดีก่อนนั้นอธิบดีกรมโจทก์เพียงแต่อ่านหัวเรื่องและทราบว่ามีการสอบสวนเรื่องนี้เท่านั้น จึงยังฟังไม่ได้ว่า อธิบดีกรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดต่อโจทก์ในวันที่ 27 มกราคม 2527 กรณีต้องถือว่ากรมโจทก์รู้การละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดในวันที่ 6 กุมภาพันธ์2527 ซึ่งเป็นวันที่อธิบดีกรมโจทก์พิจารณาเรื่องราวและความเห็นของเจ้าหน้าที่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 28 มกราคม 2528ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรยื่นคำร้องริบทรัพย์หลังศาลตัดสิน: ความล่าช้าในการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นเหตุสมควรได้
เหตุอันสมควรที่แสดงได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27 นั้น มิใช่เหตุที่เกิดจากผู้ร้องฝ่ายเดียว หากมีเหตุอันสมควรเกิดจากความยุ่งยากและความซับซ้อนในการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็นับว่ามีเหตุอันสมควรเช่นกัน การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ไว้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2546 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้มีคำสั่งมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 แต่เพิ่งมีหนังสือถึงผู้ร้องให้ยื่นคำร้องขอริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ถูกตรวจสอบมีจำนวนไม่มาก ส่วนมากเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างมูลค่าไม่สูงมากหรือมีความซับซ้อนยากแก่การตรวจสอบและอยู่ในราชอาณาจักรสามารถตรวจสอบได้โดยง่าย กระบวนการตรวจสอบนับตั้งแต่ที่มีการยึดทรัพย์จนถึงวันที่แจ้งให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลใช้เวลากว่าสองปี นับว่าเป็นเวลานานเกินสมควร จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เมื่อไม่มีการขาย: ความรับผิดชอบของผู้ขออายัดจากการตรวจสอบทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้อง
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วแต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี พร้อมส่งโฉนดที่ดิน ภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง และเอกสารประกอบ โดยอ้างว่าเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์กล่าวอ้างจึงทำการยึดให้แล้วประเมินราคาทรัพย์ที่ยึด แจ้งการยึดให้เจ้าพนักงานที่ดินและจำเลยทั้งสองทราบ ปิดประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเรื่องการยึดทรัพย์ ณ ที่ตั้งทรัพย์ การยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงมีค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์หลงผิดในส่วนภาพถ่ายของที่ดินที่นำยึด ความจริงแล้วที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินว่างเปล่าไม่ปรากฏสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแก้ไขให้ถูกต้อง เท่ากับโจทก์ประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดสิ่งปลูกสร้างตามภาพถ่าย กรณีจึงเป็นการขอถอนการยึดทรัพย์ที่มีอยู่จริง จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายตามตาราง 5 หมายเลข 3 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และผู้ถูกกล่าวหาอ้างว่าเป็นเจ้าของ
พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 มาตรา 12 บัญญัติว่า "บรรดาคดีที่ได้มีการสั่งตรวจสอบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดท้ายพระราชบัญญัติใช้บังคับ ให้คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน คณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานอัยการ และศาล ดำเนินการตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" ดังนั้น กรณีที่มีคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 และค้างการพิจารณาอยู่ไม่ว่าในชั้นใด ก็ต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อคดีนี้มีการสั่งตรวจสอบทรัพย์สินก่อนประมวลกฎหมายยาเสพติดใช้บังคับ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเสพติด พ.ศ.2534