คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตัดสินแล้ว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดเดียวกัน: การฟ้องซ้ำฐานมีอาวุธและพาอาวุธเมื่อเคยถูกตัดสินแล้ว
ความผิดฐานมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดซึ่งใช้เฉพาะแต่ในการสงครามนั้น กฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกันฉะนั้น การที่จำเลยมีอาวุธปืนกลและลูกระเบิดไว้ในครอบครองในขณะเดียวกันจึงเป็นความผิดแต่กรรมเดียว ส่วนความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะนั้น แม้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยพาไปจะเป็นปืนกลก็ดี ปืนพกก็ดี ถ้าพาปืนเหล่านั้นไปในขณะเดียวกัน ก็ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อจำเลยได้ถูกลงโทษในการกระทำฐานมีอาวุธซึ่งใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม และในการกระทำฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
เมื่อมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษในคดีนี้ซ้ำอีก แม้จำเลยจะไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215,225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำจากข้อพิพาทเดิมที่ศาลตัดสินแล้ว ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ศาลก็พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่พิพาทต่อไปแล้วโจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในระหว่างที่เป็นความกันในคดีก่อนว่า จำเลยได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์จากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นของโจทก์ไปอีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ประเด็นสมรสที่เคยตัดสินแล้วไม่อาจยกขึ้นฟ้องใหม่ได้
สามีของผู้เสมือนไร้ความสามารถเคยฟ้องขอให้ถอดถอนน้าของผู้เสมือนไร้ความสามารถจากการเป็นผู้พิทักษ์ผู้เสมือนไร้ความสามารถในคดีนั้นประเด็นที่ว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามี ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยเหตุที่ว่าการจดทะเบียนสมรสชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ได้ขึ้นสู่ความวินิจฉัยของศาลแล้ว จนศาลสั่งว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามีเป็นสามีภริยากันตากกฎหมาย จึงได้ถอดถอนน้าผู้เป็นผู้พิทักษ์เดิม แล้วตั้งสามีเป็นผู้พิทักษ์สืบแทนต่อไป คดีถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ น้าผู้นั้นจะกลับมาฟ้องสามีผู้เสมือนไร้ความสามารถอีก โดยอ้างเหตุว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้เพิกถอนการสมรสและถอดถอนผู้พิทักษ์เสียและตั้งให้น้าเป็นผู้พิทักษ์แทนต่อไปนั้น เป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีพิพาทที่ดินที่เคยตัดสินแล้ว ห้ามฟ้องรื้อร้องประเด็นเดิม
ก่อนคดีนี้จำเลยทั้งสองเคยฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง โจทก์ให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ขับไล่โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมกับให้โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดที่ดินทับที่ดินโจทก์ ขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขเนื้อที่ในโฉนดของจำเลย เมื่อคดีนี้และคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เช่นเดียวกับประเด็นพิพาทในคดีก่อน หากข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงจะพิพากษาให้เพิกถอนและแก้ไขเนื้อที่ดินในโฉนดที่ดินตามฟ้องโจทก์ได้ ดังนี้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-กรรมเดียว: คดีอาญาเชื่อมโยงกัน ศาลสั่งระงับคดีจำเลยเนื่องจากเคยถูกตัดสินแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกคำพิพากษาเดิมและพิพากษาใหม่เป็นยกฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (1) แล้ว สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาใหม่ดังกล่าวต้องพิจารณาตามมาตรา 15 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 13 แล้ว พนักงานอัยการผู้ร้องหรือโจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นคู่ความมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนี้ (1) ถ้าคำพิพากษานั้นเป็นคำพิพากษาของศาลชั้นต้น มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษานั้นต่อศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด..." ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวแล้วคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยที่ 8 ไม่อาจฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 8 มาจึงเป็นการไม่ชอบ อย่างไรก็ดี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือ ที่บริษัท พ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 คดีนี้ (คือจำเลยที่ 9 ในคดีดังกล่าว) กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ส่วนคดีนี้พนักงานอัยการโจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 8 ร่วมกับพวก กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 8 กับพวก ร่วมกันกระทำความผิด 3 กรรม แม้การกล่าวข้อความหมิ่นประมาทจะกระทำขึ้นหลายคราวต่างวันต่างเวลาแต่การกระทำในแต่ละคราวมีเจตนามุ่งประสงค์ต่อผลอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้บริษัท พ. หลงเชื่อและตกลงเข้าทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับส่งมอบเงินจำนวน 50 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 8 กับพวก อันถือเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยที่ 8 กับพวก จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวมิใช่หลายกรรม เมื่อได้ความว่าคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2651/2560 ของศาลแขวงพระนครเหนือนั้น ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 8 ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 จึงเป็นกรณีที่การกระทำของจำเลยที่ 8 ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 8 มิต้องรับโทษ และเป็นเหตุในลักษณะคดีซึ่งย่อมมีผลถึงผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 15 (1) ทำให้คดีต้องห้ามฎีกา แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง, 215 และ 225 ทั้งเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและให้สอดคล้องกับผลในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2105/2561 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.2618/2561 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยอื่นตามคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเป็นฟ้องช้ำซึ่งคดีถึงที่สุดไปแล้ว