พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินเด็ดขาดแล้ว ถือเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาเดิม
ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแปลงหนึ่งให้แก่โจทก์จำเลยและพี่น้องอีก 2 คน คนละ 1 ส่วนเท่าเท่ากัน โดยฟังว่า ที่แปลงนั้นเป็นมรดกของบิดาโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์เห็นว่าจำเลยได้รับมรดกมากเกินไป เป็นเหตุให้โจทก์ขาดเงินไปจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงมาฟ้องให้จำเลยใช้เงินจำนวนนั้นแก่โจทก์โดยอ้างว่าที่ดินมรดกแปลงที่กล่าวแล้วเป็นสินสมรสของบิดาและมารดา จำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกเกินไป ดังนี้ เป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเองว่าพิพากษาไม่ถูก การฟ้องใหม่จึงเท่ากับขอให้ลบล้างแก้ไขคำพิพากษาของศาลในคดีเดิม จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยตัดสินเด็ดขาดแล้ว
คดีเรื่องก่อนจำเลยฟ้องโจทก์อ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาตัดสินว่าที่ดินเป็นของจำเลย คดีเสร็จเด็ดขาดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีใหม่อ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์มอบให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย เป็นการฟ้องตั้งประเด็นว่าที่ดินเป็นของโจทก์อันเป็นประเด็นข้อสำคัญอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเดิมที่เคยตัดสินเด็ดขาดแล้ว
คดีเรื่องก่อนจำเลยฟ้องโจทก์อ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาตัดสินว่าที่ดินเป็นของจำเลย คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่อ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์มอบให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเป็นการฟ้องตั้งประเด็นว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ อันเป็นประเด็นข้อสำคัญอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20100/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำความผิดพรากผู้เยาว์: ศาลยกฟ้องเมื่อความผิดกรรมเดียวกันได้รับการตัดสินเด็ดขาดแล้ว
แม้ตามฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเหตุเกิดระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ก็ตามแต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความจากคำเบิกความของ ม. ผู้เสียหายที่ 1 และ ป. เพื่อนผู้เสียหายที่ 1 ตรงกันว่า ระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ผู้เสียหายที่ 1 ได้ออกจากบ้านไปพักอยู่กับ ป. มาโดยตลอด จนกระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ผู้เสียหายที่ 1 จึงเดินทางจากบ้านของ ป. ที่จังหวัดนครราชสีมาไปหาจำเลยที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยจำเลยโอนเงินค่ารถไฟไปให้ 300 บาท แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปอยู่ด้วยกัน ดังนั้นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ของจำเลยจึงเกิดขึ้นและเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ซึ่งข้อแตกต่างกันเกี่ยวกับเวลากระทำความผิดเช่นนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ถือว่าเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้ ตามมาตรา 192 วรรคสามประกอบวรรคสอง กรณีจึงต้องถือว่าเหตุความผิดฐานพรากผู้เยาว์ในคดีนี้เกิดขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ตามที่พิจารณาได้ความ หาใช่เหตุเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ดังที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยถูกพนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมาเป็นโจทก์ฟ้องในข้อหาความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 538/2550 ของศาลจังหวัดนครราชสีมาอีกคดีหนึ่ง โดยบรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 กรณีจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ซึ่งคดีดังกล่าวจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยฐานพรากผู้เยาว์จึงเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) การที่โจทก์นำเอาการกระทำของจำเลยที่พรากผู้เยาว์ในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว