พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลยกฟ้องคดีบุคคลถูกตัดสิทธิสอบ
จำเลยทั้งสิบห้าเป็นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 274 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 บัญญัติให้มีขึ้น การดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล และเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง ถ้าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอคดีย่อมนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคสอง (2) บัญญัติว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 271 บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น" ดังนั้น คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากาษากล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับการไม่รับสมัครสอบโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสิบห้าในฐานะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2546 รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ และโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจึงสมัครสอบ แต่เมื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบกลับไม่ปรากฏชื่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือสอบถาม แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิสอบคัดเลือก คำสั่งในการตัดสิทธิสอบดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าว คือ คุณสมบัติประการใดบ้างโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการอย่างไร ที่ทำให้โจทก์มีสิทธิสอบ ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบห้าประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแต่ไม่ปรากฏรายชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์อาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเพื่อให้ต้องตอบหนังสือสอบถามของโจทก์ หากไม่ตอบเป็นการผิดต่อกฎหมายฉบับใด เพราะเหตุใด นอกจากนี้ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าในการมีคำสั่งตัดสิทธิสอบของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มิได้ระบุว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มาตราใด เพราะเหตุใด ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดโจทก์ระบุแต่เพียงว่าละเมิด ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอื่น ๆ แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องใด มาตราใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า จำเลยทั้งสิบห้าในฐานะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำปี 2546 รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ไว้ และโจทก์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจึงสมัครสอบ แต่เมื่อประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบกลับไม่ปรากฏชื่อโจทก์ โจทก์มีหนังสือสอบถาม แต่ไม่ได้รับคำชี้แจง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับสิทธิสอบคัดเลือก คำสั่งในการตัดสิทธิสอบดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า คุณสมบัติต่าง ๆ ดังกล่าว คือ คุณสมบัติประการใดบ้างโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการอย่างไร ที่ทำให้โจทก์มีสิทธิสอบ ส่วนที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสิบห้าประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบแต่ไม่ปรากฏรายชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีหนังสือสอบถามเหตุผลไปยังเลขาธิการคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม แต่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชี้แจงโดยไม่มีเหตุผล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์อาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเพื่อให้ต้องตอบหนังสือสอบถามของโจทก์ หากไม่ตอบเป็นการผิดต่อกฎหมายฉบับใด เพราะเหตุใด นอกจากนี้ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าในการมีคำสั่งตัดสิทธิสอบของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มิได้ระบุว่าไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด มาตราใด เพราะเหตุใด ทั้งข้อหาหรือฐานความผิดโจทก์ระบุแต่เพียงว่าละเมิด ปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอื่น ๆ แต่ไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสิบห้าว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เรื่องใด มาตราใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้รับฟังได้ว่า มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ทำให้ผู้สมัครถูกตัดสิทธิโดยมิชอบ ศาลสั่งให้รับสมัคร
ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนอำเภอและเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุคคลรับแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการพิจารณาการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ตามระเบียบดังกล่าวนายทะเบียนอำเภอจะต้องวินิจฉัยว่าเหตุที่ผู้ร้องอ้างนั้นเป็นเหตุอันสมควรที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้ร้องทราบ แต่เจ้าหน้าที่อำเภอไม่ได้นำหนังสือของผู้ร้องเสนอต่อนายทะเบียนอำเภอ เนื่องจากหนังสือดังกล่าวสูญหาย อันเป็นความผิดพลาดของฝ่ายนายทะเบียนอำเภอ เป็นเหตุให้ผู้ร้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจัดให้ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิดังกล่าวจึงไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเขียนเองสมบูรณ์ แม้มีพยานลงชื่อ ทายาทถูกตัดสิทธิหากไม่ได้ประโยชน์จากพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมอาจทำได้หลายแบบ เมื่อผู้ตายเขียนพินัยกรรมเองทั้งฉบับโดยมีข้อความครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ ป.พ.พ. มาตรา 1657 กำหนด แม้จะให้พยานลงชื่อแต่ก็เป็นส่วนเกินที่ไม่ทำให้พินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองทั้งฉบับต้องเสียไป พินัยกรรมนั้นย่อมสมบูรณ์ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าเป็นโมฆะตามรูปแบบนินัยกรรมชนิดอื่นอีกหรือไม่ เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องเช่นนี้ ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคท้าย ผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องคัดค้านและขอตั้งผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเงินบำเหน็จ – การกระทำผิดวินัยร้ายแรงเป็นเหตุตัดสิทธิ – ข้อบังคับบริษัทชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงานฯ จะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นคำขอรับเงินบำเหน็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พนักงานผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จถึงแก่ความตายหรือนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้ออกจากงานแล้วแต่กรณีก็ตาม แต่สิทธิเรียกเงินบำเหน็จนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จำเลยจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปี หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 193/11 โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกข้อบังคับของจำเลยข้างต้นขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่ แต่การที่โจทก์อนุญาตให้รถร่วมทำการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ว่าจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย เป็นการจงใจปฏิบัติฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยโดยชัดแจ้ง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเมื่อโจทก์เก็บเงินค่าจ้างขนส่งจากผู้ว่าจ้างได้แล้วไม่นำฝากเข้าบัญชีของจำเลยกลับนำเงินดังกล่าวไปฝากเข้าบัญชีภริยาของโจทก์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะไม่จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์ได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยที่ว่า พนักงานไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพหรือบำเหน็จถ้าถูกออกจากงานเพราะกระทำความผิดทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรง ข้อบังคับดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้และเป็นเงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันจำเลยกับพนักงานของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าเวนคืน: ผลของหนังสือแจ้งการนำเงินฝากและการตัดสิทธิการอ้างเหตุระยะเวลาอุทธรณ์
แม้นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ถึงวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จะพ้นกำหนดเวลา 60 วัน แต่ในระหว่างเวลา 60 วัน ดังกล่าว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสืออีกฉบับแจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้กับธนาคารออมสินให้โจทก์ทราบ โดยระบุตอนท้ายของหนังสือว่า หากท่านไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทน ท่านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้นท่านจะหมดสิทธิอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยึดถือตามหนังสือฉบับหลังนี้ และยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามหนังสือฉบับหลังนี้ จำเลยย่อม ถูกตัดบทมิให้ยกระยะเวลาที่ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนฉบับแรกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, การตัดสิทธิทายาท, และผลกระทบของพยานในพินัยกรรมต่อผู้รับผลประโยชน์
พินัยกรรมใช้กระดาษที่มีตราครุฑและมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ดีดเป็นส่วนใหญ่ กรอกข้อความด้วยลายมือเขียนเฉพาะบ้านเลขที่ วันเดือนปี อายุของเจ้ามรดกทั้งสอง และรายชื่อผู้รับพินัยกรรม มีลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดกทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าพินัยกรรมได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีขณะที่ทำ ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกัน และพยานลงลายมือชื่อไว้ครบถ้วนจึงสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656
ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ระบุชื่อทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้ว ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การที่ ท. คู่สมรสของ ม. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม เป็นเหตุให้ ม. ไม่อาจเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ เพราะข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของ ม.เป็นโมฆะ แต่ไม่มีกฎหมายห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำเบิกความของ ท. และ น. เป็นพยานแต่อย่างใด และข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้
ผู้ทำพินัยกรรมมิได้ระบุชื่อทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแล้ว ถือว่าทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การที่ ท. คู่สมรสของ ม. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม เป็นเหตุให้ ม. ไม่อาจเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นได้ เพราะข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของ ม.เป็นโมฆะ แต่ไม่มีกฎหมายห้ามศาลไม่ให้รับฟังคำเบิกความของ ท. และ น. เป็นพยานแต่อย่างใด และข้อกำหนดในพินัยกรรมในส่วนของผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ ใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสิทธิกรรมการสุขาภิบาล: ต้องพิจารณาคำพิพากษาถึงที่สุดก่อน
มาตรา 21 (9) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 33 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ดังนั้น บุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาที่ให้จำคุกผู้คัดค้านของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด ผู้คัดค้านจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ. 2495มาตรา 10 (4)
คำพิพากษาที่ให้จำคุกผู้คัดค้านของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด ผู้คัดค้านจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ. 2495มาตรา 10 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติตัดสิทธิทางการเมือง: ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาล
บทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคสองด้วย ดังนั้น บทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีล้มละลาย หากไม่โต้แย้งทันที ย่อมถูกตัดสิทธิการอุทธรณ์
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ทนายโจทก์ได้รับสำเนาแล้วแถลงคัดค้านว่าทนายจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ การแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าวเป็นการคัดค้านเพื่อประกอบดุลพินิจของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตต่อไปเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยโจทก์ต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ปรากฏไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 แต่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้แล้วไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้โต้แย้งก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์โจทก์จะถือเอาคำแถลงคัดค้านของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งโดยปริยายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมถูกทำลายด้วยเหตุสุดวิสัย และสิทธิของทายาทถูกตัดสิทธิ
ผ.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกให้แก่จำเลยเพียงผู้เดียว โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของ ผ. แต่โจทก์มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมดังกล่าว จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกของ ผ.
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)
ผ.ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกทรัพย์มรดกให้แก่จำเลย ต่อมาพินัยกรรมดังกล่าวถูกปลวกกินทำลายไปโดยเหตุสุดวิสัย จึงชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบทบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 94 วรคหนึ่ง (ก) และ (ข)