พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวกลางล่อซื้อ ย่อมไม่มีเจตนาจำหน่ายเฮโรอีน จึงไม่มีความผิด
ในการเจรจาติดต่อล่อซื้อเฮโรอีนของกลางตามที่เจ้าพนักงาน-ตำรวจสืบทราบว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนนั้น จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกได้ให้สายลับซึ่งรู้จักจำเลยที่ 1 พาไปพบจำเลยที่ 1 ให้ช่วยเจรจาในการล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 2 โดยจะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,000 บาทจำเลยที่ 1 จึงดำเนินการตามที่จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกขอร้อง จนกระทั่งมีการนัดหมายส่งมอบเฮโรอีนในวันเกิดเหตุ ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ดำเนินการให้น่าเชื่อว่าเกิดจากจำเลยที่ 1 หวังผลตอบแทน จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเพียงคนกลางในการช่วยติดต่อเจรจาเพื่อล่อซื้อเฮโรอีนจากจำเลยที่ 2 เพื่อให้การจับจำเลยที่ 2 บรรลุผลเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 รับเฮโรอีนจากจำเลยที่ 2 ก็นำมามอบให้จ่าสิบตำรวจ ส.ทันที จึงไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองและจำหน่ายเฮโรอีน ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายเงินทุนโดยใช้วิธีการกู้ยืมเงินผ่านตัวกลาง ทำให้ธุรกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนต้องการให้ผู้คัดค้านที่ 3ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 35 จำเลยจึงให้ผู้คัดค้านที่ 1 กู้ยืมเงินเพื่อนไปให้ผู้คัดค้านที่ 3กู้ยืมเงินนั้นต่อด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับอาวัล และผู้คัดค้านที่ 3 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้รับอาวัล ต่อมาก่อนผู้คัดค้านที่ 3 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกันระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1และผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 นิติกรรมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีผลบังคับโดยศาลไม่จำต้องเพิกถอน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะเรียกเงินกู้คืนจากผู้คัดค้านที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นตัวกลางไถ่รถที่ถูกชิงไป ไม่เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร หากไม่มีส่วนรู้เห็นกับคนร้าย
จำเลยเป็นคนกลางติดต่อไถ่รถจักรยานยนต์ร่วมกับผู้อื่นตามที่ผู้เสียหายกับพวกขอร้อง แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับรถจักรยานยนต์ไว้จากคนร้ายหรือร่วมรู้กับคนร้ายมาเรียกค่าไถ่จากผู้เสียหาย การที่จำเลยขี่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาส่งให้แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องนำมาคืนตามที่ผู้เสียหายกับพวกขอร้องให้ทำ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางาน-สินเชื่อ: จำเลยไม่ได้จัดหางานโดยตรง แต่เป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ประกอบกับมาตรา 4 นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางานให้คนหางาน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามเพียงแต่เป็นผู้ติดต่อบริษัท ว. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อให้ส่งผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันตามความประสงค์ ผู้จัดหางานให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ที่แท้จริงคือ บริษัท ว. การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อที่บริษัท ร. จะได้ค่าตอบแทนเมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อ ผลประโยชน์ที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมีเพียงค่าตอบแทนในการจัดหาผู้กู้จากบริษัท ร. รวมถึงค่าพาหนะและค่าป่วยการในการดำเนินการดังกล่าวจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมิใช่เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่จำเลยทั้งสามเรียกเพื่อจัดหางานให้ผู้เสียหายที่ 1 โดยตรง ไม่ต้องด้วยนิยามคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายงานผ่านตัวกลางและการเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 11/1
บ. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตำแหน่งช่างเจียระไน โดยมีข้อเสนอนอกเหนือจากงานในตำแหน่งช่างเจียระไนว่า จำเลยที่ 1 เสนอให้ บ. รับผลิตงานเพิ่มเติม ตามสัญญาการทำงาน ข้อ 2 แต่การรับผลิตงานเพิ่มเติมดังกล่าวจะถือว่าเป็นการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างมอบงานผลิตเพิ่มเติมให้ บ. ในฐานะลูกจ้างทำงานเพิ่มเติมนั้นด้วยตนเองอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 เสนองานผลิตเพิ่มเติม คือ งานฝังเพชรพลอย ให้แก่ บ. โดย บ. มิได้รับงานผลิตเพิ่มเติมนั้นไปทำด้วยตนเอง แต่นำงานผลิตเพิ่มเติมที่ได้รับจากจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไปจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างให้ทำงานเป็นช่างฝังเพชรพลอย และให้โจทก์ทำงานที่สถานประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 กับใช้อุปกรณ์ที่อยู่ในที่ทำงานของจำเลยที่ 1 เพื่อทำงานฝังเพชรพลอย โดยจำเลยที่ 1 ยอมรับงานที่โจทก์รับจาก บ. และไม่ได้โต้แย้ง พฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เสนองานเพิ่มเติมให้แก่ บ. โดยรู้อยู่แล้วว่า บ. ไม่ได้รับผลิตงานเพิ่มเติมไปทำด้วยตนเอง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 มอบงานฝังเพชรพลอยให้แก่ บ. ในคดีนี้ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างเสนอให้ บ. ในฐานะลูกจ้างรับผลิตงานเพิ่มเติมตามสัญญาการทำงาน ข้อ 2 แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการได้มอบหมายให้ บ. เป็นผู้จัดหาคนมาทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 อันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน เมื่อการทำงานของโจทก์คืองานฝังเพชรพลอยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 โดยมี บ. เป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ที่เป็นคนมาทำงาน จำเลยที่ 1 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 วรรคหนึ่ง และมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อ บ. เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2563 บ. จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2563 บ. ไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป และเมื่อจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไปแก่โจทก์เช่นเดียวกัน
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 70 วรรคสอง กำหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง ดังนั้น เมื่อ บ. เลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2563 บ. จึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2563 บ. ไม่จ่ายค่าจ้างภายในเวลาดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป และเมื่อจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องเสียดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าจ้างนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไปแก่โจทก์เช่นเดียวกัน