พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก/ละทิ้งหน้าที่ - การนับวันขาดงาน - การเลิกจ้าง - ค่าชดเชย - การตอกบัตรลงเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ
โจทก์มาทำงานในวันที่ 6 กันยายน 2537 การที่โจทก์ออกจากที่ทำงานไปก่อนเวลาเลิกงานโดยไม่ได้ตอกบัตรลงเวลา เลิกงาน แม้จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่แต่มิใช่เป็นการ ละทิ้งหน้าที่ตลอดทั้งวัน จะนำมารวมกับวันที่ 7 และ 8 กันยายน 2537 ซึ่งเป็นวันทำงานแต่โจทก์ไม่ได้มาทำงานเพื่อ ให้เข้ากรณีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(5) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2980/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท การตอกบัตรแทนเพื่อนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานแทนณ. ลูกจ้าง เพื่อแสดงเวลากลับจากทำงานของ ณ. ซึ่งมิได้กลับมาที่บริษัทจำเลยโดยได้ลงระหว่างทางซึ่งในวันดังกล่าว ณ. ก็ได้ไปทำงานจนสิ้นสุดเวลาทำงานปกติแล้ว เมื่อไม่ปรากฎว่าการตอกบัตรบันทึกเวลาทำงานกลับในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ ณ. หรือไม่ และไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงประการอื่นใดอีก การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างตอกบัตรทำงานแต่ไม่ได้ทำงานจริง การพิสูจน์เจตนาและความถูกต้องของคำสั่งลา
การที่โจทก์ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานโดยไม่ได้ทำงานตามเวลาที่มีการตอกบัตร จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุและพฤติการณ์ด้วยว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างไร การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ป่วย ได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานให้ลาได้เพื่อวินิจฉัยว่า ที่โจทก์ไม่อยู่ทำงานนั้นเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยตามประเด็นพิพาทที่กำหนดว่าโจทก์กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังตามพยานหลักฐานของจำเลยว่าการที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาทำงาน แล้วหยุดงานโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการโรงงาน เป็นการปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่า โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดจากหัวหน้างาน จึงมิได้ปฏิบัติผิดข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังตามพยานหลักฐานของจำเลยว่าการที่โจทก์ตอกบัตรลงเวลาทำงาน แล้วหยุดงานโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้จัดการโรงงาน เป็นการปฏิบัติผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่รับฟังว่า โจทก์ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดจากหัวหน้างาน จึงมิได้ปฏิบัติผิดข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12194-12198/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการตอกบัตรเวลาทำงาน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ชอบธรรม
การที่โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานล่วงเวลา เมื่อทำงานล่วงเวลาเสร็จแต่มิได้ตอกบัตรเพื่อลงเวลาเลิกงานด้วยตนเอง ซึ่งตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เรื่อง การตอกบัตรแทนกัน หากฝ่าฝืน จำเลยจะลงโทษสูงสุดโดยการปลดจากการเป็นพนักงานทันที ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาทำงานนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงถึงระยะเวลาที่ลูกจ้างของจำเลยแต่ละคนปฏิบัติงานในแต่ละวันแล้ว ยังเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานล่วงเวลาในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาซึ่งจำเลยได้ประกาศเตือนลูกจ้างแล้ว หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการตอกบัตรเวลาจำเลยจะเลิกจ้างทันที ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและการตอกบัตรเวลาทำงานมีความสำคัญที่จำเลยยึดถือเป็นหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การปกครองและระเบียบการทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะจำเลยที่มีลูกจ้างจำนวนมาก แม้โจทก์ยังมิได้เบิกค่าล่วงเวลา แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวส่อไปในทางทุจริต และถือได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายอย่างร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้และถือเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและเป็นธรรม