คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตรวจสอบหลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังชี้สองสถาน: ข้อบกพร่องของโจทก์ในการตรวจสอบหลักฐานก่อนฟ้อง
เมื่อปรากฏจากคำร้องของโจทก์ว่า เอกสารอันเป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังมียอดหนี้เพิ่มเติมจากยอดหนี้ที่โจทก์ยื่นฟ้องไว้เดิมอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้องคดี แสดงว่าโจทก์สามารถตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวได้ตั้งแต่ก่อนฟ้องคดีแล้ว แต่โจทก์ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ละเอียดก่อนฟ้องคดีว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าไรกันแน่ การที่โจทก์เพิ่งทราบยอดหนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เพิ่มหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องและศาลชั้นต้นชี้สองสถานไปแล้วนับเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ความบกพร่องดังกล่าวไม่อาจจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวก็หาใช้ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง จึงไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้คำฟ้องได้หลังวันชี้สองสถานตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติยกเว้นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตรวจสอบหลักฐานประกอบการขออนุญาตขนส่งถูกต้อง การเรียกเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลังไม่ชอบ
รถยนต์โดยสารของโจทก์มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เปลี่ยนสี ไม่มีหมายเลขตัวถังรถ ไม่ปรากฎเลขแชชชีเดิมประกอบกับรายละเอียดน้ำหนักรถและจำนวนที่นั่งผู้โดยสารในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์กับใบรับรองการตรวจสภาพรถแตกต่างกันมาก กองวิศวกรรมการขนส่งของจำเลยที่ 4จึงออกหมายเลขตัวถังรถให้ใหม่และหมายเหตุเรื่องการเปลี่ยนแปลงไว้ในหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ ต่อมาโจทก์ขอชำระภาษีรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวที่กรมการขนส่งทางบกจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่อันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ที่ยื่นพร้อมกับคำขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลของโจทก์ จึงมีอำนาจที่จะสั่งให้ปฏิบัติการอันเกี่ยวกับการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆเหล่านั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการทำหลักฐานทางทะเบียนปลอมหรือมีการนำรถซึ่งได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาขอรับใบอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร ประกอบกับความจำเป็นในการตรวจสอบหลักฐานของโจทก์ซึ่งมีข้อที่น่าสงสัยหลายประการ อันเป็นการจำเป็นที่จำเลยต้องใช้เวลาในการตรวจสอบไปยังหน่วยราชการอื่น ๆ หลายแห่งเป็นเวลานานพอสมควร การกระทำของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 เป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และได้กระทำไปไม่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันละเมิดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ มาตรา 167 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯมีความหมายแต่เพียงว่า รถที่ได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ไว้แล้ว และยังไม่ครบกำหนดเวลาที่ได้เสียภาษีไว้ ระหว่างนั้นเจ้าของรถได้นำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกฯ ก็ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้เสียตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เท่านั้น ไม่มีข้อความให้อำนาจจำเลยที่ 4เรียกเก็บภาษีย้อนหลังหรือที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้เลย ที่จำเลยที่ 4 เรียกเก็บภาษีรถยนต์ของโจทก์ที่ค้างชำระตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ก่อนที่โจทก์จะนำรถมาจดทะเบียนต่อจำเลยที่ 4 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องเสียภาษีตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนประกอบการขนส่งและขอชำระภาษีเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับ หากไม่ตรวจสอบหลักฐานและจ่ายเงินโดยมิชอบ ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่งอะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไร เมื่อใดและทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใด ไม่มีข้อความใดเคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาทั้งตามคำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอนใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงไม่เคลือบคลุม.
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิดแต่ศาลแพ่งได้จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะจำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้มีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณา พิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อศาลแรงงานกลางในเรื่องใดย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าต้องฟ้องตามเรื่องเดิม
คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นถึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจพ.ศ. 2518 ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อสั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เป็นการสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยตรง ไม่ผ่านการติดต่อของ ว.ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนินธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากข้อ 5 แล้ว ข้อ 7 กำหนดให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตนเป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อแผนกขายเพื่อพิจารณา ตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกขายทำบันทึกเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ โดยไม่มีผู้มาขอรับและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ เสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนว่า ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนินธุรกิจ หรือไม่จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่งรักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจ ให้ไปโดยความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสุจริตในการทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ และสิทธิในการอายัดทรัพย์
ก่อนทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยได้ตรวจสอบหลักฐานรถยนต์ที่มีผุ้นำมาขอแลกว่าหมายเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ตรงกับในทะเบียนรถยนต์และรูปถ่ายในบัตรประจำตัวประชาชนที่ผู้ขอแลกนำมาแสดงก็ตรงกับผู้ขอแลกซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของรถไม่ปรากฏว่าทะเบียนมีพิรุธว่าเป็นของปลอมหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขอแลกไม่ใช่เจ้าของรถแม้จำเลยจะไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนยังกองทะเบียนกรมตำรวจก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์โดยสำคัญผิดด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนจำเลยย่อมมีสิทธิอายัดรถยนต์พิพาทหรือทะเบียนรถยนต์พิพาทได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตจำเลยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12-13/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนทางวินัย - อำนาจดุลยพินิจ - การละเว้นการตรวจสอบหลักฐาน - การแจ้งข้อกล่าวหา
การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเชื่อรายงานและความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนที่ตนตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่าผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการของโจทก์ยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญหรือไม่โดยละเว้นการตรวจดูหลักฐานต่าง ๆ ด้วยตนเองก็ดี ไม่เสาะหา ความจริงจากผู้อื่นก็ดี ไม่ทักท้วงการสอบสวนที่มีแต่รายงานชี้แจงแทน บันทึกการสอบสวนก็ดี จะฟังว่าผู้อำนวยการโรงเรียนปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยไม่สุจริตและกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่
เมื่อกรณีของโจทก์ไม่ใช่เรื่องกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบ และไม่ได้ให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาด้วย จึงหาใช่เป็นการปฏิบัติโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้และการหยุดอายุความ: การตรวจสอบหลักฐานและการยืนยันเจตนาชำระหนี้
ลูกหนี้รับหนังสือทวงหนี้จากเจ้าหนี้แล้วมีหนังสืบตอบไป 2 ฉบับ ๆ แรกไม่ปฏิเสธหนี้แต่ขอตรวจสอบหลักฐานก่อน ถ้ามีหนี้อยู่จริงก็จะชำระให้ ส่วนฉบับที่ 2 ต่อเนื่องจากฉบับแรก ไม่ปฏิเสธหนี้เหมือนกัน แต่เร่งรัดให้ส่งหลักฐานไปเพื่อพิจารณาดำเนินการให้ต่อไป ซึ่งหมายความว่า ถ้าตรวจทราบว่าเป็นหนี้อยู่จริงก็จะชำระให้ ดังนี้ หนังสือตอบทั้ง 2 ฉบับ ต่างเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172