พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการนำเข้าตราไปรษณียากร โดยผู้รับจ้างชำระค่าสินค้าแทน
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตาม ป.พ.พ.มาตรา 587 และ ป.รัษฏากร มาตรา 77/1 (10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาท ต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากร ข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคา ซี.ไอ.เอฟ.จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัย การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินและตราไปรษณียากรของพนักงานรัฐ โจทก์ต้องพิสูจน์การจำหน่ายและยักยอกเงินที่ได้จริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ (ตราไปรษณียากร) ต้องพิสูจน์การจำหน่ายแล้วเบียดบังเงิน หากจำหน่ายไปแล้วเท่านั้นจึงจะมีความผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้ และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้เสียหายจากการยักยอกเงินค่าตราไปรษณียากร
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์: การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้เสียหายโดยตรงจากการยักยอกเงินค่าตราไปรษณียากร
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
จำเลยเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่หัวหน้าที่ทำการไปรษณีย์สาขา ได้รับฝากจดหมายและรับเงินค่าตราไปรษณียากรจากผู้ฝากหลายราย แล้วไม่จัดการผนึกตราไปรษณียากรบนจดหมายและจัดส่งไปตามหน้าที่.กลับยักยอกเอาเงินค่าตราไปรษณียากรซึ่งตกเป็นของการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียย่อมเกิดความเสียหายแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย