คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตราจอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละเจตนาครอบครองที่ดินหลังได้รับตราจอง ทำให้ขาดอำนาจฟ้องเพิกถอนการซื้อขาย
เมื่อ พ.ศ. 2497 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาน้อยของ จ. ได้แจ้งชื่อโจทก์ จ.และบุตรโจทก์ 2 คนที่เกิดกับสามีคนเดิมเป็นผู้ครอบครองที่ดินมือเปล่าเพื่อขออกตราจองหลังจากนั้นไม่นานโจทก์ทะเลาะกับภรรยาาหลวงแล้วอพยพไปอยู่ต่างจังหวัดไปได้สามีใหม่ทางราชการออกตราจองให้ในปี พ.ศ. 2499 โจทก์ไม่ได้มารับ และไม่เคยกลับมาที่พิพาทอีกเลย เห็นได้ว่าโจทก์ได้สละเจตนาครอบครองไปก่อนออกตราจองแล้ว โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนการซื้อขายที่พิพาทอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามตราจองที่ได้ทำประโยชน์แล้ว และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา 11วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" นั้นผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย" หมายความว่าตราจองนั้นมีผลเท่ากับโฉนดเมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วและมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทและจะเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามตราจองนี้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์ อันมีอายุความ10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
โจทก์ได้เข้าครอบครองปรปักษ์ในที่พิพาทยังไม่ถึง10 ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองและการได้มาโดยครอบครองปรปักษ์ อายุความ 10 ปี
พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา 11 วรรคสองที่บัญญัติว่า "ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" นั้นผู้ถือมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย" หมายความว่าตราจองนั้นมีผลเท่ากับโฉนดเมื่อที่ดินที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วและมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทและจะเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามตราจองนี้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์ อันมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
โจทก์ได้เข้าครอบครองที่พิพาทโดยเข้าทำนาโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ ในที่พิพาทโดยทางครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีตราจองทำประโยชน์แล้ว ถือเป็นกรรมสิทธิ์ ครอบครองปรปักษ์ 10 ปี
ที่ดินมีตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว เป็นที่มีกรรมสิทธิ์ ตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 มาตรา11วรรคสอง ต้องครอบครองปรปักษ์ 10 ปี ตาม มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลวินิจฉัยสถานะทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ และการเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราจอง
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 4 ได้แบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็น 3 ประเภท คือทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (เว้นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อที่ดินมีตราจองในคดีนี้ยังอยู่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่สำนักงานทรัพย์สินสวนพระมหากษัตริย์ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลของผู้ร้องแล้วจึงมีปัญหาว่าที่ดินตามตราจองนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือไม่ การวินิจฉัยปัญหานี้เป็นอำนาจของศาลที่จะวินิจฉัยเจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตรา จองมาเป็นนามผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเปลี่ยนนามผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตราจองจากพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ มาเป็นนามของผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ เพื่อผู้ร้องจะได้ดำเนินการขอเปลี่ยนจากตราจองเป็นโฉนดต่อไปได้
ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องขอให้ลงชื่อผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์นั้นเป็นการขอถือกรรมสิทธิ์แทนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการจัด การทรัพย์สิน จึงไม่ใช่การจดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 เจ้าพนักงานที่ดินจะอาศัยบทกฎหมายดังกล่าวจดทะเบียนลงชื่อผู้ร้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งทรัพย์สินมรดก: สิทธิครอบครองเดิมสำคัญกว่าชื่อในตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม การแบ่งแยกที่ดิน และผลของการครอบครองก่อนรับตราจอง
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 นั้นยอมสืบหักล้างได้ว่าความจริงมีอยู่อย่างไร มารดาแบ่งที่นามือเปล่าให้บุตร 2 คนครอบครองกันเป็นส่วนสัด เป็นเนื้อที่ไม่เท่ากัน แล้วมารดาขอออกตราจองที่นาแปลงนั้นเป็นฉบับเดียวกันการออกตราจองนี้ถือว่ามารดามิได้มีเจตนาจะถือว่าที่ดินเป็นของตน เพราะได้สละการครอบครองให้บุตรไปแล้ว เมื่อออกตราจองแล้วมารดาก็โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรทั้งสองนั้น.โดยมิได้ระบุว่าส่วนของคนไหนมีเนื้อที่เท่าใด ดังนี้ เมื่อบุตรจะขอแยกตราจอง ต่างก็ได้ที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองกันอยู่ตลอดมานั้น มิใช่จะได้คนละส่วนเท่ากัน และเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่เรื่องการครอบครองที่ของผู้อื่นโดยทางปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินจากตราจองก่อน พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน และความชอบด้วยกฎหมายของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
โจทก์ได้รับตราจองซึ่งตราว่า 'ทำประโยชน์แล้ว' ตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 บังคับใช้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่วันได้รับตราจองตามพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ตลอดมา
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยออกทับที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และที่พิพาทอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ฉะนั้น เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์จึงไม่มีอำนาจที่จะออก หนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 672-675/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมีตราจอง: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมาย, การครอบครองปรปักษ์ และผลของตราจอง
ที่ดินมีตราจองออกโดยชอบเมื่อ พ.ศ.2465 และเมื่อพ.ศ.2468 ได้บันทึกไว้ว่าได้ทำประโยชน์แล้วต่อมาได้ถูกโอนกันมาหลายทอดจนกระทั่ง พ.ศ.2495 จึงตกมาเป็นของโจทก์โดยโจทก์รับซื้อฝากไว้โดยสุจริตจากจ. เจ้าของเดิม และการซื้อขายฝากนี้กระทำกันโดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินรายเดียวกันนี้โดยจำเลยซื้อจากผู้อื่นเมื่อ พ.ศ.2484,2485 และ 2496 แต่สัญญาของจำเลยกระทำกันที่อำเภอจึงไม่ใช่เป็นการได้สิทธิโดยชอบทางทะเบียน เพราะที่ดินรายนี้มีตราจองแล้วการจดทะเบียนที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนที่ดินจำเลยจึงยกสิทธิในการที่ได้ซื้อที่ดินนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การที่มีหมายเหตุแจ้งไว้ในตราจองว่า เมื่อไม่ทำประโยชน์ ทอดทิ้งไว้เกิน 3 ปี ต้องเป็นที่ว่างเปล่านั้นเป็นเพียงระยะเวลาให้ทำประโยชน์เสียภายในกำหนด 3 ปีตราจองที่บันทึกว่าทำประโยชน์แล้วกฎหมายให้ถือว่าเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ ซึ่งหมายความว่ามีผลเท่ากับโฉนด ดังนั้นโจทก์จะเสียกรรมสิทธิก็ต่อเมื่อจำเลยได้กรรมสิทธิ์ไปโดยการครอบครองปรปักษ์อันมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่กำหนดเวลา 3 ปีดังกล่าวนั้น โจทก์รับซื้อฝากไว้ได้เพียงประมาณ7 ปี แม้จำเลยจะครอบครองมาก่อนเกิน 10 ปีก็ไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิในที่ดิน แม้มีตราจองก็ไม่ทำให้ได้สิทธิ หากการครอบครองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย และอายุความไม่ขาด
โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอยู่และเลยที่ 1 แย่งการครอบครองของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับตราจอง ก็หาได้สิทธิในที่ดินรายนี้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับโอนต่อ ๆ มาโดยทางยกให้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ไม่
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่ได้ยกเรื่องอายุความต่อสู้ในชั้นศาลอุทธรณ์ ย่อมฎีกาเรื่องอายุความไม่ได้
of 2