พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมตัดมรดกหรือไม่? ศาลฎีกาพิจารณาผลกระทบต่อการจัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่า ข้อตกลงการหย่ามีข้อความเป็นพินัยกรรมหรือไม่ ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่า ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมหรือไม่หรือหากจะฟังว่าเป็นพินัยกรรมอันจะทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย ผลของคดีที่ศาลไม่ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมก็ไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่า ข้อตกลงการหย่าเป็นพินัยกรรมตัดผู้คัดค้านที่ 2 มิให้รับมรดกจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิ์ฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่พินัยกรรมกำหนด และสิทธิของญาติพี่น้องที่ถูกตัดออกจากกองมรดก
พินัยกรรมของผู้ตายที่ตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีข้อความตอนใดจำกัดห้ามมิให้ผู้ร้องจัดการมรดกของผู้ตายที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด จึงเป็นการชอบ คำร้องของผู้ร้องได้บรรยายเหตุจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกไว้แล้ว เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) บังคับให้ต้องดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านก็ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้โต้เถียงว่าไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และยังได้ขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย แสดงว่าผู้คัดค้านได้ยอมรับแล้วว่า มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ประเด็นเรื่องเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกจึงไม่มี ผู้ร้องไม่จำต้องนำสืบถึงเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายอีก เมื่อข้อความในพินัยกรรมระบุว่า ผู้ตายขอตัดญาติพี่น้องออกจากกองมรดกทั้งหมด ดังนี้ แม้ผู้คัดค้านจะเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายก็ไม่อยู่ในฐานะทายาทที่จะมายื่นคำร้องขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก & การตั้งผู้จัดการมรดก: เจตนารมณ์พินัยกรรมสำคัญกว่าข้อตกลงภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวโดยตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และในพินัยกรรมได้ระบุตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกไว้ด้วย ถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนาชัดแจ้งตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้ผู้ร้องและผู้คัดค้านจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อให้ผู้คัดค้านได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกบางส่วน และยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องก็ตาม ก็หาใช่เป็นการสละมรดกหรือสละพินัยกรรมไม่ เพราะการสละมรดกเพียงบางส่วนหรือสละพินัยกรรมเพื่อไม่รับมรดกตามพินัยกรรมเพียงบางส่วนกระทำไม่ได้ เมื่อพินัยกรรมระบุตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไว้โดยเฉพาะแล้วก็ไม่ชอบที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอันเป็นการฝืนเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก: บุตรถูกตัดสิทธิจากมรดก จึงไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
แม้ผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตาย แต่เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ อ. แต่ผู้เดียว และห้ามบุคคลอื่นเกี่ยวข้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกและไม่มีฐานะเป็นทายาทที่จะร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงสมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก: ทายาทโดยธรรมถูกตัดสิทธิในการจัดการมรดก
แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาล ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมตัดมรดก: ทายาทโดยธรรมถูกตัดสิทธิจากการรับมรดกตามพ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินตัดสิทธิทายาทโดยธรรม อายุความมรดกไม่ยันผู้รับพินัยกรรม
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ ถือว่าจำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมรดก ยกอายุความมรดกขึ้นยันโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 178/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือตัดมรดกมีผลทันทีเมื่อทำถูกต้องตามกม. แม้ทายาทถูกตัดก่อนตาย สิทธิรับมรดกแทนไม่มี
การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทั่วไปนั้นถ้าไม่มีกฎหมายบังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำ ในสถานที่ราชการเท่านั้นแล้ว พนักงานผู้มีหน้าที่ก็ย่อมจะออกไปปฏิบัติราชการตามหน้าที่นอกสถานที่ได้ และการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติราชการเป็นการบริการให้แก่ประชาชนในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อระเบียบแบบแผน ก็ย่อมจะต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการโดยชอบ ข้าราชการผู้ปฏิบัติราชการเช่นนี้ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ปลัดอำเภอได้ออกไปจากอำเภอไปทำหนังสือตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดก เอกสารดังกล่าวจึงเป็นหนังสือตัดมรดกที่ได้ทำต่อหน้าเจ้าพนักงานโดยชอบ มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ท.มารดาจำเลยถูกตัดไม่ให้รับมรดกตั้งแต่ก่อน ท.ตาย ท.จึงไม่ได้เป็นทายาทตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 อีกต่อไป ท.จึงไม่มีที่ (ความเป็นทายาท) ที่จำเลยจะเข้ารับมรดกแทนได้และไม่มีบทกฎหมายมาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก หนังสือตัดไม่ให้รับมรดกเป็นการแสดงเจตนาโดยเด็ดขาดปราศจากเงื่อนไขใดๆ ของเจ้ามรดก จึงมีผลทันทีเมื่อได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมาย หาใช่จะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตายไม่ เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม ส่วนการที่การแสดงเจตนาตามหนังสือตัดการรับมรดกจะเกิดผลขึ้นเมื่อใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการตัดมรดก: สิทธิในการยกอายุความเฉพาะทายาทผู้มีสิทธิเท่านั้น
อายุความที่ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนั้น ผู้ที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกด้วยเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นน้องของเจ้ามรดก ถูกโจทก์ซึ่งเป็นบุตรเจ้ามรดกตัดมิให้จำเลยรับมรดกเสียแล้ว จำเลยจึงย่อมยกอายุความมรดกดังกล่าวขึ้นต่อสู้กับโจทก์หาได้ไม่